ประวัติโรงพยาบาลศีขรภูมิ
โรงพยาบาลศีขรภูมิ ตั้งอยู่ 42 หมู่ที่ 1 ถนนสุรินทร์ - ศรีษะเกษ ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 32110
เนื้อที่ทั้งหมด 65 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา
โรงพยาบาลศีขรภูมิ เริ่มต้นจากการเป็นสุขศาลา เมื่อปี พ.ศ. 2478 เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ตั้งอยู่ที่ถนนศรีปราสาท ข้างที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิ และได้มีการพัฒนาเรื่อยมา ในปี พ.ศ. 2510 เปลี่ยนจากสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเป็นตึกชั้นเดียว โดยมี นายแพทย์สุทัศน์ เจริญรัตน์ เป็นแพทย์คนแรกของอำเภอศีขรภูมิ และต่อมาได้เป็นมาเป็น "โรงพยาบาลชุมชน" ขนาด 10 เตียง เมื่อปี พ.ศ. 2512 เนื่องจากโรงพยาบาลศีขรภูมิ เดิมมีพื้นที่จำกัด ประกอบกับติดถนนสายสุรินทร์ - ศรีสะเกษ หลักกิโลเมตรที่ 34 และได้ทำพิธีเปิดเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง เมื่อปี วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2526
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โรงพยาบาลศีขรภูมิได้ให้บริการแก่ชาวอำเภอศีขรภูมิ และอำเภอใกล้เคียง ด้วยความเอาใจใส่ เป็นที่พึ่งของประชาชนมาโดยตลอด จึงทำให้มีจำนวนผู้มารับบริบาลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับจำนวนผู้มารับบริบาลที่เพิ่มมากขึ้น จึงได้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข
และจากความร่วมแรงร่วมใจ ของชาวอำเภอศีขรภูมิ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้สร้างตึกอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่ และปรับปรุงอาคารหลังเก่า รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายในโรงพยาบาล ให้มีความสวยงาม ทันสมัย สะอาด และสะดวกสบายมากขึ้นโดยแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2540 และได้ประกอบพิธีเปิดเป็นโรงพยาบาลชุมชน 60 เตียง อย่างเป็นทางการ โดยนายแพทย์สนั่น ประเสริฐศิลป์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 5 เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2540
การบริบาล
จำนวนเตียงที่เปิดบริบาล 170 เตียง