ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17
เมื่อปี พ.ศ. 2504 สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 มีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต ซึ่งชาวอำเภอสองพี่น้อง เรียกกันติดปากว่า “สมเด็จป๋า” ท่านดำริว่าจะสร้างสถานีอนามัยในบริเวณใกล้เคียงตลาดทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง เพื่อให้เป็นสถานที่สงเคราะห์แก่ผู้เจ็บป่วยที่มาจากชนบทห่างไกลความเจริญ ดังนั้นบรรดาศิษย์และผู้เคารพนับถือได้ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิไว้ เป็นเงิน 200,000 บาท ในปี พ.ศ. 2508 กระทรวงสาธารณสุขมอบหมายให้ นายแพทย์บุญ สุวรรณศร อธิบดีกรมอนามัยในสมัยนั้นไปดูสถานที่ที่จะก่อสร้างสถานีอนามัย หลังจากนั้นนายทองหยด จิตตะวีระ ได้ปรึกษาหารือกับชาวตลาดบางลี่เกี่ยวกับการก่อสร้างสถานีอนามัย ผลจากการหารือในครั้งนี้ชาวตลาดบางลี่เห็นควรว่าให้สร้างเป็นโรงพยาบาล ปรากฏว่าได้มีผู้ใจบุญ คือ จ.ส.อ.อั๋น สูติวงษ์ บริจาคที่ดินจำนวน 6 ไร่ อยู่ระหว่างที่ทำการอำเภอสองพี่น้องกับตลาดบางลี่ ต่อมาภายหลังคณะกรรมการเห็นว่าที่ดินจำนวน 6 ไร่ ที่ได้รับบริจาคนั้นมีลักษณะด้านหน้ากว้างด้านหลังแคบดูไม่สวยงาม จึงได้ขอบริจาคจาก นางง้อ พลดี ซึ่งมีที่ดินติดกัน 1 ไร่ รวมเป็น 7 ไร่ และได้ดำเนินการถมดินจนแล้วเสร็จ จึงได้กราบเรียนสมเด็จพระ-วันรัตให้มาดูสถานที่ที่จะก่อสร้าง และได้ทำการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 สมเด็จพระวันรัตได้ประทานค่าก่อสร้างเป็นเงิน 2,400,000 บาท การก่อสร้างได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2514 ได้ตั้งชื่อโรงพยาบาลว่า อาคารสูติฯเดิม“โรงพยาบาลสมเด็จพระวันรัต” ได้มอบโรงพยาบาลให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ในราวเดือนกันยายน พ.ศ. 2515 ต่อมาทางคณะกรรมการได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมด 52 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา
พ.ศ. 2517 ได้มีการก่อสร้างอาคารอำนวยการรูปตัว L โดยใช้เงินบริจาคของสมเด็จพระสังฆราช -องค์ที่ 17 สร้างเสร็จและสามารถดำเนินการให้บริการต่างๆ ได้ในปี พ.ศ. 2517 ลักษณะอาคารเป็นคอนกรีต2 ชั้น โดยดำเนินกิจการทุกอย่างภายในอาคารนี้ เช่น งานบริหาร งานบริการ งานวิชาการ และงานด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ปัจจุบันอาคารรูปตัว L ถูกรื้อถอนออกเพื่อสร้างเป็นอาคารอำนวยการ 7 ชั้นขึ้นทดแทน
พ.ศ. 2518 ชาวอำเภอสองพี่น้องเห็นว่า ควรเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาล เพื่อให้สมพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จึงขออนุมัติเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลจาก “โรงพยาบาลสมเด็จพระวันรัต” มาเป็น “โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17”
อาคารอำนวยการเดิม พ.ศ. 2524 อาคารตึกสงฆ์อาพาธได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องพิเศษ ชั้นบนเป็นห้องผู้ป่วยสงฆ์และผู้ป่วยชายทั่วไป อาคารนี้ได้รับเงินบริจาคของเจ้าคณะอำเภอ พระครูพิศาลวรกิจ เจ้าอาวาสวัดดงตาล สามารถเปิดดำเนินการได้ในปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบันปิดดำเนินการเนื่องจากอาคารทรุด
พ.ศ. 2526 ดำเนินการก่อสร้างอาคารอำนวยการ โดยใช้เงินงบประมาณ เดิมอาคารนี้ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารงานทั่วไป งานผู้ป่วยนอก ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก ห้องทันตกรรม ห้องบัตร กลุ่มงานพยาธิวิทยา ปัจจุบันใช้เป็นที่ปฏิบัติงานของงานสุขภาพจิตและการให้คำปรึกษา งานนวดแผนไทย กลุ่มงานเวชกรรมสังคม และคลินิกศัลยกรรม
พ.ศ. 2529 ดำเนินการก่อสร้างอาคารเอกซเรย์ โดยใช้เงินงบประมาณ เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว เดิมใช้เป็นที่ปฏิบัติงานของกลุ่มงานเวชกรรมสังคม กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและวิชาการ งานกายภาพบำบัด งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ หลังจากอาคารอำนวยการและอุบัติเหตุเปิดใช้บริการแล้ว หน่วยงานต่างๆ ได้ย้ายออก ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เปิดดำเนินการคือ กลุ่มงานรังสีวินิจฉัย กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะ
พ.ศ. 2530 ก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยได้รับเงินบริจาคจากมูลนิธิหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานของงานเวชปฏิบัติครอบครัว ก่อสร้างตึกผ่าตัดโดยใช้เงินงบประมาณ
พ.ศ. 2537 ก่อสร้างอาคารศัลยกรรม 120 เตียง เป็นอาคาร 4 ชั้น ก่อสร้างโดยเงินงบประมาณ และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2539 ปัจจุบันใช้เป็นอาคารผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย ศัลยกรรมชายและศัลยกรรมหญิง
พ.ศ. 2538 ก่อสร้างอาคารสูติ-นรีเวชกรรม โดยเงินงบประมาณ เป็นอาคาร 4 ชั้น ขนาด 90 เตียง เปิดดำเนินการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 ปัจจุบันใช้เป็นอาคารผู้ป่วยห้องคลอด สูติกรรมและทารกแรกเกิด นรีเวชกรรม และกุมารเวชกรรม นอกจากนี้ยังได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอาคารเภสัชกรรม และก่อสร้างแฟลตบ้านพักขนาด 32 ยูนิตอำนวยการปัจจุบัน
พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุ7 ชั้น โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 122 ล้านบาท เปิดให้หน่วยงานต่างๆ เข้าปฏิบัติงานในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 โดยใช้เป็นอาคารอำนวยการ และให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก
พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างโรงครัว-ห้องอาหาร อาคารพักพยาบาลขนาด 32 ยูนิต ทางเดินเชื่อม 2 ชั้น อาคารจอดรถชั้นเดียว
พ.ศ. 2541 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วย 114 เตียง เป็นอาคาร 5 ชั้น ให้บริการหอผู้ป่วย อายุรกรรมชาย อายุรกรรมหญิง ศัลยกรรมชายและสงฆ์อาพาธ พิเศษผู้สูงอายุ และ พิเศษสุขเจริญ และ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยพิเศษ 60 เตียง เป็นอาคาร 4 ชั้น ยังไม่ได้เปิดให้บริการเป็นหอผู้ป่วย เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์ด้านการแพทย์ที่ต้องเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายหน่วยงานใหม่ ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากอาคารดังกล่าว โดยประยุกต์ใช้เป็นอาคารที่พักอาศัยของบุคลากรของโรงพยาบาล
พ.ศ. 2543 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารซ่อมบำรุง และพัสดุกลาง แบบเลขที่ 8960 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 10,120,000 บาท และอาคารเก็บศพใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 1,364,000 บาทอำนวยการปัจจุบัน