ประวัติโรงพยาบาลอัมพวา
พ.ศ. 2508 พระครูสมุทรนันทคุณ ริเริ่มในการดำเนินการก่อสร้างเป็นสถานีอนามัยในที่ดินธรณีสงฆ์
วัดบางแคน้อย จำนวน 4 ไร่ 2 งาน 16 ตารางวา
พ.ศ. 2509 วางศิลาฤกษ์อาคารสถานีอนามัยชั้น 1 นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธาน โดยมีนายแพทย์ธนัญย์ ทัพวิมล เป็นนายแพทย์อนามัยจังหวัด (นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัจจุบัน)
พ.ศ. 2510 ได้รับงบประมาณก่อสร้างสมทบจากระทรวงสาธารณสุข เป็นเงิน 470,000 บาท
พ.ศ. 2511 เปิดดำเนินการรักษา มีนายแพทย์สุเมธ สุทธิประการ เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย ชั้น 1 วัดบางแคน้อย
พ.ศ. 2518 กระทรวงสาธารณสุขยกฐานะจากสถานีอนามัยชั้น 1 วัดบางแคน้อย เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย โดยมีนายแพทย์ทวีศักดิ์ บัวน้ำจืด เป็นผู้อำนวยการ
พ.ศ. 2525 กระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนชื่อจากศูนย์การแพทย์และอนามัย เป็นโรงพยาบาลอำเภออัมพวา โดยมีนายแพทย์ชัยพร เรืองกิจ เป็นผู้อำนวยการ
11 มีนาคม 2529 มีการประชุมผู้นำชุมชน เจ้าอาวาสวัดบางแคน้อย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางในการปรับปรุงโรงพยาบาลอำเภออัมพวา เพื่อก่อสร้างตึกผู้ป่วยใน 2 ชั้น(ปัจจุบันอาคารชั้นบนใช้เป็นสำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป ห้องผู้อำนวยการ ห้องประชุม ห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ และห้องหัวหน้าพยาบาล ส่วนชั้นล่างเป็นห้องตรวจสุขภาพ คลินิกบำบัดยาเสพติดและคลินิกนวดแพทย์ไทย พร้อมห้องอบสมุนไพร)
11 กันยายน 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างตึกผู้ป่วยใน
18 เมษายน 2530 จัดงานดิ่งพสุธามหากุล หาทุนสร้างโรงพยาบาลอัมพวา ได้เงินทั้งสิ้น 162,603.- บาท
7 พฤษภาคม 2530 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรสงคราม มอบเงินพัฒนาจังหวัด จำนวน 200,000 บาท รวมเงินบริจาคที่มี 1,993,457.79 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,193,457,79 บาท
8 กันยายน 2530 กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้ก่อสร้างตึกผู้ป่วยใน “พิเศษ-สงฆ์” 2 ชั้น โดยมีห้องพิเศษ 10 ห้อง ห้องสามัญหญิง และสามัญชายและสงฆ์ รวม 18 เตียง
24 กันยายน 2530 วางศิลาฤกษ์ ตึก “พิเศษ-สงฆ์” โดยมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในพิธี
กันยายน 2531 เปิดให้บริการตึกผู้ป่วยใน 2 ชั้น
พ.ศ. 2534 เปิดให้บริการตึกผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ ขนาด 30 เตียง
22 มกราคม 2535 กระทรวงสาธารณสุขยกฐานะจากโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10 ตียง ให้เป็น โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง
พ.ศ. 2545 เปิดให้บริการตึกผู้ป่วยใน ขนาด 30 เตียง(เตียงผู้ป่วยสามัญ ชาย 15 เตียง หญิง 15 เตียง และห้องผู้ป่วยพิเศษ 10 ห้อง เปิดให้บริการ 8 ห้อง)