ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลอานันทมหิดล

Ananda Mahidol Hospital

Logo

โรงพยาบาลทหารและโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกรมแพทย์ทหารบก กระทรวงกลาโหม เป็นโรงพยาบาลทหารขนาดใหญ่ในส่วนภูมิภาค ให้บริการระดับทุติยภูมิขั้นสูง เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของกองทัพบกไทย ให้บริการทั้งข้าราชการทหารและพลเรือนรวมถึงประชาชนทั่วไป และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่สามรองจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จำนวน 306 เตียง แพทย์ 74 คน บุคลากร 1,016 คน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2480

ที่อยู่/ติดต่อ
35 หมู่ที่ 6 ตำบล เขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี ลพบุรี 15000

✅ รับประกันสังคม [คลินิกเครือข่าย]

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลอานันทมหิดล

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

[ทั้งหมด]
 
 

ประวัติโรงพยาบาลอานันทมหิดล

โรงพยาบาลอานันทมหิดล ตั้งอยู่หมายเลขที่ 35 (ชุมชนที่ 33) ถนนพระยาพิชัยดาบหัก ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่รวม 1,050 ไร่ เป็นหน่วยขึ้นตรงกรมแพทย์ทหารบก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล งานเวชกรรมป้องกันและงานส่งเสริมสุขภาพแก่ทหาร ครอบครัว ตลอดจนประชาชนทั่วไป
 
พ.ศ. 2480
พันเอก หลวงพิบูลสงคราม (ยศในขณะนั้น) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีดำริที่จะย้ายหน่วยทหารบางส่วนจากกรุงเทพมหานครมาตั้งที่จังหวัดลพบุรี และได้คิดวางแนวทางที่จะสร้างโรงพยาบาลในจังหวัดลพบุรี จึงได้มีหนังสือกราบทูลไปยังคณะผู้สำเร็จราซการแทนพระองค์ฯ เพื่อขอรับการสนับสนุน โรงพยาบาลอานันทมหิดลจึงได้เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2480 และได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จฯ มากระทำพิธีเปิดเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2481
 
พ.ศ. 2481
โรงพยาบาลอานันทมหิดลได้เปิดดำเนินการโดยสามารถให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยไม่เกิน 200 เตียง มีอาคาร 3 หลัง คือ อาคารอายุรกรรม อาคารสูตินรีเวชกรรม และอาคารศัลยกรรม
 
พ.ศ. 2482
พลตรี หลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก (ในขณะนั้น) ได้ให้กรมแพทย์ทหารบก จัดตั้งโรงเรียนเสนารักษ์เพื่อผลิตนายแพทย์ทหาร ไว้ใช้ในการสงครามเป็นการเตรียมพร้อมกำลังพลในด้านการแพทย์และการกระจายแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งออกสู่ชนบททั่วประเทศ
 
พ.ศ. 2486
ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับประเทศอังกฤษในสงครามมหาเอเชียบูรพา กรมเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก จึงได้ดำเนินการปรับปรุงโรงพยาบาลอานันทมหิดลเพื่อให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น และจัดตั้งศูนย์พักฟื้นทหารป่วยเจ็บของกองทัพบก
 
พ.ศ. 2514
โรงพยาบาลได้รับมอบหมายดำเนินการผลิตนายสิบเสนารักษ์หลักสูตร 1 ปี และได้ถูกกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลเขตหลังในการรับผู้ป่วยที่ส่งกลับจากพื้นที่ส่วนหน้า รวมทั้งการดูแลทหาร ครอบครัวและพลเรือนที่เจ็บป่วยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี พันเอก ยง วัชรศุปด์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (ยศในขณะนั้น) ได้เสนอแผนและขออนุมัติสร้างอาคารใหม่ 6 ชั้น โดยใช้งบประมาณ 50 กว่าล้านบาทและใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปีเศษ
 
พ.ศ. 2524
โรงพยาบาลอานันทมหิดลได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลและนำมาประดิษฐานไว้ด้านหน้าตึก 6 ชั้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2527
 
พ.ศ. 2544
กองทัพบกได้อนุมัติให้ก่อสร้างตึกอุบัติเหตุและผู้ป่วยอาการหนักขนาด 4 ชั้น เพื่อใช้เป็นสถานที่รักษาพยาบาลผู้ป่วยอาการหนัก ผู้ป่วยผ่าตัด และผู้ป่วยนอกแบบครบวงจ ในด้านกุมารเวชกรรม ศัลยกรรมและออร์โธปีดิกส์ เมื่อแล้วเสร็จได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ประทานนามว่า "อาคารกัลยาณิวัฒนา" และเสด็จมาทรงเปิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 พร้อมกับเปิดหน่วยไตเทียมลำดับที่ 4 มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย ณ ตึกศรีสังวาลย์ โรงพยาบาลอานันทมหิดลในวันเดียวกัน ซึ่งมูลนิธิฯ นี้ ให้การดูแลผู้ป่วยยากไร้ทั่วประเทศ

คลินิกเครือข่ายประกันสังคม โรงพยาบาลอานันทมหิดล

 โรงพยาบาลอานันทมหิดล ไม่มีคลินิกเครือข่ายประกันสังคม