ประวัติโรงพยาบาลเขาสมิง
โรงพยาบาลเขาสมิง เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีการนับต่อเนื่องจาการเป็นสถานีอนามัยประจำอำเภอเช่นเดียวกับโรงพยาบาลชุมชนอื่นๆ โรงพยาบาลเขาสมิงตั้งอยู่ที่ตำบลแสนตุ้ง ซึ่งเป็นตำบลที่เจริญที่สุดของอำเภอเขาสมิง
ปี พ.ศ.2520-2521 นายบุญส่ง ไทยกิ่ง เกษตรกรในตำบลแสนตุ้งได้บริจาคที่ดินซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ระหว่างสุขาภิบาลเขาสมิงกับสุขาภิบาลแสนตุ้งโดยห่างจากที่ว่าการอำเภอเขาสมิงเป็นระยะทางประมาณ 4.5กิโลเมตรและห่างจากสุขาภิบาลแสนตุ้ง ประมาณ 2 กิโลเมตร ที่ดินบริจาคมีทั้งสิ้น 15 ไร่มีลักษณะเป็นเนินเขา โรงพยาบาลเขาสมิงได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นโรงพยาบาลชุมชน 10 เตียงและเปิดดำเนินการ ตั้งเเต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2522 เป็นต้นมา
ปี พ.ศ. 2528 ก่อสร้างอาคารเพิ่มอีก 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2530 นายบุญส่ง ไทยกิ่งได้บริจาคที่ดินเพิ่มอีก 5 ไร่
ปี พ.ศ. 2538 มีการก่อสร้างขยายโรงพยาบาลเป็น 30 เตียง
ความหมาย LOGO
เครือข่ายสร้างสุขภาพ รพ.เขาสมิง
ความหมาย
K = KHAOSAMING มาจากชื่อโรงพยาบาล และชื่ออำเภอ
สีแดง หมายถึง สีประจำของเครือข่าย คปสอ.
H = HOSPITAL , HOME , HEALTH มาจากโรงพยาบาล ,บ้านรวมทั้งสุขภาพ
สีเขียว เป็นสีธรรมชาติ สีแห่งความร่มรื่น
สีน้ำเงิน เป็นสีแห่งความสุข สีที่มีพลัง พร้อมที่จะก้าวต่อไป
สัญญาลักษณ์รูปคบเพลิง เป็นสัญญาลักษณ์ของกระทรวงสาธารณสุข
สัญญาลักษณ์รูปคน เป็นสัญญาลักษณ์ที่หมายถึงประชาชน ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ
มีการจับมือร่วมกัน แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของประชาชน ในองค์กร และนอกองค์กร/ชุมชน
สีเหลืองทอง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง การพัฒนา ความเจริญก้าวหน้าที่มี
ตลอด ดังแสงส่องของทอง ที่พร้อมจะประกาศให้ผู้พบเห็นได้ทราบ
ข้อมูลทั่วไป
โรงพยาบาลเขาสมิงตั้งอยู่ตำบลแสนตุ้ง มีพื้นที่รับผิดชอบ 163,264 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลเทพนิมิต , ตำบลประณีต
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง
ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอขลุง จำหวัดจันทบุรี
แบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน 1 ตำบล ส่วนการจัดองค์กรราชการส่วนท้องถิ่นแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง และเทศบาล 1 แห่ง
มีประชากร...............คน
เพศชาย....................คน เพศหญิง.....................คน
หลังคาเรือน.....................หลังคาเรือน(ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ ...................)
ลักษณะพื้นที่ เป็นที่ราบสูงสลับเนินเขา อากาศร้อนชื้น ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด สวนยาง และการเพาะเลี้ยงสัตร์น้ำ เช่นการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
การคมนาคม โดยรถยนต์
เส้นทางติดต่อกับอำเภอเมืองจังหวัดตราด ระยะทางประมาณ 20 กม.
เส้นทางติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี ระยะทางประมาณ 50 กม.
จำนวนเตียงผู้ป่วยที่ขออนุญาติดำเนินการ 30 เตียง