ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน

Chao Khun Phaiboon Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
406 หมู่ 8 ถนนอู่ทอง - กาญจนบุรี ต.พนมทวน อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี 71140
โทร 034579031
โทรสาร 034579450

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน

 

Facebook โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน

 

 ประวัติโรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน

การก่อตั้ง / การขยายตัว  โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์  พนมทวน  ถือกำเนิดจากสถานีอนามัยชั้นหนึ่งซึ่งก่อสร้างขึ้นในปี  2516  แล้วเสร็จในปี  2517  มีนายแพทย์เลอรัตน์  บูรณารมย์เป็นหัวหน้าสถานีอนามัยคนแรก  มีเจ้าหน้าที่  8  ท่าน  บ้านพักสามหลัง ตั้งอยู่บนเนื้อที่  13  ไร่  หลังที่ว่าการอำเภอพนมทวนไม่มีผู้ป่วยไว้รักษา  สภาพของสถานีอนามัยไม่มีน้ำประปา  ใช้น้ำจากสระน้ำใหญ่ของวัดบ้านทวนซึ่งเป็นวัดประจำอำเภอที่อยู่ใกล้กัน
 
            ปี  2518  ยกฐานะเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยพนมทวน พร้อมกับได้นายแพทย์ธีรพล  หงษ์ทองเป็นผู้อำนวยการคนแรกในปีนี้ได้สร้างบ้านพักและคลังยาเพิ่มขึ้น
 
            ปี  2519  ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชนระดับ  10  เตียงและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาล พนมทวนมีนายแพทย์  สุรพงษ์  ตันธนศรีกุล  เป็นผู้อำนวยการเริ่มทำน้ำประปาจากน้ำบาดาลใช้ในกิจการของโรงพยาบาล
 
ปี  2521  เปลี่ยนผู้อำนวยการเป็นนายแพทย์ทรงกิจ  อติวนิชยพงษ์  มีนายแพทย์ประจำเพิ่มอีก  1  ท่าน เจ้าหน้าที่  49  คน  ประชาชนใช้บริการเพิ่มมากขึ้นทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน  ทำให้ทางรพ.มีการจัดกิจกรรมรณรงค์รุกเข้าสู่ชุมชน  เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุขเป็นช่วงที่ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากชุมชน  แต่ปัญหาความคับแคบของรพ.จำนวนเตียงไม่พอกับปริมาณคนไข้
 
                ในสมัยนายแพทย์สุเทพ  ลิ้มสุขนิรันด์เป็นผู้อำนวยการมีแนวคิดที่จะขยายรพ.เป็นระดับ  30  เตียง จึงปรารภเรื่องนี้กับพระเทพปัญญาสุธี  (สมณศักดิ์ในขณะนั้น)  เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี  ซึ่งท่านได้มอบที่ดินที่มีผู้ถวายท่านไว้  30  ไร่  ให้กับรพ.และชักชวนประชาชนในอำเภอพนมทวนและใกล้เคียงรวมทั้งวัดต่าง ๆ ในจังหวัดกาญจนบุรีร่วมสร้างรพ.ขึ้น  เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่  22 กุมภาพันธ์ 2532  และเสร็จสิ้นลงในปี  2533  โดยที่แรงงานก่อนสร้างรวมทั้งผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นพระเณรของวัดไชยชุมพลชนะสงครามซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาส เกือบทั้งหมด  โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ส่งนายช่างมาช่วยดูแลให้เป็นไปตามแปลน  งบประมาณการก่อสร้างได้มาจาก  นายสว่างและนางเคลิ้ม  สุคนธสิทธิ์ผู้ถวายที่ดินเป็นเงินทั้งสิ้น  4,200,000  บาท  และนางสมทรง  จันทราภากุล  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้นอีก  1,000,000  บาท  และจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาเป็นส่วนใหญ่ รวมเป็นค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ  60  ล้านบาท  เมื่อแล้วเสร็จโอนให้กระทรวงสาธารณสุขและขอเพิ่มชื่อจากรพ.พนมทวน  เป็นรพ.เจ้าคุณไพบูลย์ พนมทวน ตามชื่อเดิมของท่านเจ้าคุณ ฯ พระผู้สร้างและพระผู้ให้ความอนุเคราะห์แก่รพ. แห่งนี้  ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
 
               
 
รพ.เจ้าคุณไพบูลย์  พนมทวนเปิดดำเนินการเมื่อวันที่  6  ตุลาคม  2533โดยถือเอาวันครบรอบวันเกิดของท่านเจ้าคุณไพบูลย์ เป็นวันกำเนิดโรงพยาบาล ปัจจุบัน มี
 
♠ อาคารรักษาพยาบาล  4  หลัง 
 
♥      อาคารผู้ป่วยนอก  1  หลัง
 
♥      อาคารผู้ป่วยใน  2  หลัง
 
♥      อาคารการแพทย์แผนไทย – ทางเลือก  1 หลัง
 
♠ มีเตียงรับผู้ป่วยสามัญ  29 เตียง  ห้องพิเศษเดี่ยว  18  ห้อง , ห้องคลอด 7 เตียง รวม 54  เตียง
 
♠ เจ้าหน้าที่ทุกประเภทรวม  140  คน
 
การปรับปรุง
 
        ♥ ปี 2546   :  ปรับปรุงห้องประชุมพระธรรมคุณาภรณ์
 
        ♥ ปี 2548   :   ปรับปรุงขยายฝ่ายบริหารทั่วไป
 
                              :   ขยายอาคารบริการผู้ป่วยนอก
 
        ♥ ปี 2559   :  ก่อสร้างอาคารอำนวย-ทองยิ่ง
 
        ♥ ปี 2559   :  ปรับปรุงต่อเติมห้องตรวจตา,ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา
 
        ♥ ปี 2560   :  ต่อเติมทางเชื่อมอาคารพิเศษบน
 
        ♥ ปี 2560   :  ก่อสร้างที่จอดรถเจ้าหน้าที่บริเวณตึกพิเศษ,อาคารที่พักพยาบาล
 
        ♥ ปี 2560   :  ก่อสร้างที่จอดรถรถเข็นสำหรับคนไข้
 
        ♥ ปี 2560   :  ปรับปรุงที่พักญาติบริเวณหลังอาคารผู้ป่วยสามัญ
 
        ♥ ปี 2560   :  ก่อสร้างห้องน้ำคนไข้บริเวณหลังห้องคลอด