ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ

Thian Fah Foundation Hospital

Logo

โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ เป็นองค์กรการกุศลที่จดทะเบียนเป็นมูลนิธิแห่งแรกของประเทศไทย เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดกลาง ประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน จำนวน 60 เตียง ติดต่อ: 02-2372190 ถึง 4 ต่อ 301 และ โทร. 02-2330955 ถึง 6 ต่อ 301 เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ : 8.00 - 16.00 น.

ที่อยู่/ติดต่อ
606 ถนน เยาวราช แขวง สัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ

โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ
โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ
 
โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ
  • ฝังเข็ม
  • ครอบแก้ว
  • ทุยหนา (นวดแผนจีน)
  • แมะ 
  • กายภาพบำบัด
  • หน่วยไตเทียมอัจฉริยะ
  • จักษุ
  • ทันตกรรม
  • โปรแกรมตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่างๆ
  • โปรแกรมตรวจสำหรับบุคคลทั่วไป
  • โปรแกรมตรวจสำหรับอายุ30ปีขึ้นไป
 
ติดต่อ: 02-2372190-4 ต่อ 301 , 02-2330955-6 ต่อ 301
เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ : 8.00 - 16.00 น.
โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ เป็นองค์กรการกุศลที่จดทะเบียนเป็นมูลนิธิแห่งแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการมาเป็นระยะเวลาร้อยกว่าปีแล้ว ซึ่งโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ยังคงสืบสานเจตนารมณ์ของคณะผู้ก่อตั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้บริการทางการแพทย์ ทั้งแพทย์แผนจีนและแพทย์แผนปัจจุบัน โดยแผนกแพทย์แผนจีนยังคงให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคและจ่ายยาจีนโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ เสมอมา ส่วนแผนกแพทย์แผนปัจจุบันให้บริการตรวจการรักษาโรคให้กับผู้ป่วยโดยเก็บค่ารักษาในราคาที่ประหยัด ให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา หรือชนชั้นวรรณะใดๆ ด้วยปณิธานมุ่งมั่นที่จะบำบัดรักษาผู้ป่วย ส่งเสริมสุขภาพร่ายกายและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
 
ปัจจุบันนี้การให้บริการแผนกแพทย์แผนปัจจุบันโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดกลาง ประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน จำนวน 60 เตียง ประกอบด้วย ห้องพักเตียงผู้ป่วยทั่วไป และห้องพักผู้ป่วยพิเศษ ซึ่งเหมาะสำหรับพักพื้นของผู้ป่วย ทางโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป รวมถึงการฟื้นฟูสมรรณภาพร่างกาย โดยเก็บค่ารักษาในราคาที่ประหยัด ซึ่งไม่มุ่งหวังเป็นการค้าหากำไร


สำหรับการให้บริการของแพทย์แผนปัจจุบัน มีดังนี้
 
  • ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคตา ฝ่าตัดต้อกระจก, ต้อเนื้อ, ต้อหิน
  • ให้บริการตรวจโรคอายุรกรรมทั่วไป, เบาหวาน, ความดัน, หัวใจ, โรคไต
  • ให้บริการตรวจสุขภาพ, ตรวจเลือด เอ็กสเรย์ปอด, คลื่นหัวใจ ในราคาที่ประหยัด
  • โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ จัดตั้งโครงการหน่วยไตเทียมอัจฉริยะ เพื่อการฟอกเลือดให้แก่ผู้ป่วย โดยการรักษาด้วยระบบฟอกเลือดของศูนย์ไตเทียมที่ได้มาตรฐานจำนวน 12 เตียง ในราคาที่ประหยัด ครั้งละ 800 บาท (โดยการให้บริการฟอกเลือดให้แก่ผู้ป่วย จะต้องขึ้นอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์)
  • ให้บริการแผนกกายภาพบำบัด ให้บริการในการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยรับบริการผู้ป่วย ผู้สูงอายุ หรือผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง โดยทีมนักกายภาพบำบัดมืออาชีพ วางแผน ดูแลรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ดี และมีความปลอดภัย ในราคาที่ประหยัด
  • การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ณ สวนลุมพินี โดยให้บริการตรวจวัดความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ  ให้บริการทุกเช้าวันอาทิตย์ 


สำหรับเทียนฟ้ามูลนิธิคลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีน เป็นสถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ให้บริการทางการแพทย์ดังนี้
 
  • ตรวจวินิจฉัยโรคและจ่ายยาสมุนไพรจีนที่ปรุงสำเร็จให้กับผู้ป่วย โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ
  • การให้บริการฝังเข็ม, ครอบแก้ว, อบไฟ, ทุยหนา (นวดแผนจีน)  โดยเก็บค่าใช้จ่ายในราคาที่ประหยัด 
          
          เงินบริจาคจะนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายและสมทบทุนช่วยเหลือการบริการรักษาผู้ป่วย การจัดซื้อค่ายา และเวชภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมของโรงพยาบาลทั่วไป การออกหน่วยพยาบาลเคลื่อนที่ รวมไปถึงเป็นค่าใข้จ่ายเพื่อร่วมมือหรือสนับสนุนองค์กรการกุศลอื่นๆ ในการช่วยเหลือปวงชนที่ประสบภัยพิบัติทั้งปวงเป็นครั้งคราว อาทิ อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย และอื่นๆ เพื่อสาธารณะประโยชน์
 
          โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลลำดับที่ 784 ของประกาศกระทรวงการคลัง เงินบริจาคสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2555 เป็นต้นไป
  โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2446 โดยคหบดีชาวจีนโพ้นทะเลจำนวน 6 ท่าน ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวจีนท้องถิ่นในประเทศไทย 5 กลุ่ม (แต้จิ๋ว แคะ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ) ได้แก่ เหล่ากี่ปิง (พระยาภักดีภัทรากร), โง้วเหมียวง้วน (จีนล่ำซำ), กอฮุยเจี๊ยะ (หลวงภักดีภูวนาท), เหล่าชงเมี่ยง (พระเจริญราชธน), เตียเกี้ยงซำ (พระโสภณเพชรรัตน์) และเฮ้งเฮ่งจิว ร่วมกันอุทิศเงินพร้อมเชิญชวนประชาชนทั่วไป ร่วมกันสมทบทุนเป็นเงินจำนวน 52,000 บาท จัดซื้อที่ดินขนาด 2 ไร่ 2 งาน 49 ตารางวา บนที่ดินติดถนนเยาวราช จัดตั้งโรงพยาบาลจีนในนามแรกเริ่มว่า “โรงพยาบาลเทียนฮั้วอุยอี้” เพื่อตรวจรักษาและจ่ายยาจีนให้กับผู้ป่วยยากไร้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
 
การดำเนินงานก่อสร้างโรงพยาบาลใช้เวลาถึง 2 ปีจึงแล้วเสร็จ จากนั้นคณะผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงพยาบาลฯ เมื่อวันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2448 โดยพระองค์ได้พระราชทานทรัพย์จำนวน 100 ชั่ง1 เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของโรงพยาบาล พร้อมทั้งพระราชทานตู้ไม้สัก มีพระปรมาภิไธยย่อ จปร. พร้อมตราพระ-เกี้ยวจำนวน 2 องค์เพื่อเป็นที่ระลึก นับเป็นสถาบันการแพทย์แผนจีนแห่งแรกของประเทศไทย
 
ในปี พ.ศ. 2474 ได้ทำการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ และได้หมายเลขทะเบียนเป็นลำดับที่ 1 ของประเทศไทย2 จากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ” และระหว่างปี พ.ศ. 2500-2501 ได้เปิดแผนกแพทย์แผนปัจจุบัน
 
สำหรับองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กวนอิม) แห่งโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ เป็นไม้แก่นจันทน์แกะสลักปิดทอง ศิลปะสมัยราชวงศ์ถัง มีอายุราว 1,000 ปี เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดอันเล่อ เมืองลั่วหยาง มณฑล เหอหนาน ประเทศจีน หลังจากประเทศจีนมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ได้มีการอัญเชิญพระองค์ไปประทับที่ฮ่องกง3 จากนั้นจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานประทับภายในเก๋งหน้าอาคารแพทย์แผนปัจจุบัน เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2503
 
อนึ่ง เครื่องหมายของโรงพยาบาล เป็นรูปวงกลมลักษณะห่วงชูชีพสีขาว มีอักษรจีนสีแดงคำว่า “天 (เทียน)” ซึ่งแปลว่า “สวรรค์” อยู่ภายในห่วงชูชีพ ส่วนประตูทางเข้าโรงพยาบาลมีอักษรจีน 4 คำ “天華醫院 (เทียนหัว อีย่วน)” แปลว่า “โรงพยาบาลเทียนฟ้า” และด้านหลังของประตูซึ่งเป็นทางออก มีปณิธานของโรงพยาบาลประดับด้วยอักษรจีน 4 คำ “痌瘝在抱 (ถงกวนไจ้เป้า)” แปลว่า “โอบอุ้มความเจ็บปวดและทุกข์ระทมของมวลชนเอาไว้”
 
ปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิมีการร่วมมือกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จัดตั้งโครงการฟอกไตให้แก่ผู้ป่วยยากไร้ โดยแยกห้องฟอกไตเป็น 2 แห่ง คือ ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 18 เตียง และโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ 12 เตียง นอกจากนี้ ทุกเช้าวันอาทิตย์ยังมีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการตรวจวัดความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดที่สวนลุมพินี เพื่อเป็นการเช็คสุขภาพเบื้องต้นให้ทุกคนโดยไม่คิดมูลค่า
 
ตลอดระยะเวลาร้อยกว่าปี โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิเป็นองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร ยังคงสืบสานเจตนารมณ์ของคณะผู้ก่อตั้ง ให้บริการทั้งการแพทย์แผนจีนและการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยแผนกแพทย์แผนจีนยังคงให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคและแจกจ่ายยาจีนโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ เสมอมา ส่วนแผนกแพทย์แผนปัจจุบันให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโดยเก็บค่ารักษาในราคาย่อมเยา ด้วยปณิธานมุ่งมั่นที่จะบำบัดรักษาผู้ป่วย ส่งเสริมสุขภาพร่างกายและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
 
หมายเหตุ
     1. 1 ชั่ง มีค่าประมาณ 80 บาทในปัจจุบัน
     2. เอกสารการจดทะเบียนมูลนิธิจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2474
     3. ขณะนั้นฮ่องกงยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ


3 สิ่งล้ำค่า แห่ง โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ


  เมื่อนักท่องเที่ยวมาถึงกรุงเทพ ไม่ว่าใครก็ตามแต่ก็ต้องมาไชน่าทาวน์ที่ถนนเยาวราช ที่นี่เป็นไชน่าทาวน์ที่สมบูรณ์แบบและมีเอกลักษณ์ที่สุด
    เมื่อเดินเข้ามาโรงพยาบาลเทียนฟ้า ก็จะเห็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม) และจะเห็นได้ว่าสองข้างและผนังด้านหลังจะพบสมบัติล้ำค่า 3 สิ่งของโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ ิ
 
    1.ผู้ก่อตั้ง
    ผนังด้านหลังของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิมปางประทานพร แกะสลักจากไม้เนื้อหอมลงรักปิดทอง) มีรูปภาพที่แขวนไว้ด้านบนทั้งหมด 6 ท่าน คือรูปพ่อค้าชาวจีน 6 คน คือ นายโง้วเหมียวง้วน (จีนล่ำซำ), นายเล่ากี่ปึ้ง (พระยาภักดีภัทรากร), นายกอฮุยเจี๊ยะ, นายเหล่าชอเมี้ยง (พระเจริญราชธน), นายเฮ้งเฮ่งจิว และนายเตียเกี้ยงซำ (หลวงโสภณเพชรรัตน์) ได้ร่วมใจกันสละเงินรวมเป็นค่าเงินประมานได้ 8,000 บาทในปัจจุบันและได้ชวนพ่อค้าชาวจีน ประชาชนทั่วไปร่วมกันสบทบทุนเพื่อจัดซื้อที่ดินจำนวน 2 ไร่ 2 งาน 49 ตารางวาบริเวณเขตสัมพันธวงศ์ ถนนเยาวราช เป็นเงิน 52,000 บาท เพื่อให้เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลเทียนฟ้าในปัจจุบัน
    ถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมา 108 ปีแล้ว แต่ประธานกรรมการทุกสมัยก็ยังคงเจตนารมย์เดิมของท่านทั้งหก คือ ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยและผู้ยากไร้โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนาใดๆ ทั้งสิ้น
 
    2.ตู้ไม้สักพระราชทาน
    โรงพยาบาลสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมอบตู้ไม้สักเพื่อเป็นที่ระลึก และยังทรงให้พรแก่โรงพยาบาลว่า ”ขอให้โรงพยาบาลนี้รักษาคนให้หายเร็ว” และทรงให้พรแก่ผู้มีจิตศรัทธาที่มอบเงินทุนแก่โรงพยาบาลอีกว่า “ขอให้มีความสุขกายสบายใจ อายุยืนยาวและมีกิจการที่รุ่งเรือง” ในเวลาเดียวกัน ทรงมอบทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดตั้งขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานจีนแต้จิ๋ว มีหงส์อันเป็นตัวแทนของสตรีเพศ ดอกโบตั๋นและค้างคาว เพื่อบอกถึงความเจริญรุ่งเรือง โดยมีพ่อค้าชาวจีนและประชาชนทั่วไปร่วมสมทบทุนสร้างโรงพยาบาลนี้เพื่อเยียวยา รักษาชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามายังประเทศไทย ด้วยการรักษาแบบแพทย์แผนจีน
        ในทุกๆปีใหม่ของจีน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จมาที่โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิเพื่อสักการะบูชาพระอวโลกิเตศวร(กวนอิม)ด้วย
 
    3.สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
    องค์พระอวโลกิเตศวร (กวมอิม) ของโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธินั้นมีจารึกไว้ว่า มีการยืนยันแน่ชัดจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งตรวจสอบกับภาพวาดที่เมืองตุนหวงแล้วว่าเป็นงานช่างศิลปกรรมชั้นเอกสมัยราชวงศ์ถังเป็นแน่แท้ โดยทำจากไม้ชั้นดีทั้งท่อนแกะสลักเป็นองค์พระอวโลกิเตศวร (กวนอิม) ทรงมีพระสิริโฉมงดงามที่หาใดเปรียบปานได้ไม่ ตั้งอยู่ที่วัดอันเล่อ เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศกราบไหว้บูชาและคุ้มครองทั่วทุกทิศ ก่อนที่ประเทศจีนจะมีการเปลี่ยงแปลงระบอบการปกครองนั้นมีการลำเลียงองค์พระอวโลกิเตศวร (กวนอิม) มาที่ฮ่องกงและต่อมาลำเลียงมาเก็บไว้ที่บ้านคหบดีคนหนึ่งในประเทศไทย บังเอิญว่าขณะนั้นนายจุลินทร์ ล่ำซำ ประธานกรรมการโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิเดิมสมัยที่ 45-46 (ช่วงปี พ.ศ. 2500-2503) ทราบข่าวแล้วเห็นชอบและติดต่อคหบดีท่านนั้นที่จะอัญเชิญองค์พระอวโลกิเตศวร (กวนอิม) มาประดิษฐาน ณ โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิเพื่อทำการบูชา