ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลเสลภูมิ
เดิมท้องที่อำเภอเสลลภูมิ มีสถานีอนามัยชั้น 2 ประจำตำบลกลาง ซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งของอำเภอเสลภูมิ สถานีอนามัยชั้น 2 ตำบลกลาง สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตังอยู่ในที่ราชพัสดุ เป็นตัวอาคารสถานีอนามัย 1 หลัง และบ้านพักเจ้าหน้าที่ 2 หลัง (ปัจจุบันที่ตั้งของธนาคารออมสินสาขาเสลภูมิ
ต่อมา ประมาณปี 2499 ได้มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินสร้างศาลาลอย ประมาณ 25 ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลปัจจุบันนี้ และทางราชการได้ให้เงินงบประมาณก่อสร้างสถานีอนามัยชั้นหนึ่งของอำเภอเสลภูมิขึ้น 1 หลัง เป็นบ้านพักเจ้าหน้าที่ 2 หลัง สถานีอนามัยชั้นหนึ่งอำเภอเสลภูมิ ได้เริ่มบริการประชาชนประมาณปี 2500 โดยมีนายแพทย์ประจำ 1 คน
ต่อมา กระทรวงสาธารณสุขได้จัดแบ่งส่วนราชการใหม่ โดยรวมกับกรมการแพทย์และอนามัยเข้าด้วยกันเป็นกรมการแพทย์และ อนามัย สังกัดสำนักงานกระทรวงสาธารณสุข และได้เปลี่ยนชื่อสถานีอนามัยชั้นหนึ่งเป็น ศูนย์การแพทย์และอนามัยมี นายแพทย์ประจำ 1 คน
ในปี 2515 ทางกรมการแพทย์และอนามัย ได้ให้เงินงบประมาณก่อนสร้างอาคาร "ศูนย์การแพทย์และอนามัย" ใหม่ 1 หลัง และมีบ้านพักเจ้าหน้าที่ 3 หลัง การก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดบริการให้แก่ประชาชนในปี 2516 โดยใช้อาคารหลังใหม่ (ตึกที่จัดให้เป็นสาธารณสุขอำเภอและฝ่ายส่งเสริมสุขภาพและฝ่ายสุขาฯ) เป็นที่ทำการเจ้าหน้าที่และตึกผู้ป่วยนอก ใช้อาคารอนามัยชั้นหนึ่งเดิมเป็นอาคารตึกผู้ป่วยใน
ในปี 2518 พระครูสารธรรมนิเทศ ( หลวงปู่มา ญาณวโร ) ได้อาพาธมานอนรักษาตัวอยู่ที่ "ศูนย์การแพทย์และอนามัย" แห่งนี้ระหว่างที่นอนพักรักษาตัวได้พิจารณาเห็นว่า พระภิกษุสามเณร ต้องมานอนพักรักษาตัวร่วมกับฆราวาส เป็นการไม่เหมาะสม ท่านพระครูสารธรรมนิเทศจึงบอกบุญแก่ผู้มีจิตศรัทธารวบรวมเงินมาก่อสร้างตึกแบบบังกาโลขึ้นในบริเวณโรงพยาบาลเสลภูมิ 1 หลัง
ต่อมาสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ยกฐานะจาก "ศูนย์การแพทย์และอนามัย" เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง แต่บริการคนไข้ได้ 17 เตียง จนมาถึงปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง