ประวัติโรงพยาบาลและโรงพยาบาลกับการบริการ-วิชาการโรงพยาบาลแแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ประวัติโรงพยาบาลแแก่งคอย
โรงพยาบาลแก่งคอยถือกําเนิดครั้งแรกมาจากสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง อําเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปีพุทธศักราช 2501 ตั้งอยู่บนพื้นที่ตําบลแก่งคอย อําเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี การพัฒนาปรับปรุงอาคารให้บริการผู้ป่วย ในปี พุทธศักราช 2512 จากนั้นพัฒนาขึ้นมาเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย อําเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ในปีพุทธศักราช 2515 โดยมีนายแพทย์ประชา เอมอมร เป็นผู้อํานวยการคนแรก
พุทธศักราช 2533 พัฒนาจากศูนย์การแพทย์และอนามัยเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียงและ 30 เตียง ตามลําดับ ต่อมามีผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้นจึงมีความจําเป็นต้องขยายบริการ จึงทําการสร้างอาคารใหม่ขึ้น (ต่อมาปีพุทธศักราช 2539 มีการสร้างโรงพยาบาลในพื้นที่แห่งใหม่ขึ้น จึงใช้อาคารนี้ให้บริการผู้ป่วย โดยใช้ชื่อว่า ้คลินิกผู้ป่วยนอก้ โรงพยาบาลแก่งคอย อาคารใหม่มีลักษณะเป็นอาคารอํานวยการ จึงมีการจัดการการใช้งานในอาคารใหม่ ดังนี้
* อาคารอํานวยการ
ลักษณะอาคาร 2 ชั้น ชั้นที่หนึ่ง จัดการพื้นที่เป็นแผนกเวชระเบียน แผนกผู้ป่วยนอก ห้องตรวจโรค แผนกแพทย์แผนไทย แผนกแพทย์แผนจีน แผนกกายภาพบําบัด แผนกเภสัชกรรมและแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ชั้นที่สองเป็นส่วนของสํานักงาน ของสํานักงานสาธารณสุขอําเภอแก่งคอย
นอกจากนั้นแล้วยังมีการสร้างบ้านพักบุคลากรของโรงพยาบาล สร้างศูนย์ออกกําลังกาย (Kaengkhoi fitness center) เพื่อเป็นขวัญและกําลังใจให้กับบุคลากรอีกด้วย
พุทธศักราช 2539 โรงพยาบาลแก่งคอยได้พัฒนาขึ้นจนขยายบริการเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 60 เตียง แต่เนื่องจากพื้นที่ตั้งเดิมไม่่เพียงพอต่อการขยายบริการ ทั้งอาคารสําหรับให้บริการผู้ป่วยและอาคารที่พักของบุคลากรของโรงพยาบาล จึงต้องหาพื้นที่สร้างแห่่งใหม่ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากคุณบุญจันทร์-คุณไพฑูรย์ นุตราวงศ์ บริจาคที่ดินจํานวน 15 ไร่ 71 ตารางวา ให้กับทางโรงพยาบาล (ปีพุทธศักราช 2560 ครอบครัวนุตราวงศ์ได้บริจาคเพิ่มเติมอีก 2 ไร่ ่และทางโรงพยาบาลซื้อเพิ่มเติมอีก 5 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา) ซึ่งห่่างจากพื้นที่เดิม 3.6 กิโลเมตร จึงได้ย้ายมาก่อสร้างโรงพยาบาลในสถานที่แห่งใหม่ ตั้งอยู่่ ณ เลขที่ 107 หมู่่ที่ 8 ตําบลตาลเดี่ยว อําเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ก่อสร้าง แล้วเสร็จและเริ่มเปิดบริการ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2543 โดยอาคารทั้งหมดประกอบด้วย
* อาคารอํานวยการ
ลักษณะอาคาร 2 ชั้น ชั้นที่หนึ่ง จัดการพื้นที่เป็นแผนกผู้ป่วยนอก ห้องตรวจร่างกาย-โรค แผนกเวชระเบียน แผนกทันตกรรม แผนกเวชปฏิบัติครอบครัว แผนกเภสัชกรรม แผนกรังสีการแพทย์ แผนกประกันสุขภาพ แผนกจิตเวช แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน (สร้างอาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินใหม่ ปี 2555) แผนกชันสูตร ชั้นที่สองเป็นส่่วนของสํานักงาน ประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องผู้อํานวยการโรงพยาบาล ฝ่ายบริหารงานทั่วไป แผนกศูนย์คุณภาพ
* อาคารผู้ป่วยในชาย
ลักษณะอาคาร 1 ชั้น จัดให้มีเตียงไว้รองรับผู้ป่วยชาย ประเภทสามัญ จํานวน 24 เตียง ห้องพิเศษ จํานวน 5 เตียง (ห้อง) และห้องแยกโรค จํานวน 2 เตียง (ห้องนอกจากนั้นยังจัดสรรบางส่วนของอาคาร ปรับปรุงเป็นหอผู้ป่วยเด็ก (0-5 ปี ประเภทสามัญ จํานวน 8 เตียง
* อาคารผู้ป่วยในหญิง
ลักษณะอาคาร 2 ชั้น ชั้นที่หนึ่ง จัดให้มีเตียงไว้รองรับผู้ป่วยหญิง ประเภทสามัญจํานวน 20 เตียง ห้องพิเศษ จํานวน 5 เตียง (ห้อง) ห้องแยกโรค จํานวน 2 เตียง (ห้อง) และห้องคลอด จํานวน 6 เตียง ส่่วนชั้นที่สองเป็นส่่วนของสํานักงาน ประกอบด้วย แผนกบริการสุขภาพชุมชน แผนกอาชีวอนามัย และแผนกศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
* อาคารบริการโภชนาการ-จ่ายกลาง
ลักษณะอาคาร 1 ชั้น ส่วนหนึ่งจัดให้มีบริการจัดอาหารให้กับผู้ป่วย อีกส่่วนหนึ่งให้บริการซักฟอก เตรียมเครื่องมือ สําหรับการบริการผู้ป่วย
* บ้านพักและอาคารที่พัก (แฟลต)
สําหรับบุคลากรของโรงพยาบาล ประกอบด้วย บ้านพักจํานวน 6 หลัง และอาคารที่พัก (แฟลต) 3 ชั้น 36 ห้อง จํานวน 3 อาคาร
* อาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2555 ลักษณะอาคาร 2 ชั้น ชั้นที่หนึ่ง จัดให้มีบริการด้านอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน และแผนกชันสูตร ส่วนชั้นที่สองเป็นส่วนของห้องประชุมขนาดใหญ่ และห้องรับรอง (พื้นที่ห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน (อาคารอํานวยการเดิม) ปรับเป็นแผนกเวชระเบียน)
* อาคารบริการขาเทียม
เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2556 ลักษณะอาคาร 1 ชั้น จัดให้มีบริการสร้าง ซ่อมแซมขาเทียมให้กับผู้พิการ
* อาคารบริการ 6 ชั้น
เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2560 ลักษณะอาคาร 6 ชั้น มีแผนการจัดบริการในแต่ละชั้น ดังนี้ ชั้นที่หนึ่ง จัดให้มีบริการด้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ชั้นที่สอง จัดให้มีบริการด้านไตเทียม ชั้นที่สาม จัดให้มีบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ชั้นที่ 4 จัดให้มีบริการด้านทันตกรรม ชั้นที่ 5 จัดให้มีบริการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและห้องประชุม และชั้นที่ 6 เป็นส่วนของสํานักงาน (หมายเหตุ : พื้นที่เดิมของแผนกทันตกรรมเวชปฏิบัติครอบครัว จุดบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จะปรับสภาพเป็นแผนกผู้ป่วยนอก)
การดําเนินการในทุกส่วนบุคลากรทั้งหมด สละทั้งกําลังกายกําลังใจ ร่วมกันพัฒนาโรงพยาบาลแก่งคอย จนในปัจจุบันพัฒนาขึ้นเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ (F1) ผ่่านการต่ออายุการรับรองกระบวนการคุณภาพครั้งที่ 4 จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ในปีพุทธศักราช 2561 ภายใต้การนําของผู้อํานวยการโรงพยาบาล นายแพทย์ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร
โรงพยาบาลแแก่งคอยกับงานด้านการบริการ
โรงพยาบาลแก่งคอย เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ (F1) ขนาด 60 เตียง มีผู้ป่วยนอกเข้ารับบริการในทิศทางที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 2556-2561 เท่ากับ 220,334, 225,980, 225,773, 229,730, 237,556 และ 249,866 ราย คิดเป็นผู้รับบริการเฉลี่ยต่อวันเท่่ากับ 605, 620, 620, 630, 651 และ 685 ราย ตามลําดับ ซึ่งมีปริมาณที่สูงกว่่าโรงพยาบาลชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดสระบุรีเป็นจํานวนมาก นอกจากนี้ ยังเปิดบริการคลินิกพิเศษสําคัญๆ เช่่นคลินิกโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง) คลินิกโรคหอบหืด คลินิกโรคหัวใจ (วาร์ฟาริน) คลินิกโรคติดต่อทั่วไป ให้บริการด้านการตรวจสุขภาพแก่พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม การตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว ซึ่งเปิดให้บริการ
ทุกวัน ซึ่งปัญหา ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นคือ เกิดความแออัดของผู้มารับบริการ อันเนื่องมาจากสถานที่ให้บริการคับแคบ ในส่วนของผู้ป่วยใน มีอาคารผู้ป่วยอยู่ 2 อาคารคือ อาคารผู้ป่วยในชายและอาคารผู้ป่วยในหญิง
ในส่วนของการให้บริการคลอดบุตรยังต้องใช้ร่วมกับอาคารผู้ป่วยในหญิง เนื่องมาจากยังไม่มีอาคารที่ให้บริการเฉพาะ แต่มีการจัดสถานที่พักไว้เป็นสัดส่วนชัดเจน นอกจากนั้นแล้ว มีผู้ป่วยในเข้ารับบริการในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในปี 2556-2561 เท่ากับ 6,207 , 5,933 , 6,874 , 5,800 , 6,214 และ 6,424 ราย คิดอัตราครองเตียงเท่ากับ 90.34, 88.89, 94.08, 83.66,
86.05 และ 89.16 ตามลําดับ
ถึงแม้ว่าภาพรวมของอัตราครองเตียง และ Active Bed จะยังไม่่เต็มจํานวนเตียงที่กําหนด แต่จากข้อมูลพบว่่าในหลายๆ ช่่วงของแต่ละปี มีจํานวนผู้ป่วยใน ทั้งผู้ป่วยในชายและผู้ป่วยในหญิงมากกว่่าจํานวนเตียงที่มี ต้องอาศัยเตียงสํารอง (summer bed) ให้พักรักษาไปพลางก่อน ซึ่งก็ตามมาด้วยปัญหาความแออัดเช่นเดียวกับผู้ป่วยนอก
ปัญหาที่สําคัญอีกด้านหนึ่งคือการส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อ ในแต่ละปีเป็นจํานวนมาก โดยผู้ป่วยนอกที่ต้องส่่งต่อไปรับการรักษาที่อื่นปี 2556-2560 เท่่ากับ 5,887 , 5,663 , 5,887 , 5,497 และ 5,828 ราย ส่วนผู้ป่วยในที่ต้องส่่งต่อไปรับการรักษาที่อื่น ปี 2556-2560 เท่ากับ 502, 368, 256, 354 และ 545 ราย โดยพบว่่าหากโรงพยาบาลแก่งคอย มีบุคลากรที่มีศักยภาพสูงและเพียงพอต่อการบริการ ประกอบกับมีอาคารสถานที่และเครื่องมือแพทย์ที่เหมาะสม จะมีการบริการที่ดี ลดปัญหาการส่งต่อผู้ป่วย รวมถึงจะช่่วยให้การดูแลสุขภาพประชาชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โรงพยาบาลแแก่งคอยกับการให้บริการเชิงรุกในการรักษาพยาบาล
* โรงพยาบาลมีระบบเวชศาสตร์ฉุกเฉิน Emergency Medical Service (EMS) ซึ่งมีความสามารถ ให้การรักษาพยาบาล แก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้บาดเจ็บ ที่มีความพร้อมสูง อันประกอบด้วย ระบบการรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล และระบบห้องฉุกเฉิน การให้การรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล (Pre-Hospital Care) ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลและหน่วยกู้ชีพ ออกไปให้บริการ ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อให้ผู้ประสบเหตุ ได้รับการรักษาพยาบาล อย่่างถูกวิธี และทันเวลา พร้อมทั้งมี ระบบนําส่่งสถานพยาบาล อย่างรวดเร็วเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
* การให้บริการด่่านแรก (Front Liner) โดยจัดให้มีบุคลากรทําหน้าที่คอยอํานวยความสะดวกแนะนํา ช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยและญาติ
* จัดให้มีการอํานวยความสะดวก แก่ผู้ป่วยบางประเภทโดยเฉพาะ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ตรวจสุขภาพแรงงานก่อนและหลังเข้าทํางาน ตรวจสุขภาพแรงงาน
ต่างชาติเพื่อเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพ เป็นต้น
โรงพยาบาลแแก่งคอยกับงานด้านวิชาการ
โรงพยาบาลแก่งคอย รับเป็นแหล่งฝwกงานของนิสิต/นักศึกษา ในหลายหลักสูตร หลายสถาบันประกอบด้วย
* นิสิต/นักศึกษาแพทย์
จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* นิสิต/นักศึกษาทันตแพทย์
จากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* นิสิต/นักศึกษาเภสัช
จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
* นักศึกษากายภาพบําบัด
จากคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะกายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะกายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยรังสิต และคณะกายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
* นิสิต/นักศึกษาพยาบาล
จากคณะพยาบาลศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลสระบุรี และคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลมิชชั่น
* นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร็
จากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
นอกจากนั้นยังมีนักศึกษาอื่นๆ เช่น สาขาเวชสถิติ สาขาคอมพิวเตอร์ เข้ามาฝึกงานด้วยเช่่นกัน