ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลแมคคอร์มิค

McCormick Hospital Chiang Mai

Logo

โรงพยาบาลแมคคอร์มิค มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ก่อตั้งและดำเนินการมายาวนานกว่า 135 ปี สืบสานพันธกิจทางการแพทย์เพื่อดูแลและมุ่งมั่นพัฒนาการด้านการสาธารณสุขแผนปัจจุบันให้กับประชาชนในเชียงใหม่และภาคเหนือ ไม่เพียงแต่ด้านการรักษาทางกายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการดูแลจิตใจและจิตวิญญาณ ผ่านงานทางด้านพันธกิจเยี่ยมเยียน เพื่อให้กำลังใจ และอธิษฐานเผื่อผู้เจ็บป่วย และครอบครัว โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา และฐานะทางเศรษฐกิจ นี่เองที่ทำให้โรงพยาบาลแมคคอร์มิคเป็นสถานพยาบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากชาวเชียงใหม่ อย่างต่อเนื่องยาวนาน มีความผูกพันดั่งญาติพี่น้อง ครอบครัวแมคคอร์มิคจึงเป็นบ้านหลังใหญ่ ที่ทุกคนสามารถไว้วางใจได้ว่า จะได้รับการดูแลด้วยความรักอย่างดีที่สุด ตรวจเช็คข้อมูลกับทางโรงพยาบาลได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ 053-921777

ที่อยู่/ติดต่อ
133 ถนนแก้วนวรัฐ ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50000

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค

คลินิกบริการทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์ หอผู้ป่วย ของรพ.แมคคอร์มิค (ตรวจเช็คข้อมูลกับทางโรงพยาบาลได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ 053-921777)

 
ประวัติการก่อตั้งโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
 
  ในปี พ.ศ.2410 ศาสนาจารย์ดานิเอล แมคกิลวารี (Rev.McGilvary) มิชชันนารีชาวอเมริกัน เพรสไบทีเรียน นิกายโปรแตสแตนต์ ได้เดินทางมาที่ภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อเผยแพร่พระ กิตติคุณขององค์พระเยซูคริสต์ที่จังหวัดเชียงใหม่และได้พบผู้เจ็บป่วยมากมาย จึงแบ่งปันยารักษา โรคที่นำติดตัวมา แจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านที่เจ็บป่วย พร้อมทั้งแนะนำความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ชาวบ้าน
 
  ต่อมาในปี พ.ศ.2415 คณะเพรสไบทีเรียนได้ส่งแพทย์มิชชันนารีหลายท่าน เช่น นายแพทย์ วรูแมน (Dr.Charles Vrooman), นายแพทย์ชีค (Dr.M.A Cheek), นายแพทย์แครี่ (A.M.Carey) มาเริ่มให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วย โดยศาสนาจารย์แมคกิลวารีได้เปิดสถานจำหน่ายยา แผนปัจจุบันขึ้นบริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำปิง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีกาชาดจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งสถานจำหน่ายยานั้นเป็นที่ไว้วางใจและได้เป็นที่พึ่งของชาวบ้านที่เจ็บป่วยเป็นอย่างมาก
 
 
 
  ปี พ.ศ.2430 คณะกรรมการกลางเพรสไบทีเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติเงินจำนวน 10,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลที่จังหวัดเชียงใหม่โดยปรับปรุงบริเวณสถานที่ จำหน่ายยาดังกล่าวให้เป็นสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนใช้ชื่อว่า "โรงพยาบาลอเมริกัน มิชชั่น" (American Mission Hospital) ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จาก บันทึกรายงานประจำปีของคณะมิชชันนารีถึงคณะกรรมการกลางเพรสไบทีเรียนประเทศสหรัฐ อเมริกา มีความตอนหนึ่งกล่าวว่า โรงพยาบาลได้ทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยในปีพุทธศักราช 2431 ไปมากกว่าสิบราย
 
 
  พ.ศ.2432 นายแพทย์แมคเคน (Dr.James W. McKean) แพทย์มิชชั่นนารีชาวอเมริกันได้เดินทาง มาทำงานประจำที่โรงพยาบาล และในปี พ.ศ.2451 แพทย์มิชชั่นนารีผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค คือ นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ท (Dr.Edwin Charles Cort) ได้เดินทางมาประจำ ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ และนายแพทย์แมคเคนได้แยกไปสร้างนิคมโรคเรื้อนแมคเคน (McKean Leprosy Asylum) ที่บริเวณเกาะกลาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนซึ่งมีเป็น จำนวนมาก ในเวลานั้น นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ท หรือที่ชาวบ้านเรียกขานว่า "พ่อเลี้ยงคอร์ท" ได้ทำงาน พันธกิจการบำบัดรักษาโดยทุ่มเทกำลังสติปัญญากำลังกายอย่างสุดจิตสุดใจ จึงเป็นที่รักที่เคารพยกย่อง นับถือของชาวบ้านตลอดจนเจ้านายและข้าราชการในเขตภาคเหนือแถบนี้เป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีผู้มารับการ รักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากจนโรงพยาบาลมีสถานที่ไม่เพียงพอ
 
  เมื่อนายแพทย์ อี. ซี. คอร์ท เดินทางกลับไปพักผ่อนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านมีโอกาสได้ พบนางไซรัส แมคคอร์มิค (Mrs.Cyrus McCormick) มหาเศรษฐีนีในวงการอุตสาหกรรมและ เกษตรกรรม ซึ่งได้บริจาคเงินจำนวน 30,000 เหรียญสหรัฐ (เทียบเท่า 6-7 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปัจจุบัน) เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ท จึงก่อสร้าง โรงพยาบาลแห่งใหม่ขึ้นกลางผืนนาทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลแมคคอร์ มิคในปัจจุบัน และให้ชื่อโรงพยาบาลที่สร้างใหม่นี้ว่า "โรงพยาบาลแมคคอร์มิค" (McCormick Hospital) เพื่อเป็นเกียรติแก่นางไซรัส แมคคอร์มิค โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงอดิศรอุดม เดชเป็นผู้ทำพิธีวางศิลาหัวมุม (Corner Stone) เมื่อปี พ.ศ.2463 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี นับว่าเป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยที่สุด พรั่งพร้อมด้วยเวชภัณฑ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์จากสหรัฐ อเมริกา และเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ซึ่งมีจำนวนเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนได้ถึง 100 เตียง
 
  วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2467 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุน สงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย) พร้อมด้วยหม่อมสังวาล (สมเด็จพระศรีนครินทรา พระบรมราชชนนี) และพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ณ ตำแหน่งที่สร้างขึ้นใหม่ อันเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน
 
  ปี พ.ศ.2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้เสด็จฯ ประพาสจังหวัด เชียงใหม่และเสด็จฯ เยี่ยมโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
 
  ปี พ.ศ.2472 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้เสด็จฯ และทรงเปิดตึก ณ เชียงใหม่ ซึ่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยเจ้าแก้วนวรัฐผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้เป็นองค์ประธานบริจาคทรัพย์ในการสร้างเพื่อใช้เป็นอาคารตรวจ รักษาผู้ป่วยนอกในสมัยนั้น และในระยะเวลาใกล้เคียงกัน สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทราพระบรมราชเทวี พระ พันวสาอัยยิกาเจ้า) ได้เสด็จฯ ทรงเปิดตึกสูติกรรม ซึ่งได้บริจาคทรัพย์สร้างโดยหลวงอนุสารสุนทรและนางคำเที่ยง ชุติมา
 
 
   เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ทรง สำเร็จแพทยศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว พระองค์ได้เสด็จฯ มา ทรงงานแพทย์ที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิคเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2472 เยี่ยงแพทย์สามัญทั่วไป และพระองค์ได้ เสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ เพื่อเข้าร่วมพิธีถวายพระเพลิงสมเด็จฯ กรมพระยาภาณุพันธ์วรเดช โดยมีพระประสงค์ที่จะเสด็จฯ กลับมาทรงงานที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิคอีกภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจ แต่อย่างไรก็ตามพระองค์ไม่ได้เสด็จกลับมาทรง งานอีกเนื่องจากทรงประชวรและเสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2472 อันเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของ วงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย แม้ว่าระยะเวลาที่พระองค์ทรงงานที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิคนั้นจะเป็น เวลาสั้นๆ แต่ด้วยพระเมตตาคุณและพระกรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงอุทิศด้วยความเสียสละ ทรงดูแลวินิจฉัยและให้ การรักษาแก่ผู้เจ็บป่วยที่ทุกข์ยากอย่างไม่ถือพระองค์ รวมไปถึงญาติผู้ป่วย บุคลากรที่ร่วมงานและประชาชนทุกหมู่ เหล่าได้เป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจนยิ่ง และชาวล้านนาได้สำนึกในพระกรุณาธิคุณและพระเมตตาคุณและพร้อมใจกัน ทูลถวายพระสมัญญานามว่า "หมอเจ้าฟ้า"
 
   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกผู้ป่วยชื่อว่า "ตึกมหิดล" ในครั้งนั้นได้มีชาวล้านนาเป็นจำนวนมากได้ร่วมถวายทรัพย์โดยเสด็จฯ พระราชกุศลด้วยความสำนึกใน พระกรุณาธิคุณและพระเมตตาคุณอย่างล้นพ้นในองค์ "หมอเจ้าฟ้า" ซึ่งตึกมหิดลนี้ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตยทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ได้เสด็จฯ ทรงเปิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2484
 
   ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปี พ.ศ.2485 ถึง พ.ศ.2489 รัฐบาลไทยได้เข้าควบคุมกิจการของโรงพยาบาลแมคคอร์มิคและเปลี่ยนชื่อเป็น "โรง พยาบาลเสรีเริงฤทธิ์" ใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม เมื่อสงครามโลกสงบลง รัฐบาลไทยจึงส่งมอบโรงพยาบาลคืนให้กับคณะมิชชั่นนารีดำเนินการต่อไปเมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ.2489 และใช้ชื่อ "โรงพยาบาลแมคคอร์มิค" ดังเดิม
 
   ปี พ.ศ.2492 นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ท พร้อมทั้งครอบครัว ซึ่งได้ทำงานอยู่ในแผ่นดินล้านนาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ได้เกษียณอายุการทำงานและ เดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา คณะมิชชั่นนารีเพรสไบทีเรียนจึงมอบโรงพยาบาลแมคคอร์มิคและกิจการทั้งหมดให้แก่มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรใน ประเทศไทยเป็นผู้ดูแลต่อ นับแต่นั้นเป็นต้นมา โรงพยาบาลแมคคอร์มิคจึงอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของคนไทยมาจนปัจจุบัน
 
 
   ปี พ.ศ.2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรี นฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาและพระบรมราชานุญาตให้รื้อ "ตึก มหิดล" หลังเดิม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างตึกมหิดลหลังใหม่ขึ้นในตำแหน่งเดิม โดย พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ เป็นจำนวนหนึ่งล้านบาทเป็นทุนประเดิม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานทรัพย์จำนวนห้าพันบาทโดยเสด็จพระราชกุศล สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยา ณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์พระราชทานเงินจาก "ทุนการกุศลสมเด็จย่า" จำนวนเงิน หกแสนบาทและจาก "ทุนการกุศล ก.ว." จำนวนเงินสี่แสนบาทโดยเสด็จพระราชกุศล และยังทรง พระกรุณารับการก่อสร้างตึกมหิดลไว้ในพระอุปถัมภ์ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิด "ตึกมหิดล" หลังใหม่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2535
 
 
  โรงพยาบาลแมคคอร์มิค ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาและสร้างตึกผู้ป่วยพระพร ตึกอาคารตรวจผู้ป่วยเด็ก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มารับบริการ โดยปัจจุบันโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ได้รับอนุญาตให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไปและมีเตียงรองรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนจำนวน 400 เตียง