ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ

Royal Thai Naval Academy Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
204 โรงเรียนนายเรือ ถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10270

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ

โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ ตั้งอยู่เลขที่ 204 ถ.สุขุมวิท ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งทิศตะวันออกในอาณาบริเวณด้านทิศเหนือของ โรงเรียนนายเรือ ห่างจากอำเภอเมืองสมุทรปราการ ประมาณ ๒ กม. เริ่มครั้งแรกสร้างเมื่อ 15 มี.ค. 2497 และรับไว้ใช้ราชการเมื่อ 15 ธ.ค. 2498 เป็น รพ.ขนาด 30 เตียง ใช้ราชการมาจนถึง พ.ศ. 2544 อาคาร รพ.รร.นร. หลังเดิมมีสภาพทรุดโทรมมาก ทร.ได้ให้งบประมาณในการก่อสร้างอาคาร รพ. หลังใหม่ขึ้นโดยย้ายมาตั้งที่หน้าอาคารพักนายทหารโสด ( B.O.Q. ) ซึ่งงบประมาณในการก่อสร้างอาคาร รพ. หลังใหม่นี้ได้รับมาเป็นเงินจำนวน 23.492,300บาท และดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2544 แล้วเสร็จในวันที่ 23 พ.ค. 2545 รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง 1 ปี และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2545 โดยมี พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง ผบ.ทร. ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธี รพ.รร.นร. จึงเริ่มมาปฏิบัติงานที่อาคารหลังใหม่ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน
รพ.รร.นร. มีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อ รร.นร. สายงานด้านเทคนิค และการบรรจุกำลังพลอยู่ในความควบคุมของ กรมแพทย์ทหารเรือ
   
วิสัยทัศน์
  เป็นหน่วยแพทย์ทหาร ที่สนับสนุนการผลิตนักเรียนนายเรือ ให้มีสุขภาพและสมรรถภาพ เหมาะสมกับการเป็นนายทหารสัญญาบัตรมืออาชีพ
   
พันธกิจ 
1.ให้บริการทางการแพทย์แก่ นักเรียนนายเรือ เพื่อให้พร้อมในการเป็นนายทหารสัญญาบัตรที่มีสุขภาพและสมรรถภาพเหมาะสม
2.ให้บริการด้านสุขภาพแก่ กำลังพลกองทัพเรือและครอบครัว ประชาชนทั่วไป
3.ให้บริการด้านสุขาภิบาลและเวชกรรมป้องกันในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
4.สนับสนุนภารกิจของโรงเรียนนายเรือและกรมแพทย์ทหารเรือ

Facebook โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ

ตารางตรวจห้องตรวจโรค
 
วันที่ตรวจ 08.00-12.00 13.00-16.00
จันทร์ ตรวจโรคทั่วไป ตรวจโรคทั่วไป
อังคาร คลินิกเบาหวาน-ความดัน,ตรวจโรคทั่วไป ตรวจโรคทั่วไป
พุธ คลินิกเด็ก(หยอดวัคซีน),ตรวจโรคทั่วไป ชม.ออกกำลังกาย ประจำสัปดาห์
พฤหัส คลินิกเบาหวาน-ความดัน,ตรวจโรคทั่วไป ตรวจโรคทั่วไป
ศุกร์ ตรวจโรคทั่วไป ตรวจโรคทั่วไป
   
ตารางตรวจทันตกรรม
 
วันที่ตรวจ 08.30-11.00 13.00-16.00
จันทร์ ตรวจรักษา ฟันทั่วไป * นัดตรวจพิเศษ
อังคาร ตรวจรักษา ฟันทั่วไป * นัดตรวจพิเศษ
พุธ ตรวจรักษา ฟันทั่วไป * ชม.ออกกำลังกาย ประจำสัปดาห์
พฤหัส ตรวจรักษา ฟันทั่วไป * นัดตรวจพิเศษ
ศุกร์ ตรวจรักษา ฟันทั่วไป * นัดตรวจพิเศษ

หมายเลขโทรศัพท์ ในเวลาราชการ 0-2475-7430 นอกเวลาราชการ 0-2475-7433-4


หมายเลขโทรศัพท์์ภายใน รพ.รร.นร.
ผู้ติดต่อภายนอกสามารถหมุนเลขหมาย 0-2475-xxxx (หมายเลขภายใน ทร เช่น 53836 กด 0-2475-3836
 
แผนก
หมายเลขโทรศัพท์
ผอ.รพ.รร.นร.
53873
ทันตแพทย์
53856
ห้องจ่ายยานอก
0-2475-3836
 
53836
 
02-7563570 เฉพาะเวลาราชการ
 
ประชาสัมพันธ์
ในเวลาราชการ 0-2475-7430
 
นอกเวลาราชการ 0-2475-7433-4
 
ห้องพยาบาลเวร(นอกเวลาราชการ)
0-2475-7433-4
 
57434
 
ห้องเอกซเรย์
53822
 
ห้องทันตกรรม
53856
 
ห้องพยาธิวิทยา ตรวจเลือด
-
ตึกผู้ป่วย
57433
 
ห้องให้คำปรึกษา ตรวจสุขภาพประจำปีข้าราชการ ทร.
57432
 
ห้องเวชกรรมป้องกัน
57432
ห้องธุรการ
53959
 
ห้องนายทหารเวรตรวจการณ์ รพ.
57433
 
โทรสาร
0-2475-3836, 0-2475-7430
 การให้บริการในแต่ละห้อง ของ รพ.รร.นร.
 
 
1.งานตรวจรักษาโรคทั่วไป
 
  
       ให้บริการในวันและเวลาราชการ
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ทุกวันจันทร์ – ศุกร์
หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคพื้นฐานด้านอายุรเวชกรรม ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม และการตรวจสุขภาพทั่วไป
 
ทั้งนักเรียนนายเรือ กำลังพลประจำโรงเรียนนายเรือ ครอบครัวทหารเรือ และพลเรือนทั่วไป
 
2.งานตรวจรักษาโรคทันตกรรม
 
 
       ให้บริการในวันและเวลาราชการ
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ทุกวันจันทร์ – ศุกร์
หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
(เวลา ๐๘.๐๐- ๑๒.๐๐ น. ให้บริการผู้ป่วยใหม่
และเวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยตามนัดหมาย)
ให้บริการเกี่ยวกับการตรวจรักษาโรคทางทันตกรรม
ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน เอกซเรย์ฟัน ผ่าฟันคุด และรักษารากฟัน
รวมถึงการให้คำแนะนำทางทันตกรรมและการดูแลสุขภาพช่องปาก
 
ให้บริการทั้งนักเรียนนายเรือ กำลังพลประจำโรงเรียนนายเรือ ครอบครัวทหารเรือ และพลเรือนทั่วไป
 
3.งานกายภาพบำบัด
 
 
       ให้บริการในวันและเวลาราชการ
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ทุกวันจันทร์ – ศุกร์
หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ให้บริการเกี่ยวกับการตรวจประเมิน วินิจฉัย และรักษาทางกายภาพบำบัด อาการปวดหลัง ปวดบ่า หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กล้ามเนื้ออักเสบ ข้อแพลง ข้อเสื่อม ไหล่ติด นิ้วล็อค ปวดส้นเท้า อาการปวดจากการทำงาน ผู้ป่วยอัมพฤต อัมพาต และการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
(โดยผู้รับการรักษาต้องผ่านการตรวจประเมินจากแพทย์หรือมีคำสั่งการรักษาจากแพทย์ในขั้นต้นก่อน)
โรงพยาบาลมีเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ดังนี้
1. เครื่องอัลตร้าซาวด์
2. แผ่นประคบร้อน แผ่นประคบเย็น
3. เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
4. เครื่องดึงหลัง – คอ
5. อุปกรณ์ออกกำลังกาย ถุงทราย ดัมเบล
6. เครื่องออกกำลังกายข้อเข่า
7. หม้อพาราฟิน
 
ให้บริการทั้งนักเรียนนายเรือ กำลังพลประจำโรงเรียนนายเรือ ครอบครัวทหารเรือ และพลเรือนทั่วไป
 
4.งานแพทย์แผนไทย
 
 
       ให้บริการในวันและเวลาราชการ
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ทุกวันจันทร์ – ศุกร์
หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
(หมายเหตุ - นอกเวลาราชการยังไม่เปิดให้บริการ)
ลักษณะการให้บริการ
๑. นวดพร้อมประคบ เพื่อบำบัดรักษา/ฟื้นฟูโรค
๒. อบสมุนไพร เพื่อบำบัดรักษา/ฟื้นฟูโรค
สามารถติดต่อเพื่่อนัดหมายได้ที่
โทร.๐๒-๔๕๗๔๓๓ (ห้องแพทย์แผนไทย)
โทร.๐๒-๔๕๗๔๓๐ (ห้องเวชระเบียน)
(โดยผู้รับการรักษาต้องผ่านการตรวจประเมินจากแพทย์หรือมีคำสั่งการรักษาจากแพทย์ในขั้นต้นก่อน)
ให้บริการทั้งกำลังพลประจำโรงเรียนนายเรือ ครอบครัวทหารเรือ และพลเรือนทั่วไป
องค์ความรู้ในการรับบริการแพทย์แผนไทย
***โรคหรืออาการที่สามารถร่วมบำบัดรักษาด้วยการอบสมุนไพร***
- โรคภูมิแพ้
- โรคหอบหืด ในระยะที่ไม่รุนแรง
- อาการหวัด น้ำมูกไหล แต่ไม่มีการแห้งตันของน้ำมูก
- โรคที่ไม่ได้เป็นการเจ็บป่วยเฉพาะที่ หรือเป็นเฉพาะที่ แต่มีหลายตำแหน่ง เช่น อัมพาต ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- โรคหรืออาการบางอย่าง เช่น อาการยอก โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคเก๊าท์ อาจต้องใช้ การอบสมุนไพรร่วมกับการรักษาอื่นๆ ตามความเหมาะสม เช่น หัตถเวชกรรม ประคบสมุนไพร
- การส่งเสริมสุขภาพ และมารดาหลังคลอด
***ข้อห้ามในการนวดบำบัด/ฟื้นฟูโรค***
ในกรณีที่มีอาการเหล่านี้ ห้ามทำการนวดบำบัด/ฟื้นฟูโรค เพราะอาจเกิดอันตรายได้
- โรคติดเชื้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้มากกว่า ๓๘ องศาเซลเซียส ปวด บวม แดง ร้อน
- โรคผิวหนัง เพราะอาจทำให้เชื้อแพร่ออกไปบริเวณอื่น และแพร่มาสู่ผู้นวดได้
- บริเวณที่มีบาดแผลห้ามนวด เพราะอาจทำให้เกิดแผลซ้ำหรือแผลปริ - บริเวณที่เป็นมะเร็ง เพราะอาจทำให้มะเร็งแพร่ออกไป - บริเวณที่ผ่าตัดภายในระยะเวลา ๑ เดือน - บริเวณที่มีหลอดเลือดดำอักเสบ ( Deep Vain Thrombosis - DVT ) - โรคติดเชื้อเฉียบพลัน - กระดูกพรุนรุนแรง
***ข้อห้ามสำหรับการประคบสมุนไพร***
- ควรระวังผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน อัมพาต เด็ก ผู้สูงอายุ เนื่องจากการตอบสนองต่อความร้อนช้ากว่าปกติ อาจเป็นอันตรายจากความร้อนได้
- ไม่ประคบบริเวณที่มีการอักเสบหรือบวมในช่วง ๒๔ ชั่วโมง เพราะอาจบวมมากขึ้น ควรประคบด้วยความเย็นก่อน
***ข้อควรปฏิบัติก่อนการนวด*** - ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึง โรคประจำตัวหรือจุดที่มีปัญหา เช่น ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ หรือ โรคเบาหวาน
- ควรนวดหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนักอย่างน้อยประมาณ ๑ ชั่วโมง หรือหากเป็นอาหารว่าง เช่น กาแฟ ขนม หรือผลไม้เพียงเล็กน้อย ก็ควรงดอย่างน้อยประมาณ ๓๐ นาที
 
***ข้อควรระวัง***
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้สูงอายุและเด็ก
- โรคหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงโป่ง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดแข็ง ( Atherosclerosis ) เป็นต้น
- โรคความดันโลหิตสูง (Systolic pressure สูงกว่าหรือเท่ากับ ๑๖๐ มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ Diastolic pressure สูงกว่าหรือเท่ากับ ๑๐๐ มิลลิเมตรปรอท)
- เบาหวาน
- กระดูกพรุน
- มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด มีประวัติเลือดออกผิดปกติรวมทั้งกินยาละลายลิ่มเลือด
- ข้อหลวม/ข้อเคลื่อน/ข้อหลุด
- บริเวณที่มีการผ่าตัด ใส่เหล็ก หรือข้อเทียม
- บริเวณที่แผลหายยังไม่สนิทดี
- ผิวที่แตกง่าย
- บริเวณที่ปลูกถ่ายผิวหนัง