กระดูกของเด็กในวัยนี้จะแข็งแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอาหารเป็นสำคัญ เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายรวมถึงมวลกระดูก โดยเฉพาะปริมาณของแคลเซียมที่รับประทานเข้าไปมีความสำคัญมากต่อมวลกระดูกและการเจริญเติบโตของกระดูก
3 วิธีช่วยให้กระดูกแข็งแรง
การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงสามารถทำได้ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนอายุ 30 ปี เป็นการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด
1. ออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight Bearing Exercise) และแบบเพิ่มแรงต้านอย่างสม่ำเสมอ (Resistant Exercise) โดยใช้เท้าและขา หรือมือและแขน ในการรับน้ำหนักของตัวเอง เช่น การเต้นแอโรบิก ฟุตบอล บาสเกตบอล แบดมินตัน วิ่ง หรือการเดิน
2. การได้รับปริมาณแคลเซียมอย่างเพียงพอและเหมาะสม ตามคำแนะนำของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2564 มีดังนี้
• สำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และหญิงวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
• ไม่แนะนำให้รับประทานแคลเซียมมากกว่า 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งรวมทั้งแคลเซียมจากอาหารและแคลเซียมเสริม สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัตินิ่วในไต ควรได้รับการประเมินสาเหตุของการเกิดนิ่ว ส่วนประกอบของนิ่วก่อนให้แคลเซียมเสริม
3. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ หรือแอลกอฮอล์ ที่มีผลให้มวลกระดูกลดลง
ในกรณีที่สงสัยว่ากระดูกสันหลังของคุณเกิดการยุบตัวจากภาวะกระดูกพรุน สามารถตรวจได้ด้วยการทำ X-ray ร่วมกับ MRI จะช่วยให้การวินิจฉัยภาวะผิดปกตินี้ได้ สามารถเข้ามาปรึกษาที่ โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท เพื่อแพทย์จะได้ทำการวินิจฉัยได้อย่างตรงจุด
โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ปรึกษา โทร 02-0340808