ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผลงานเด็กไทยคว้ารางวัล James Dyson Award 2566 O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล

ผลงานเด็กไทยคว้ารางวัล James Dyson Award 2566 O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล Thumb HealthServ.net
ผลงานเด็กไทยคว้ารางวัล James Dyson Award 2566 O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ThumbMobile HealthServ.net

O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ผลงานเด็กไทย คว้ารางวัล James Dyson Award ประจำปี 2566 เป็นตัวแทนประเทศไทยไปเวทีโลก

ผลงานเด็กไทยคว้ารางวัล James Dyson Award 2566 O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล HealthServ
 O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายและผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ผลงานของนักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คว้ารางวัลชนะเลิศประจำปี 2566 เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขัน James Dyson Award ในระดับนานาชาติต่อไป
 

จากสถิติเมื่อเดือนมกราคม ปี 2566 ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบมากขึ้นเป็น 92% ในขณะที่การผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศลดลงเหลือ 8% ส่งผลให้ราคาเชื้อเพลิงภายในประเทศผันผวนตามราคาโลก
เกษตรกรภายในประเทศไทยประสบปัญหาเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับการเกษตรมีราคาแพง ส่งผลให้ราคาของสินค้าเกษตรสูงขึ้นตามต้นทุนด้วย
 
ผลงานของทีมผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ประจำปี 2566 มุ่งเน้นไปที่การช่วยลดผลกระทบจากปัญหาราคาเชื้อเพลิงสูง ที่ส่งผลโดยตรงต่อเกษตรกรชาวไทย O-GA เป็นผลงานจากทีมนักศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ได้ริเริ่มโครงการเพื่อพัฒนาทางเลือกด้านพลังงานให้เกษตรกรชาวไทย โดยเครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายและผลิตน้ำมันไบโอดีเซลภายใต้ชื่อ O-GA จะเป็นโซลูชันที่นำเสนอเชื้อเพลิงในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ให้แก่ชุมชนที่ห่างไกลในประเทศไทย
 
 
 
 
ผลงานเด็กไทยคว้ารางวัล James Dyson Award 2566 O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล HealthServ
 
 O-GA (โอก้า) คือชื่อของเครื่องจักรแบบ All-In-One ที่ทำหน้าที่เพาะเลี้ยงสาหร่าย สกัดสาหร่ายเป็นน้ำมันไบโอดีเซล และเป็นเครื่องจ่ายน้ำมันแก่ผู้ใช้ ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากการนำหัวเชื้อสาหร่ายไปเพาะเลี้ยงในหลอดเลี้ยงเป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อสาหร่ายเติบโตและเพิ่มปริมาณจนมีจำนวนมากเพียงพอแล้วสาหร่ายจะถูกนำไปเข้าสู่ระบบการสกัดและกระบวนการทางเคมีเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล หลังจากนั้นน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้จะถูกเก็บในถังเก็บและแจกจ่ายแก่ผู้ใช้ผ่านหัวจ่ายต่อไป
 
 
 
 
ทีมผู้ออกแบบ O-GA ประกอบด้วยนักศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 4 คนโดยจุดมุ่งหมายของนักออกแบบรุ่นใหม่เหล่านี้คือการนำความรู้ด้านการออกแบบมาช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรชาวไทยให้สามารถเข้าถึงเชื้อเพลิงในราคาที่สามารถจับต้องได้ เป็นการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมภายในประเทศอย่างยั่งยืน
 
สรวิศ อุปฌาย์ หนึ่งในสมาชิกทีมผู้ออกแบบ O-GA กล่าวว่า “เราดีใจมากที่ผลงานในห้องเรียนของทีมเราได้รับรางวัลชนะเลิศ และสามารถนำเสนอในระดับนานาชาติได้ ทำให้เห็นว่าคนไทยก็มีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ไม่แพ้ใคร”
 
 
 
ทีมผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ James Dyson Award ระดับชาติจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 220,000 บาทเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาผลงานต่อไป สรวิศ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงแผนการพัฒนาผลงานด้วยว่า “พวกเราจะนำรางวัลที่ได้ไปต่อยอดผลงาน โดยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมและชีววิทยา เพื่อพัฒนาให้ O-GA เป็นทางเลือกพลังงานใหม่สำหรับเกษตรกรไทยที่สามารถใช้ได้จริง”
 
 
 
โดยหลังจากได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับประเทศแล้ว O-GA จะเป็นตัวแทนจากประเทศไทยในการประกวดรางวัล James Dyson Award ในระดับนานาชาติซึ่งจะประกาศผู้เข้ารอบภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2566 นี้
 
 
 

รางวัลรองชนะเลิศ James Dyson Award ประเทศไทย Radiostent

 
 
ที่มาและปัญหา: การรักษาเนื้องอกในสมองเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล ผนวกกับการที่โรงพยาบาลในประเทศไทยยังขาดแคลนอุปกรณ์การรักษาโรคเนื้องอกในสมองอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมองที่รับการรักษาด้วยวิธีการเคมีบำบัดต้องเดินทางเข้ามาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครเพื่อรับการรักษา ส่งผลให้นวัตกรรมที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้นจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในวงการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย
 
 
 
โซลูชัน: Radiostent เป็นนวัตกรรมที่ผสานรวมการรักษาเนื้องอกด้วยการฝังแร่กัมมันตรังสีแบบดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีการใส่ขดลวดในเส้นเลือด ซึ่งเป็นการรักษาทางเลือกที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเปิดแผลขนาดใหญ่ นอกจากนั้นการฝังตัว Radiostent ในบริเวณเนื้องอกทำให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามารับการรักษาเคมีบำบัดบ่อยครั้ง อีกทั้งการรักษาเนื้องอกด้วย Radiostent จะเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาแบบเคมีบำบัดอีกด้วย
 
 
 
 

James Dyson Award

 
รางวัล James Dyson Award เป็นหนึ่งในความุ่งมั่นของเซอร์เจมส์ ไดสัน ในการแสดงให้เห็นถึงพลังของวิศวกรรมที่สามารถเปลี่ยนโลกได้ โครงการต่าง ๆ ของเซอร์เจมส์ ไดสัน ได้แก่ สถาบันวิศวกรรมและเทคโนโลยีของ Dyson, มูลนิธิ James Dyson Foundation, และการประกวด James Dyson Award ที่สนับสนุนให้วิศวกรใช้ความรู้ในการค้นหาหนทางที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นผ่านเทคโนโลยี ปัจจุบันเจมส์ ไดสันได้มอบเงินทุนกว่า 140 ล้านปอนด์แก่การศึกษาในคอนเซปต์ที่แปลกใหม่รวมไปถึงโครงการด้านการกุศลอื่น ๆ
 
James Dyson Award ที่ดำเนินงานโดยมูลนิธิ James Dyson Foundation ได้สนับสนุนเงินรางวัลแก่สิ่งประดิษฐ์กว่า 300 โครงการ โดยมูลนิธิมุ่งเน้นสนับสนุนการศึกษาด้านวิศวกรรม ดำเนินงานด้วยเงินสนับสนุนจาก Dyson
 
 
 
 

มูลนิธิ James Dyson Foundation

 
รางวัล James Dyson Award คือการแข่งขันด้านการออกแบบระดับนานาชาติประจำปีที่เปิดรับนักศึกษาหรือศิษย์เก่าด้านการออกแบบและวิศวกรรมมาร่วมแข่งขัน นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในปีพ.ศ. 2548 รางวัลดังกล่าวได้ให้ทุนสนับสนุนการประดิษฐ์เชิงพาณิชย์แก่สิ่งประดิษฐ์กว่า 300 รายการ โดยรางวัล James Dyson Award อยู่ภายใต้มูลนิธิ James Dyson ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลในระดับนานาชาติจากผลกำไรของ Dyson ที่มุ่งมั่นสนับสนุนวิศวกรรมศาสตร์และการศึกษา
 
โดยพันธกิจหลักของมูลนิธิคือการส่งเสริมวิศวกรและนักแก้ปัญหารุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่นให้นำความรู้ความสามารถ รวมถึงคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ปัจจุบัน James และมูลนิธิ James Dyson ได้บริจาคเงินกว่า 140 ล้านปอนด์ให้แก่แนวคิดใหม่ๆ ในด้านการศึกษาและการกุศลอื่นๆ รวมไปถึงการสนับสนุนเงินถึง 12 ล้านปอนด์ให้แก่ Imperial College London เพื่อก่อตั้ง Dyson School of Design Engineering และเงินจำนวน 8 ล้านปอนด์ ให้แก่ Cambridge University เพื่อก่อตั้ง Dyson Centre for Engineering Design และตึก James Dyson
 
นอกจากที่มูลนิธิ James Dyson จะมีการสอนด้านสะเต็มศึกษา (STEM Education) โดยวิศวกรของ Dyson แล้วยังเป็นแหล่งข้อมูลด้านการศึกษาฟรีอีกด้วย ซึ่งรวมถึงการเปิดตัว Engineering Solutions: Air Pollution ล่าสุดที่แนะนำให้คนหนุ่มสาวเรียนรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศและบทบาทของวิศวกรรมในการหาแนวทางแก้ไข
 
นอกจากนี้ มูลนิธิยังสนับสนุนงานวิจัยทางการแพทย์และชุมชนท้องถิ่นในเมือง Malmesbury ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงาน Dyson ในสหราชอาณาจักรอีกด้วย มูลนิธิเริ่มก่อตั้งศูนย์มะเร็ง Dyson Cancer Centre ณ โรงพยาบาล Royal United ในเมือง Bath พร้อมให้การสนับสนุนด็อกเตอร์ Claire Durrant ในฐานะ Race Against Dementia Dyson Fellow ในการเร่งหาวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่ดีกว่าอย่างต่อเนื่อง
 
 

 
ผลงานเด็กไทยคว้ารางวัล James Dyson Award 2566 O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล HealthServ
 

ผู้ชนะในปีที่ผ่านมา

 
รางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติ 2022 – SmartHeal (โปแลนด์)
เซนเซอร์อัจฉริยะที่สามารถตรวจค่า pH ติดตั้งอยู่ในผ้าปิดแผล เพื่อตรวจสภาพแผลโดยไม่จำเป็นต้องลอกออก ช่วยลดอัตราการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณแผล
 
รางวัลชนะเลิศด้านความยั่งยืน 2022 – Polyformer (แคนาดา)
เครื่องจักรที่เปลี่ยนขวดพลาสติกให้กลายเป็นวัสดุสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ ทำให้นักประดิษฐ์ในประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงวัสดุสำหรับเครื่องพิมพ์ได้
 
รางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติ 2021 – HOPES (สิงคโปร์)
เครื่องมือตรวจแรงดันในลูกตาที่สามารถช่วยตรวจโรคต้อหินที่สามารถทำได้ที่บ้านและไม่เจ็บปวด, ผลงานโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS)
 
รางวัลชนะเลิศด้านความยั่งยืน 2021 – Plastic Scanner (เนเธอร์แลนด์)
เครื่องมือราคาย่อมเยา ที่สามารถตรวจสอบชนิดของพลาสติกเพื่อการรีไซเคิล, ผลงานโดย Jerry de Vos จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Delft (TU Delft)
 
รางวัลชนะเลิศด้านการแพทย์ 2021 – REACT (สหราชอาณาจักร)
เครื่องมือที่ช่วยหยุดการไหลของเลือดเพื่อช่วยเหยื่อจากการถูกแทง, ผลงานโดย Joseph Bentley จากมหาวิทยาลัยลัฟบะระ (Loughborough university)






 

เกี่ยวกับการประกวด

 
โจทย์
 
ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยปัญหานี้อาจเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันหรือเป็นปัญหาระดับโลกก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือวิธีการแก้ปัญหาต้องมีประสิทธิภาพและแสดงให้เห็นถึงการคิดเชิงออกแบบ
 
ขั้นตอนการตัดสิน
 
ผู้เข้าประกวดจะถูกคัดเลือกในระดับประเทศโดยคณะกรรมการอิสระและวิศวกรจาก Dyson โดยในแต่ละประเทศจะเฟ้นหาตัวแทนเพื่อหาผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งและรองชนะเลิศสองอันดับ จากนั้นวิศวกรจาก Dyson จะทำการคัดเลือก 20 ผู้เข้ารอบในระดับประเทศเพื่อทำการคัดเลือกต่อไปในระดับนานาชาติ ซึ่งผลงานจากผู้เข้ารอบทั้ง 20 โครงการจะได้รับการพิจารณาโดย James Dyson เพื่อคัดเลือกหาผู้ชนะในระดับนานาชาติต่อไป
 
รางวัล
 
รางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติ คัดเลือกโดย James Dyson รับเงินรางวัลสูงสุดมูลค่า 1,330,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศระดับนานาชาติ รับเงินรางวัลมูลค่า 222,000 บาท
รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ รับเงินรางวัลมูลค่า 222,000 บาท
การเข้าร่วม
 
ผู้สนใจสามารถยื่นใบสมัครเข้าร่วมการแข่งขันผ่านทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของรางวัล James Dyson
 
โดยผู้สมัครจะต้องอธิบายเกี่ยวกับนวัตกรรม รวมถึงกลไลการทำงาน และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ ซึ่งผู้สมัครที่สามารถแสดงให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน รวมถึงมีหลักฐานการทดลองผลิตสินค้าต้นแบบผ่านรูปภาพหรือวิดีโอ นอกจากนี้คณะกรรมการจะพิจารณาเป็นกรณีไปหากมีข้อจำกัดในการทดลองสินค้าต้นแบบระหว่างขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื่องจากวิกฤตการณ์โควิด-19
 
เกณฑ์การรับสมัคร
 
ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติเป็นนักศึกษาหรือบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 4 ปีที่กำลังศึกษาอยู่หรือเคยศึกษาอย่างน้อยหนึ่งภาคเรียนในคณะวิศวกรรมและคณะด้านการออกแบบจากมหาวิทยาลัยในประเทศหรือในภูมิภาคที่ผู้สมัครเลือกเข้าร่วมประกวด
ผลงานเด็กไทยคว้ารางวัล James Dyson Award 2566 O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด