10 พฤศจิกายน 2566 กำหนดการแถลงความชัดเจนและข้อสรุปนโยบายเงินดิจิทัล โดยนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน นโยบายเรือธงของรัฐบาลที่ประชาชนเฝ้ารอ โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 50 ล้านคน ใช้งบประมาณ 6 แสนล้านบาท ในระยะเวลา 4 ปี
นายกฯ เศรษฐา กล่าวถึงที่มาของโครงการเงินดิจิทัลว่า จากเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ผ่านมาหลายปี เติบโตน้อยเพียง 1.9% ต่อปีเท่านั้น ต่ำกว่าเพื่อนบ้าน ความเหลื่อมล้ำหลังการฟื้นตัวจากโควิด สูงขึ้นและรุนแรง คนรวยและคนระดับล่าง มีความต่างกันหลายเท่า
นายกฯ เศรษฐา ย้ำว่า นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 ไม่ใช่เงินสงเคราะห์แต่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขอให้ประชาชนร่วมกันใช้จ่าย ร่วมสร้างการเติบโตและมั่นคงทางเศรษฐกิจ
เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัล
- กำหนดระยะเวลาใช้จ่ายเวลา 6 เดือน
- ครอลคลุมการใช้จ่ายระดับอำเภอ เดียวกันกับบัตรประชาชน
- จ่ายเงินแบบตัวต่อตัว (face to face)
- ยึดตามบัตรประชาชน
- เงินที่เข้าอยู่ในระบบจะใช้ได้จนถึง เมษายน ปี 2570
- หากไม่ใช้สิทธิ์ ส่วนที่เหลือจะยกเลิกอัตโนมัติ
สินค้าที่ใช้เงินดิจิทัล "ซื้อได้"
- สินค้า อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคและบริโภคได้เท่านั้น
สินค้าที่ใช้เงินดิจิทัล "ซื้อไม่ได้"
- ไม่สามารถใช้บริการได้
- ไม่สามารถใช้ซื้อสินค้าออนไลน์
- ไม่สามารถใช้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ไม่สามารถใช้ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม
- ไม่สามารถใช้ซื้อผลิตภัณฑ์จากกัญชาและพืชกระท่อม
- ไม่สามารถนำไปซื้อบัตรกำนัล
- ไม่สามารถใช้ซื้อบัตรเงินสด
- ไม่สามารถใช้ซื้อทองคำ เพชร พลอย อัญมณี
- ไม่สามารถนำไปชำระหนี้ไม่ได้
- ไม่สามารถจ่ายค่าเรียน ค่าเทอมได้
- ไม่สามารถนำไปจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
- ไม่สามารถซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติได้
- แลกเป็นเงินสดไม่ได้
- แลกเปลี่ยนในตลาดต่างๆ ไม่ได้
ประเภทร้านค้า
- ได้ทุกร้านค้า ไม่จำกัดเฉพาะระบบภาษี ไม่จำเป็นต้องจดแวต ร้านค้า รถเข็น โชว์ห่วย ร้านค้าบนแอปเป๋าตัง ใช้ได้หมด
- ร้านค้าต้องลงทะเบียนรับสิทธิ์
- ร้านค้าขึ้นเงินได้ ต้องอยู่ในระบบภาษีเท่านั้น
- การใช้สอยต้องเริ่มจากชุมชนก่อนเสมอ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมจากรากฐาน
- สามารถรวมเงินในครัวเรือนได้ สามารถสั่งผลิตสินค้ากับโรงงานได้
ต่อประเด็นความกังวลว่าโครงการเงินดิจิทัลนี้จะทำให้เกิดเงินเฟ้อนั้น นายกฯ ระบุว่า ประเทศไทย มีระดับอัตราเงินเฟ้อต่ำ จึงไม่ส่งผลต่อเงินเฟ้อแน่นอน
เงื่อนไขผู้ได้รับสิทธิ์เงินดิจิทัล
คนไทยอายุ 16 ปีขึ้น
ให้สิทธิ์เฉพาะ ผู้ที่มีเงินเดือนไม่ถึง 70,000 บาท และ มีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันไม่เกิน 5 แสนบาท แปลว่า
ถ้า มีเงินเดือนเกิน 7 หมื่น ไม่ได้รับสิทธิ์ (แม้เงินฝากไม่เกิน 5 แสนก็ตาม)
ถ้า มีฝากเงินเกิน 5 แสน ไม่ได้รับสิทธิ์ (แม้จะมีเงินเดือนไม่เกิน 7 หมื่นก็ตาม)
ที่มาของเงิน
วงเงินโครงการ 6 แสนล้าน แบ่งเป็น ดิจิทัลวอลเล็ต 5 แสนล้าน และ กองทุนเสริมสร้างการแข่งขันอีก 1 แสนล้าน เพื่อสร้างเสริมลงทุนให้เกิดการอุตสาหกรรมใหม่ (s-curve) ของประเทศ หวังดึงอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่เข้าสู่ประเทศ ดึงดูดบริษัทต่างชาติขนาดใหม่มาลงทุนให้มาก
เงินดิจิทัลนี้
- เป็นเงินมาจากเงินบาท มูลค่าเป็นเงินบาท
- ไม่ได้เขียนโปรแกรมสร้างเหรียญ หรือนำเงินไปซื้อเหรืยญ
- ไม่มีการเทรดบนตลาดกลางแลกเปลี่ยนใดๆ
วิธีการใช้เงิน
- ใช้งานต่อยอดจากระบบเป๋าตังเดิม เนื่องจากมีความพร้อมด้วยระบบเดิมอยู่แล้ว
- กระทรวงการคลังมีความคุ้นเคยในการจัดการ
- จะมีการนำระบบบล็อกเชนมาเพิ่มเติมด้านหลังบ้าน เพื่อเสริมความถูกต้อง ลดการทุจริต
เริ่มเมื่อไหร่ ไทม์ไลน์เป็นอย่างไร
- จะต้องตีความโดยกฤษฎีกา และกระบวนกฏหมาย ปลายปี 2566
- เข้าสู่สภาต้นปี 2567
- จัดเตรียมงบประมาณ และเปิดให้ใช้ พฤษภาคม 2567
- ก่อนหน้านั้นจะมี โครงการ e-refund ตั้งแต่มกราคม 2567
- โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถ เริ่ม มิถุนายน 2567
โครงการเงินดิจิทัลนี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฏหมาย และได้รับมติ ของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเข้า คณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติ อย่างชัดเจน และมีผลบังคับใช้ต่อไป