ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กองทุนประกันตนคนต่างด้าว

มาตรการและแนวทางการดำเนินงานตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าว
กระทรวงสาธารณสุข ปี 2556

ตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข

เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าว หลบหนี เข้าเมือง (สัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา) ลงวันที่ มีนาคม 2556 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการให้การดูแลทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่คนต่างด้าวที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม และผู้ติดตามทั้งหมด จึงได้ออกมาตรการและแนวทางการดำเนินงาน เรื่องการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าว ของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2556 ดังนี้

1. ด้านนโยบาย

กระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจในการดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว
และกัมพูชา โดย
 
1) คนต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา ทุกคนต้องมีหลักประกันตนด้านสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่งคือ ประกันสังคมหรือประกันสุขภาพ
 
2) คนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม รวมทั้งบุตรที่มีอายุไม่เกิน15 ปี
และผู้ติดตามทุกคนต้องตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข
 
3) คนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่อยู่ระหว่างรอสิทธิ์ประกันสังคมทุกคน ต้องตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

2. แนวทางการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจในดำเนินการเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ โดยมีกิจกรรมสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่
(1) การตรวจสุขภาพประจำปี
(2) บริการด้านการรักษาพยาบาล
(3) บริการส่งเสริมสุขภาพและการควบคุมป้องกันโรค
(4) การเฝ้าระวังโรค 

3. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายเป็นคนต่างด้าว ที่ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพประกอบด้วย
(1) คนต่างด้าวที่อยู่ในระบบประกันสังคม
(2) คนต่างด้าวที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม เป็นกลุ่มคนต่างด้าวในกิจการประมง กิจการเกษตรและปศุสัตว์ กิจการก่อสร้าง กิจการต่อเนื่องประมงทะเล ผู้รับใช้ในบ้าน และกิจการอื่นๆ ที่จังหวัดเสนอตามที่จำเป็น และคณะกรรมการบริหารคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเห็นชอบซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 พฤษภาคม 2552
(3) กลุ่มคนต่างด้าวนอกเหนือจาก ข้อ (1) และ (2) เช่น บุตรคนต่างด้าวที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี และผู้ติดตาม

4. หลักเกณฑ์การดำเนินงานทั่วไป

4.1 ให้ดำเนินการทั้งการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ
4.2 ระยะเวลาดำเนินงาน
การตรวจสุขภาพ มีระยะดำเนินงาน ดังนี้
(1) การตรวจสุขภาพให้ดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2555 เป็นต้นไป
(2) ใบรับรองแพทย์ มีอายุ 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ตรวจสุขภาพ

การประกันสุขภาพ ให้ดำเนินการตามแนวทางการดำเนินงานประกันสุขภาพที่กำหนด การประกันสุขภาพมีอายุคุ้มครอง 12 เดือน หรือ 3 เดือน นับจากวันที่ซื้อประกันสุขภาพ
 
4.3 อัตราค่าตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ
(1) คนต่างด้าวที่รอเข้าระบบประกันสังคม 1,047 บาท
- ค่าตรวจสุขภาพ คนละ 600 บาท
- ค่าประกันสุขภาพ คนละ 447 บาท (มีอายุคุ้มครอง 3 เดือน นับจากวันที่ซื้อประกันสุขภาพ)

(2) คนต่างด้าวที่ไม่ได้เข้าในระบบประกันสังคม และผู้ติดตาม 1,900 บาท
- ค่าตรวจสุขภาพ คนละ 600 บาท
- ค่าประกันสุขภาพ คนละ 1,300 บาท

(3) เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี (เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายนายกรัฐมนตรีเรื่องการดูแลเด็ก)
- ค่าประกันสุขภาพ คนละ 365 บาท
 
4.4 สถานพยาบาลที่ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ
ให้ดำเนินการโดยสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลเอกชน โดยสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าว ต้องเป็นสถานพยาบาลคู่สัญญาหลักที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับพื้นที่ในการดำเนินการโครงการให้เป็นไปตามเขตการแบ่งพื้นที่ตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยในส่วนภูมิภาคให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้กำหนด สำหรับกรุงเทพมหานคร
ให้กรมการแพทย์กำหนด ทั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและกรมการแพทย์อาจปรับเปลี่ยนได้ตามกำหนดความเหมาะสม โดย
 
1) ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ ณ สถานพยาบาลแห่งเดียวกันและอยู่ในพื้นที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตทำงานเท่า นั้น ยกเว้น คนต่างด้าวประเภทกิจการประมงทะเล ให้ดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ
โดยสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าวที่ใด ก็ได้ ในเขต 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล และคนต่างด้าว ประเภทกิจการก่อสร้างให้ดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ โดยสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าวในจังหวัดที่กรมการจัดหางาน/จัดหางานจังหวัดกำหนดให้ทำงาน เท่านั้น
 
2) ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ ณ สถานพยาบาลแห่งเดียวกันและอยู่ในพื้นที่จังหวัดที่นายจ้างเท่านั้น
กรณี กลุ่มที่ผ่านการตรวจสุขภาพจากจังหวัดหนึ่งแล้วเปลี่ยนนายจ้าง/ย้ายจังหวัด แต่ใบรับรองแพทย์ยังไม่หมดอายุไม่ต้องตรวจสุขภาพใหม่ให้ใช้ใบรับรองแพทย์จากจังหวัดเดิมได้ แต่ถ้าใบรับรองแพทย์หมดอายุให้ตรวจสุขภาพใหม่
 
4.5 แบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ให้ใช้ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
สำหรับการตรวจสุขภาพคนต่างด้าวเท่านั้น และให้มีการจัดทำรายงานผลการตรวจสุขภาพให้กระทรวงสาธารณสุขต่อไป
 
4.6 รายการที่คนต่างด้าว ต้องนำมาประกอบการตรวจสุขภาพ มีดังนี้
(1) หนังสือเดินทาง(Passport) หรือหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก กรณีไม่มีหลักฐานการพิสูจน์สัญชาติให้จัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการระบุตัวบุคคล เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ ภาพถ่าย เป็นต้น
(2) ค่าตรวจสุขภาพ จำนวน 600 บาท
(3) ค่าประกันสุขภาพ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
 
4.7 ให้สถานพยาบาลปิดประกาศประชาสัมพันธ์
ให้ทราบว่าเป็นสถานที่ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าวและจัดระบบการตรวจสุขภาพร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนายจ้างสถานประกอบการที่มี่คนต่างด้าว และเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ บุคลากร อุปกรณ์
และเวชภัณฑ์ต่างๆให้พร้อมและอานวยการให้การดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าวเป็นไปด้วย ความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน
 
4.8 การตรวจสุขภาพต้องดำเนินการให้เสร็จภายในวันนั้น (ใบรับรองแพทย์มีอายุ 60 วันนับตั้งแต่วันที่ตรวจสุขภาพ) หลังจากคนต่างด้าวตรวจสุขภาพเสร็จให้สถานพยาบาลแจ้งวันมารับผลการตรวจสุขภาพ (ใบรับรองแพทย์) กับคนต่างด้าว ภายใน 3 วันทาการนับถัดจากวันที่ตรวจสุขภาพ
 
4.9 ให้สถานพยาบาลส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ
ค่าบริหารจัดการ ค่าบริการทางการแพทย์กรณีค่าใช้จ่ายสูงและค่าส่งเสริมป้องกันโรค ทุกสิ้นเดือน
ในเดือนที่คนต่างด้าวขึ้นทะเบียนตรวจสุขภาพ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งได้ในเดือนนั้นๆ ให้ส่งในเดือนถัดไป ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. แนวทางการตรวจสุขภาพคนต่างด้าว

5.1 การตรวจสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
โดยให้มีการตรวจสุขภาพและควบคุมมาตรฐานการตรวจสุขภาพ รวมการตรวจรักษาโรค ที่ควบคุมให้ครบวงจร ดังนี้
 
(1) เอกซเรย์ปอด (ฟิล์มใหญ่) ทุกคน หากผลการเอกซเรย์สงสัยว่าเป็นวัณโรคให้ตรวจเสมหะยืนยัน
 
(2) เจาะโลหิตหาเชื้อซิฟิลิส เชื้อพยาธิโรคเท้าช้าง (ไมโครฟิลาเรีย) การตรวจพบเชื้อทั้ง 2 โรคยังไม่ถือว่าเป็นโรคต้องห้ามทำงาน จัดอยู่ในประเภทที่ 2 ให้ติดตามรักษาแต่หากมีอาการเป็นโรคซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือมีอาการโรคเท้าช้างเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม ให้จัดอยู่ในประเภทที่ 3
 
(3) เก็บปัสสาวะตรวจหาสารแอมเฟตามีนทุกคน (Screening Test) หากได้ผลบวกให้จัดไว้ในประเภทที่ 3 ทั้ง นี้ การทา Screening Test เป็นการป้องปรามมิให้เสพยา การรับประทานยาไดเอทธิล คาร์บามาซีน (DEC)
เพื่อการควบคุมโรคเท้าช้าง หรือยาบางประเภท อาจมีผลต่อการตรวจปัสสาวะทาให้ False Positive ได้ (หากผลการตรวจ Positive ถ้าคนต่างด้าวมีความประสงค์จะตรวจยืนยันซ้าสามารถทาได้โดยให้รับผิดชอบค่า
ใช้จ่ายเอง)
 
(4) เพศหญิงต้องเก็บปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์และควรรู้ผลการตรวจสอบการตั้งครรภ์ก่อนเอ็กซเรย์
และก่อนรับประทานยาไดเอทธิลคาร์บามาซีน (DEC)
 
(5) ให้คนต่างด้าวสัญชาติพม่ารับประทานยาไดเอทธิลคาร์บามาซีน (DEC) 300 มิลลิกรัม(Single Dose) ทุกคน โดยรับประทานต่อหน้าและทาการเจาะโลหิตเพื่อหาเชื้อพยาธิโรคเท้าช้าง หลังรับประทานยา DEC
แล้วครึ่งชั่วโมง หากผลการตรวจพบเชื้อโรคพยาธิเท้าช้าง แต่ไม่ปรากฏอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคมให้จัดอยู่ในประเภทที่ 2 ให้การรักษาโดยใช้ยา DEC รับประทาน 300 มิลลิกรัม ครั้งเดียว และทุก 6 เดือนจนครบ 2
ปี และผลการตรวจเลือด 2 ครั้งสุดท้ายไม่พบเชื้อพยาธิโรคเท้าช้าง อนึ่ง สถานพยาบาลควรเก็บปัสสาวะตรวจก่อนดำเนินการตรวจรายการ อื่นๆ เนื่องจากหากให้คนต่างด้าวรับประทานยา DEC ก่อนเก็บปัสสาวะ ตรวจ อาจมีผลทาให้เกิด False Positive ในการทดสอบหาสารแอมเฟตามีน หรือหากเป็นผู้หญิงที่ไม่ทราบว่าตั้งครรภ์อาจมีผลต่อเด็กในครรภ์ได้
 
(6) การตรวจสภาวะโรคเรื้อน
หากพบผลการตรวจผิดปกติแต่ไม่มีอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม ให้ระบุเป็นประเภท 2 ให้ตรวจยืนยันและส่งรักษาตามระบบ โดยในส่วนภูมิภาคให้สถานพยาบาลที่ตรวจสุขภาพ เป็นผู้ติดตามการรักษาตามระบบ และแจ้งผลการรักษาให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทราบ ในกรุงเทพมหานครให้แจ้งสถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค เพื่อติดตามรักษา
 
(7) ให้รับประทานยาอัลเบนดาโซล 400 มิลลิกรัม ทุกราย เพื่อควบคุมโรคพยาธิลำไส้
 
(8) การตรวจร่างกายอื่นๆ ตามแต่ดุลพินิจของแพทย์ผู้ตรวจจะเห็นสมควร 
การตรวจสุขภาพเด็ก (แรกเกิด – 15 ปี) ให้มีการตรวจสุขภาพ บุตรคนต่างด้าว ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุไม่เกิน 15 ปี ดังนี้
(1) ตรวจร่างกายทั่วไป ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ และประเมินภาวะโภชนาการ
(2) ตรวจสุขภาพช่องปาก
(3) อื่นๆ ตามที่แพทย์เห็นสมควร
 
การรายงานผลการตรวจสุขภาพ
แพทย์จะต้องตรวจสอบข้อมูลในทะเบียนประวัติและในใบรับรองแพทย์ว่าตรงกันแล้วลงผลการตรวจ ลงชื่อ ประทับตราสถานพยาบาลบนเอกสารใบรับรองแพทย์ทั้งต้นฉบับและสำเนา โดยกำชับให้นายจ้าง/คนต่างด้าว ว่า ใบรับรองแพทย์ มีอายุ 60วัน ให้รีบดำเนินการนาไปขอใบอนุญาตทำงานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัด/กรมการจัดหา งานต่อไป
 
- กรณีผ่านการตรวจสุขภาพ (ผลการตรวจสุขภาพเป็นประเภท 1 หรือ 2)
กรณี ผ่านการตรวจสุขภาพ ให้สถานพยาบาลมอบใบรับรองแพทย์ที่ใส่ซองปิดผนึกและลงนามกำกับพร้อมประทับตราสถานพยาบาลแล้วมอบให้คนต่างด้าวไว้เป็นหลักฐานประกอบการขออนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางาน

ในส่วนภูมิภาคให้จัดส่งสาเนาผลการตรวจสุขภาพให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อการประเมิน
วิเคราะห์ แปรผล

ในกรุงเทพมหานครให้จัดส่งสาเนาผลการตรวจสุขภาพให้กับกรมการแพทย์เพื่อการประเมิน วิเคราะห์ แปรผล
 
- กรณีไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ (ผลการตรวจสุขภาพเป็นประเภท 3)
กรณีไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ ให้ดำเนินการเหมือนกรณีการผ่านการตรวจสุขภาพในส่วนภูมิภาคให้สถานพยาบาลส่งสาเนาผลการตรวจสุขภาพให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่หรือจังหวัดใกล้เคียง เพื่อดำเนินการควบคุมดูแลและให้สถานพยาบาลประสานการรักษาพยาบาลก่อนการผลักดันส่งกลับต่อไปด้วยในเขตกรุงเทพมหานครให้สถานพยาบาลส่งสำเนา ผลการตรวจสุขภาพไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 507 ซอยสวนพลู เขตสาธร กรุงเทพมหานคร 10120 เพื่อดำเนินการควบคุมดูแลและให้สถานพยาบาลประสานการรักษาพยาบาลก่อนการผลักดันส่งกลับต่อไปด้วย
 
5.2 การตรวจสุขภาพจำแนกผลการตรวจเป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ผู้ที่มีผลการตรวจสุขภาพปกติ
 
ประเภทที่ 2 ผู้ที่ผ่านการตรวจสุขภาพ แต่มีภาวะติดเชื้อหรือการเจ็บป่วยด้วยโรคที่จะต้องควบคุม ได้แก่ วัณโรค โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง ซิฟิลิส และโรคพยาธิลาไส้ ให้ทำการรักษาต่อเนื่อง
 
ประเภทที่ 3 ผู้ที่ไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ เนื่องจาก
(1) สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน โดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ หรือ

(2) เป็นโรคต้องห้ามมิให้ทำงาน คือ
     1) วัณโรคระยะร้ายแรง
     2) โรคเรื้อนในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
     3) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
     4) โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
     5) การติดสารเสพติดให้โทษ
     6) พิษสุราเรื้อรัง
     7) โรคจิต จิตฟั่นเฟือน หรือปัญญาอ่อน
 
โดยระบุไว้ในผลการตรวจเป็นประเภทที่ 3
ไม่สามารถอนุญาตให้ทำงานหรืออยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราวได้
 
กรณีผลการตรวจสุขภาพพบประเภท 2
ในกรุงเทพมหานคร
ให้แต่ละสถานพยาบาลที่ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพดูแลรักษาต่อเนื่องเองหรือดำเนินการตามที่กรมการแพทย์กำหนด

ในส่วนภูมิภาค
สถานพยาบาลที่ทาการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแต่ละจังหวัด ดูแลรักษาต่อเนื่องหรือจัดส่งให้สถานพยาบาลในเครือข่ายรับผิดชอบติดตามให้ การรักษาต่อ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและแนวทางของแต่ละจังหวัด
 
กรณีผลการตรวจสุขภาพพบประเภท 3
ให้ ประทับตรายางสีแดงว่า ต้องส่งกลับในใบรับรองแพทย์
  • ในเขตกรุงเทพมหานครให้ส่งสำเนาผลการตรวจสุขภาพไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 507 ซอยสวนพลู เขตสาธรกรุงเทพมหานคร 10120
  • ในส่วนภูมิภาคให้ส่งสำเนาผลการตรวจสุขภาพไปที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่หรือจังหวัดใกล้เคียงและสถานีตำรวจท้องที่นั้นๆ ดำเนินการควบคุมดูแลและให้สถานพยาบาลประสานการรักษาพยาบาล ก่อนการ ผลักดันส่งกลับ ต่อไป
 
5.3 การรายงานผลการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ
ให้สถานพยาบาลที่ตรวจสุขภาพทุกแห่งรายงานผลการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพและการเจ็บป่วย ทุกเดือน ตามระบบรายงานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยในส่วนภูมิภาคให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้ติดตามกำกับในกรุงเทพมหานครให้กรมการแพทย์เป็นผู้ติดตามกากับ ให้ครบถ้วน
 
5.4 การกรอกใบรับรองแพทย์
(1) เลขที่ ใช้เลขที่เวชระเบียนผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล (OPD Card)
 
(2) สถานที่ตรวจ พิมพ์ชื่อสถานพยาบาลในแบบฟอร์มหรือประทับตรา
 
(3) ทำบัตรประจำตัวผู้ป่วยนอก ระบุชื่อคนต่างด้าว อายุ และที่อยู่โดยตรวจสอบจากบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย/หนังสือเดินทาง(Passport)/หนังสือรับรองบุคคลจากประเทศต้นทางหรือหนังสือรับรองการพิสูจน์สัญชาติ

กรณีไม่มีหลักฐานการพิสูจน์สัญชาติให้จัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการระบุตัว บุคคล เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ ภาพถ่าย การตรวจจอม่านตา เป็นต้น
 
(4) สัญชาติและเชื้อชาติ
 
กรณีสัญชาติพม่า ให้ระบุด้วยว่ามีเชื้อชาติอะไร เช่น เชื้อชาติพม่า มอญ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ เป็นต้น
 
(5) ที่อยู่ของคนต่างด้าวในต่างประเทศ ให้ระบุชื่อเมือง
เพื่อผลทางด้านระบาดวิทยาและเส้นทางที่หลบหนีเข้าเมือง เช่น เมียวดี เกาะสอง ทวาย มะละแหม่ง เป็นต้น
 
(6) การสรุปผลการตรวจสุขภาพ
1) สุขภาพสมบูรณ์ดี หมายถึง ผลการตรวจเป็นประเภทที่ 1
2) ผ่านการตรวจสุขภาพ แต่ต้องติดตามรักษา หมายถึง ผลการตรวจเป็นประเภทที่ 2
3) ไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ หมายถึง ผลการตรวจเป็นประเภทที่ 3

6. แนวทางการดำเนินงานการประกันสุขภาพ

6.1 การเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพคนต่างด้าว

ให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพทุกคน ต้องชำระค่าประกันสุขภาพในอัตราคนละ
1,300 บาท โดยการประกันสุขภาพมีระยะเวลาคุ้มครอง 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่คนต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพ โดยคนต่างด้าวจะต้องร่วมจ่ายในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลครั้งละ 30 บาท ยกเว้น การเข้ารับบริการส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค และการเฝ้าระวังโรค ทั้งนี้ มีเป้าหมายหลักเพื่อให้มีการควบคุมป้องกันโรค

การรักษาพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบโดย
ก. อัตราการประกันสุขภาพ 1,300 บาท แบ่งเป็น
(1) ค่ารักษาพยาบาล 964 บาท จาแนกเป็น
- ผู้ป่วยนอก 499 บาท
- ผู้ป่วยใน 415 บาท
- ค่ารักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง 50 บาท

(2) ค่าบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 206 บาท
 
(3) ค่าบริหารจัดการ 130 บาท
 
ข. อัตราการประกันสุขภาพ 447 บาท(คนต่างด้าวที่อยู่ในระบบประกันสังคม)
แบ่งเป็น
(1) ค่ารักษาพยาบาล (ของ 3 เดือนแรกที่กองทุนประกันสังคมยังไม่ครอบคลุม) จำนวน 241 บาท จำแนกเป็น
- ผู้ป่วยนอก 125 บาท
- ผู้ป่วยใน 104 บาท
- ค่ารักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง 12 บาท
 
(2) ค่าบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 206 บาท
 
ค. อัตราการประกันสุขภาพ เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี 365 บาท
 
(1) ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 270.50 บาท จำแนกเป็น
- ผู้ป่วยนอก 140.00 บาท
- ผู้ป่วยใน 116.50 บาท
- ค่ารักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง 14.00 บาท
 
(2) ค่าบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 58.00 บาท
 
(3) ค่าบริหารจัดการ 36.50 บาท

6.2 สิทธิประโยชน์

6.2.1. ชุดสิทธิประโยชน์ ครอบคลุมการบริการทางการแพทย์ ต่อไปนี้

(1) การตรวจรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพทั่วไป
     1) การตรวจ วินิจฉัย บาบัดรักษาการคลอดบุตรรวมทั้งการดูแลทารกแรกเกิดตั้งแต่วันคลอดจนถึงอายุ 28 วันการฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษาตลอดจนการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะ
     2) การถอนฟัน (รวมถึงการผ่าหรือถอนฟันคุด) การอุดฟัน การขูดหินปูน
     3) บริการอาหารและห้องผู้ป่วยสามัญ
     4) ยาและเวชภัณฑ์ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ
     5) การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล
     6) การให้วัคซีนขั้นพื้นฐาน (ในเด็ก 0-15 ปี)
 
(2) การรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง
การรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูงตามเงื่อนไขค่าใช้จ่ายที่คณะกรรมการดำเนินงานประกันสุขภาพ ตรวจสุขภาพ และรักษาพยาบาลคนต่างด้าวส่วนกลางกำหนด
 
(3) กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน
กรณี อุบัติเหตุฉุกเฉินสามารถใช้บริการในสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนประกันตน โดยทั้งนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรมการแพทย์ อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมยกเว้นคนต่างด้าวในกิจการประมงทะเลให้ใช้บริการในสถานพยาบาลที่แต่ละจังหวัด กำหนดในจังหวัดชายฝั่งทะเล 22 จังหวัดและให้สถานพยาบาลที่ให้บริการเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียน โดยผู้ป่วยนอกให้สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนจ่ายตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินแนวทางการดำเนินงานที่กลุ่มประกันสุขภาพ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดสาหรับผู้ป่วยในให้จ่ายในอัตราตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
 
กรณีผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน เป็นความรับผิดชอบของนายจ้างตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
 
(4) การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล
กรณี ที่สถานพยาบาลที่คนต่างด้าวขึ้นทะเบียนประกันตนไว้ส่งต่อผู้ป่วย (คนต่างด้าว) ไปยังสถานพยาบาลแห่งอื่นเพื่อการรักษาพยาบาลจะต้องตามจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการส่งต่อ ผู้ป่วยไปรักษาพยาบาล

กรณีส่งต่อภายในจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ให้เป็นข้อตกลงของจังหวัด/กรุงเทพมหานครในการกำหนดอัตราการตามจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

หากการส่งต่อผู้ป่วยเป็นการส่งต่อออกนอกเขตพื้นที่จังหวัด/กรุงเทพมหานครโดยผู้ป่วยนอกให้สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนจ่ายตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินแนวทางการดำเนินงานที่กลุ่มประกันสุขภาพ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดสาหรับ ผู้ป่วยใน ให้จ่ายในอัตราตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมฉบับที่ ใช้อยู่ในปัจจุบัน และสถานพยาบาล ต้องทาหนังสือขออนุญาต พร้อมแนบรูปถ่ายคนต่างด้าว 2 ใบ ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทุกครั้ง

กรณีเป็นการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลแห่งอื่น ซึ่งไม่ได้ร่วมโครงการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าว เช่น โรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น การตามจ่าย
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น กรณี ผู้ป่วยนอก ให้สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนจ่ายตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
แต่ไม่เกินแนวทางการดำเนินงานที่กลุ่มประกันสุขภาพ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดสาหรับ ผู้ป่วยใน ให้จ่ายในอัตราตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
 
(5) การควบคุมป้องกันโรคในคนต่างด้าว
1) ให้คนต่างด้าวสัญชาติพม่ารับประทานยาไดเอทธิลคาร์บามาซีน(DEC) 300 มิลลิกรัม (Single Dose) ทุกคน โดยรับประทานต่อหน้า ในวันที่มารับการตรวจสุขภาพและทาการเจาะโลหิตเพื่อหาเชื้อพยาธิโรคเท้าช้าง หลังรับประทานยา DEC แล้วครึ่งชั่วโมง หากผลการตรวจพบเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างแต่ไม่ปรากฏอาการอันเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคมให้จัดอยู่ในประเภท 2 ให้การรักษาโดยใช้ยา DEC รับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัม (Single Dose) ทุก 6 เดือน จนครบ 2 ปี และผลการตรวจเลือด 2 ครั้งสุดท้าย ไม่พบเชื้อพยาธิโรคเท้าช้าง

2) การตรวจโรคเรื้อน หากผลการตรวจโรคเรื้อนพบผิดปกติ
แต่ไม่มีอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคมให้แยกเป็นประเภท 2 ให้ตรวจยืนยันและรักษาฟรี ในส่วนภูมิภาคให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้ติดตามรักษาตามระบบในกรุงเทพมหานครให้แจ้งสถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรคซึ่งมีระบบติดตามรักษาเอง

3) ให้รับประทานยาอัลเบนดาโซล 400 มิลลิกรัมทุกรายในการตรวจสุขภาพ เพื่อควบคุมโรคพยาธิลำไส้

(6) การเฝ้าระวังโรคในคนต่างด้าว
1) แจ้งให้คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอาเภอ (คปสอ.) (Cupboard) ทุกแห่ง เฝ้าระวังโรคคนต่างด้าวที่อพยพ หรือที่อยู่เป็นชุมชน โดยกำหนดกลุ่มรายงานเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่ม ที่ 1 กลุ่มคนงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในจังหวัด เช่น คนรับใช้ เกษตรกร คนงาน ประมง ผู้ลี้ภัย ที่ไม่มีใบต่างด้าว หรือบัตรประชาชนและมีหรือไม่มีที่อยู่แน่นอน

กลุ่มที่ 2 กลุ่มคนต่างด้าวที่เข้ามารับการรักษาในจังหวัดรวมทั้งนักท่องเที่ยว เมื่อรักษาแล้วกลับประเทศของตน

2) คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอาเภอ (คปสอ.) (Cupboard) ทุกแห่ง เฝ้าระวังโรคคนต่างด้าว โดยรายงานโรคทางระบาดวิทยา ตามแบบฟอร์มรายงาน 506, 507 รวมทั้งโรคปวดข้อออกผื่น (Chikungunya) และกาฬโรค หรือโรคที่กลับมาระบาดซ้า ยกเว้นโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ โรคไม่ติดต่อ และโรคเอดส์

3) ให้สอบสวนโรคผู้ป่วยทุกราย กรณีที่พบว่ามีการระบาดของโรค

(7) ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องสิทธิประโยชน์และการครอบคลุมการบริการทางการแพทย์
ให้คณะทำงานดำเนินงานประกันสุขภาพตรวจสุขภาพและรักษาพยาบาลคนต่างด้าวพิจารณาเป็นรายกรณีไป


6.2.2 ชุดสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ที่ไม่คุ้มครอง มีดังนี้
     (1) โรคจิต
     (2) การบาบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
     (3) ผู้ประสบภัยจากรถที่สามารถใช้สิทธิตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
     (4) การรักษาภาวะมีบุตรยาก
     (5) การผสมเทียม
     (6) การผ่าตัดแปลงเพศ
     (7) การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
     (8) การตรวจ วินิจฉัย และรักษาใดๆ ที่เกินความจาเป็นและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
     (9) โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกิน 180 วัน ยกเว้นหากมีความจาเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
     (10) การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
     (11) การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไต (Peritoneal Dialysis) และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Haemodialysis)
     (12) การเปลี่ยนอวัยวะ (Organ Transplant)
     (13) การทำฟันปลอม

6.2.3 บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ

 
การป้องกันและควบคุมโรคที่ได้รับการคุ้มครองประกอบด้วย
     (1) การจัดให้มีและใช้สมุดบันทึกสุขภาพประจาตัวในการดูแลสุขภาพแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบัตรสุขภาพเด็กและสิทธิประโยชน์สาหรับการดูแลตามกลุ่มวัย
       (2) การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ตลอดจนการให้บริการดูแลหลังคลอด
     (3) การตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
     (4) การให้ยาต้านไวรัสเอดส์ กรณีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก
     (5) การวางแผนครอบครัว
     (6) การเยี่ยมบ้าน (Home Visit) และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care)
     (7) การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว ผ่านสื่อบุคคล (อสต.) และสื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ
     (8) การให้คาปรึกษา (Counseling) สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ
     (9) การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก แนะนาด้านทันตสุขภาพ การให้ฟลูออไรด์เสริม ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ
     (10) การควบคุมป้องกันโรค

6.3 การดำเนินการประกันสุขภาพกรณีคนต่างด้าวย้ายที่อยู่

กรณี คนต่างด้าวย้ายที่อยู่ข้ามเขตจังหวัด
ให้นายจ้าง/คนต่างด้าวแจ้งย้ายออกที่สำนักทะเบียนในพื้นที่ที่คนต่างด้าวจดทะเบียนไว้และแจ้งขอเปลี่ยนนายจ้างหรือแจ้งย้ายที่อยู่นายจ้างกับสำนักงานจัดหางานในจังหวัดนั้นๆ เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจึงแจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพร้อมแนบเอกสารการแจ้งย้ายที่อยู่ทั้ง หมดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรมการแพทย์ ต้องเก็บบัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวไว้แล้วทำหนังสือแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งใหม่/กรมการแพทย์ที่คนต่างด้าวย้ายไปประกันตนพร้อมดำเนินการโอนเงินในส่วนของการประกันสุขภาพให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรมการแพทย์ ที่รับช่วงประกันสุขภาพต่อไป ตามสัดส่วนเวลาที่เหลืออยู่วงเงินในการคิดสัดส่วนการโอน ใช้จำนวน 1,120 บาท (หักค่าใช้จ่ายสูงและค่าบริหารจัดการ) หารด้วยจำนวนเวลาเอาประกัน คือ 365 วัน ทั้งนี้สิทธิในการรักษาพยาบาล ขณะยังไม่มีการโอนเงินให้ใช้สิทธิที่สถานพยาบาลแห่งเดิมไปก่อน
 

6.4 สถานพยาบาลที่จะเข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าว

และระบบการให้บริการของสถานพยาบาลใช้รูปแบบหน่วยบริการตามแนวทางของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับคนไทย
 
(1) สถานพยาบาลที่ดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ
เป็นผู้เก็บค่าตรวจสุขภาพและค่าประกันสุขภาพ จัดส่งเงินประกันสุขภาพตามระบบโดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรมการแพทย์/สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการติดตามหากส่งไม่ครบ
 
(2) การดำเนินการประกันสุขภาพให้ดำเนินการโดยสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาล เอกชน
โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรมการแพทย์มีอานาจหน้าที่ในการออกประกาศรับสมัครสถานพยาบาลเอกชนเข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าวในพื้นที่ที่ประเมินผลการดำเนินการแล้วพบปัญหาในด้านความครอบคลุมการให้บริการการเข้าถึงบริการ ความแออัดของการให้บริการตลอดจนคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาล
 
(3) สถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าวตาม
ประกาศของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรมการแพทย์ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

     1) เป็นสถานพยาบาลที่มีลักษณะสถานพยาบาลเป็นโรงพยาบาลทั่วไปตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่สามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินสามสิบเตียงขึ้นไปที่มีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติอย่างน้อยสี่สาขาหลัก คือ อายุรกรรม ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม
และสูตินรีเวชกรรม
 
     2) เป็นสถานพยาบาลคู่สัญญาหลักที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
 
     3) เป็นสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองด้านการพัฒนาระบบคุณภาพบริการระบบใดระบบหนึ่งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรมการแพทย์รับรองโดยมีความพร้อมที่จะรองรับบริการสาธารณสุขในคนต่างด้าว เช่น มีป้ายภาษาคนต่างด้าวมีพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว เป็นต้น
 
     4) เป็นสถานพยาบาลที่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรมการแพทย์ เห็นว่ามีความจาเป็นและประกาศเพิ่มเติม
 
(4) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรมการแพทย์
มีหน้าที่ประเมินผลการดำเนินการและตรวจสอบคุณสมบัติของสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการในแต่ละปีเพื่อกำหนดการจัดระบบบริการในปีต่อไป
 
 

7.การบริหารจัดการ

7.1 การบริหารโครงการ
เพื่อให้มีเอกภาพในการบริหารจัดการ และลดความซ้าซ้อนในระดับจังหวัดจึงให้มีคณะกรรมการดำเนินการโครงการเป็นคณะเดียวกันกับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (คณะอนุกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพจังหวัด)
 
7.2 การบริหารงบประมาณ
การบริหารงบประมาณให้ดำเนินการตามมาตรการแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขโดยมอบให้กรมการแพทย์หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้ควบคุมกำกับ
 
กรณีตรวจสุขภาพที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ(One Stop Service) ให้หน่วยตรวจโอนเงินประกันสุขภาพให้กับโรงพยาบาลที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการ

8.ระบบการเงินการบัญชี

8.1 เงินประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าว/ผู้ติดตาม

8.2 เงินประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวกลุ่มประกันสังคม
เงินประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าว/ผู้ติดตาม (1,300)
ค่าบริหารจัดการ (130 บาท)
ค่าส่งเสริมป้องกันโรค (206 บาท)
ค่าบริการทางการแพทย์ (964 บาท)
     1) สสจ./กรมการแพทย์ กสธ.120 บาท/คน
     2) สบรส.10 บาท/คน สสจ./กรมการแพทย์ 206 บาท/คน

1) สถานพยาบาลที่รับขึ้นทะเบียน 914 บาท
2) กลุ่มประกันสุขภาพ 50 บาท/คน
 
8.3 เงินประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี
ให้มีบัญชีเงินประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง สำหรับ รับ-จ่ายเงินประกันสุขภาพคนต่างด้าว แยกจากการดำเนินงานปกติ โดยให้สถานพยาบาลดำเนินการตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.3/4976 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2548 และหลักเกณฑ์การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการจ่ายเงินประกันสุขภาพคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ตามหนังสือดังกล่าวและประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (สัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา) ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2552

9. การประเมินผล

ประเมินความครอบคลุมของผู้มีสิทธิในโครงการ ตลอดจนความพึงพอใจในการรับบริการของคนต่างด้าวและคุณภาพการบริการ แนวทางพิจารณาความคุ้มทุนของหน่วยบริการสาธารณสุขทั้งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยบริการสังกัดอื่นโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรมการแพทย์/กลุ่มประกันสุขภาพและสำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

10.ผู้รับผิดชอบ

10.1 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เงินประกันสุขภาพสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี (365)
ค่าบริหารจัดการ (36.50 บาท)
ค่าส่งเสริมป้องกันโรค (58 บาท)
ค่าบริการทางการแพทย์ (256.50 บาท)
 
1) สสจ./กรมการแพทย์ กสธ. 33.50 บาท/คน
2) สบรส. 3 บาท/คน สสจ./กรมการแพทย์ 58 บาท/คน

1) สถานพยาบาลที่รับขึ้นทะเบียน 242.50 บาท
2) กลุ่มประกันสุขภาพ 14 บาท/คน
เงินประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวกลุ่มประกันสังคม (447 บาท)
ค่าส่งเสริมป้องกันโรค (206 บาท)
ค่าบริการทางการแพทย์ (241 บาท)
สสจ./กรมการแพทย์ 206 บาท/คน
 
1) สถานพยาบาลที่รับขึ้นทะเบียน 229 บาท
2) กลุ่มประกันสุขภาพ 12 บาท/คน
 
10.2 กรมการแพทย์
10.3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ดำเนินการกระทรวงสาธารณสุข

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด