ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รู้ทันเรื่องประกัน : ทำไมต้องทำประกัน? ถ้าจะทำประกันชีวิต ทำแบบไหนดี?

รู้ทันเรื่องประกัน : ทำไมต้องทำประกัน? ถ้าจะทำประกันชีวิต ทำแบบไหนดี? Thumb HealthServ.net
รู้ทันเรื่องประกัน : ทำไมต้องทำประกัน? ถ้าจะทำประกันชีวิต ทำแบบไหนดี? ThumbMobile HealthServ.net

ทำไมต้องทำประกัน? หลายคนคงสงสัยว่า ทำประกัน ไปทำไม ทำแล้วไม่เห็นคุ้มเลย บางปีเสียเงินจ่ายค่าเบี้ยประกันทิ้งไปเปล่าๆ เพราะไม่ได้เบิกเคลม คำถามมากมายเรื่องประกันที่บางทีเราเองไม่รู้ หรือรู้ก็อาจไม่ถูกต้อง หรือถูกก็ไม่ทั้งหมด แล้วใครจะรู้เรื่องประกันดีสุดนอกจากตัวแทนประกัน คอลัมน์รู้ทันเรื่องประกัน นำความรู้ ข้อมูล อัพเดต เกี่ยวกับประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ที่คนไทยทั่วไปควรรู้ มาแบ่งปันเพื่อเป็นประโยชน์และความเข้าใจต่อการประกันชีวิตและหาประกันที่เหมาะสมกับความต้องการได้

รู้ทันเรื่องประกัน : ทำไมต้องทำประกัน? ถ้าจะทำประกันชีวิต ทำแบบไหนดี? HealthServ
 
 

ทำไมต้องทำประกัน?
 

หลายคนคงสงสัยว่า ทำประกัน ไปทำไม ทำแล้วไม่เห็นคุ้มเลย บางปีเสียเงินจ่ายค่าเบี้ยประกันทิ้งไปเปล่าๆ เพราะไม่ได้เบิกเคลม
 
จริงค่ะ ถ้าไม่เคลมใครๆ ก็รู้สึกเสียดาย
 

แต่ลองนึกดู ดีๆ นะคะ วันนี้จะมาบอกให้เข้าใจว่าทำไมต้องทำประกัน

✔️ ถ้า ประกัน ไม่จำเป็น เคยได้ยินไม๊ เวลาคนใกล้ตัวเกิดเหตุ ทุกคนมักถามหาว่า “มีประกันมั้ย” ทั้งๆ ที่ เคยบอกว่า อย่าทำเลยเสียดายเงิน ถ้าเทียบกับสิ่งของอื่นๆ เช่น แอร์ ทีวี เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เวลาเสีย สิ่งแรกที่พูดกัน จะถามว่ามีประกันมั้ย ประกันหมดยัง
 
เวลาไปเยี่ยมญาติ หรือเพื่อนที่ รพ. ก็มักถามว่ามีประกันหรือเปล่า ใจเรายังกังวลแทนเพื่อนเลย กลัวเค้าจะเสียเงินค่า รพ เยอะ หรือ ถ้ามีเหตุเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ก็จะมีแต่คนถามมีประกันมั้ย ซื้อรถยนต์ ยังต้องซื้อประกัน
 
ประกันชีวิตไม่มีทางหายไปจากโลกนี้ ตราบใดถ้าเรามีคนที่รัก หรือมีคนรักเราแม้กระทั่งเรารักตัวเอง


 
รู้ทันเรื่องประกัน : ทำไมต้องทำประกัน? ถ้าจะทำประกันชีวิต ทำแบบไหนดี? HealthServ
 
 

3 เรื่องที่ต้องตัดสินใจทำประกัน

 
1. ประกันเป็นการป้องกัน ความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ไม่มีใครบอกได้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น หากเกิดเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ ต้องเข้าโรงพยาบาล จะมีค่าใช้จ่ายค่ารักษา ค่ายา หรือ เสียชีวิตกะทันหัน
 
ขอยกตัวอย่าง กรณี คุณบี หัวหน้าครอบครัว ขับรถไปทำงานเป็นประจำ ดูเหมือนจะไม่มีอะไร วันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุ เสียชีวิตกะทันหัน แต่คุณบี ไม่ได้ทำประกันไว้เลย ครอบครัวคุณบี ต้องเสียค่าใช้จ่ายงานศพ แต่ถ้าคุณบี ทำประกันไว้ บริษัทจะจ่ายเงินชดเชย ให้กับครอบครัวมาเป็นค่าใช้จ่าย ไม่ใช่แค่เรื่องอุบัติเหตุ แต่ก็รวมถึง ประกันอื่นๆ ด้วย เป็นการจ่ายเงินน้อย เพื่อแลกกับความคุ้มครองมาก ที่ไม่รู้ว่าเหตุอะไรจะเกิดขึ้นกับคุณ


 
2.ประกันเพื่อ เป็นมรดก ให้คนในครอบครัว
ถึงแม้จะเกิดอะไรขึ้นกับเรา ครอบครัวเรา คนที่เรารัก ก็ยังมีเงินใช้ ดำรงชีพ ยิ่งโดยเฉพาะ คนที่เป็นเสาหลัก ถ้าไม่มีคุณ พวกเค้าจะใช้ชีวิตอยู่ยังไง ถ้าคุณมีประกัน ทางครอบครัวจะได้รับเงินก้อน ใช้ยามจำเป็น เช่น เป็นค่าเล่าเรียนลูก เปรียบเสมือนเป็นมรดกให้พวกเค้า


 
3 ประกันเพื่อการออม หรือสำรอง ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
เบี้ยทุกบาทที่จ่ายให้กับ บริษัท สะสมไว้เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาของประกัน จะได้เงินก้อนมา ประกันช่วยให้เรามีวินัยในการออม แถมยังได้ความคุ้มครองชีวิตด้วย
 
หรือเบี้ยที่จ่ายอาจจะซื้อประกันสุขภาพพ่วงไปด้วย
 
จะเป็นเงินสำรองเวลาเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล
 
หลายๆ คนบอกไม่คุ้ม ร่างกายแข็งแรง โอกาสน้อยที่จะใช้ประโยชน์ เอาเงินที่จ่ายประกันทุกปีๆ เก็บสะสมเองดีกว่า
 
ทำยังงั้นก็ได้ ค่ะ ถ้าเงินที่คุณเก็บ ปีละ 20,000 เมื่อครบ 5 ปีมี 100,000 บาทคุณมั่นใจว่าเงินก้อนนี้จะไม่ไปใช้เรื่องอื่น คุณต้องเก็บเงินก้อนนั้นไว้รักษาตัวเท่านั้น หรือ ถ้าปีแรกที่เก็บเงิน 20,000 แต่ไม่ทำประกัน เจ็บป่วย คุณต้องจ่ายมากกว่า เงินที่เก็บได้
 
เราไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้น สิ่งที่บอกคือ ประกันคือ การซื้อความเสี่ยง
 
"ประกันไม่ได้ช่วยให้รวย แต่ประกันทำให้ไม่จน"
 
 
 


 

จะทำประกันชีวิต ทำแบบไหนดี


พอถามหลายๆ คน แต่ละคนตอบไม่เหมือนกันเลย ทำให้ งง แล้วจะเลือกแบบไหนดีล่ะ
 
คำถามว่าจะทำประกันชีวิต แบบไหนดี ก็ขึ้นอยู่กับโจทย์หรือเป้าหมายทางการเงินของเราเองว่าต้องการทำประกันชีวิตเพื่ออะไร เช่น วางแผนค่ารักษาพยาบาล เก็บออม ลดหย่อนภาษี วางแผนเกษียณ วางแผนคุ้มครองชีวิต คุ้มครองค่าความสามารถ หรือวางแผนมรดก เป็นต้น
 
 

ประกันชีวิต มีแบบไหนบ้าง
 

1.ประกันแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) 

เน้นในเรื่องของความคุ้มครองชีวิตเป็นหลัก ไม่มีเงินสะสม เลือกระยะเวลาความคุ้มครอง และระยะเวลาการชำระเบี้ยได้ตามความเหมาะสม คนที่เราต้องดูแล หรือภาระนี้สินที่เรามีอยู่ได้ จุดเด่น สามารถเรียกความคุ้มครองที่สูงได้โดยใช้ค่าเบี้ยที่ถูก แต่ก็แลกมาด้วยข้อเสียคือการไม่มีเงินสะสมและเมื่อครบกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ความคุ้มครองก็จะหมดลงไป
 

2.ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) 

เน้นความคุ้มครองชีวิตระยะยาว เช่น 90 ถึง 99 ปี ชำระเบี้ยแค่ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 10-20 ปีได้ ซึ่งประกันในรูปแบบนี้จะเริ่มมีเงินสะสมหรือมูลค่ากรมธรรม์ แต่ก็ยังสามารถให้ความคุ้มครองที่สูงโดยที่ใช้เบี้ยต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่มีคนอยู่ในความดูแล นำมาวางแผนเป็นเครื่องมือคุ้มครองค่าความสามารถได้ หรือสามารถนำมาวางแผนในเรื่องของการส่งต่อมรดก หรือส่งต่อความมั่งคั่งให้กับคนในครอบครัวหรือคนที่เรารักได้อแบบนี้มีมูลค่าสะสมหรือมูลค่ากรมธรรม์จึงเป็นเงินสำรองอีกก้อนสำหรับใช้จ่ายในอนาคตได้

 
3.ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment/Saving Insurance) 

เน้นเป็นการออมเงินในรูปแบบของประกันชีวิต และได้ผลตอบแทนที่แน่นอนตามที่กำหนดไว้ ถ้ากังวลเรื่องความผันผวนในการลงทุนเป็นการออมแบบระยะยาว แต่ถ้าหากผู้ทำประกันแบบนี้เสียชีวิต ผลประโยชน์การเสียก็จะส่งต่อให้ผู้รับประโยชน์ ไม่เหมือนกับการฝากธนาคารนะคะ อย่าหลงเข้าใจผิดกัน


4. ประกันแบบบำนาญ (Annuities Insurance)

เน้นการออมเงินระยะยาวเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ และจะได้ผลประโยชน์ในเรื่องของการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจากแบบประกันทั่วไปสูงถึง 200,000 บาท และสามารถสูงได้ถึง 300,000 บาทกรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีจากประกันทั่วไป 100,000 บาทแรก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีรายได้ที่แน่นอนหลังเกษียณ


5. ประกันควบการลงทุน (unit linked)

เป็นประกันแบบผสม ของการประกันความเสี่ยงและการลงทุนไปรวมกัน มีลักษณะของความยืดหยุ่นสูงสามารถออกแบบในการวางแผนวงเงินความคุ้มครอง ค่าเบี้ยที่ชำระ ระยะเวลาในการชำระเบี้ย และระยะเวลาในการให้ความคุ้มครอง ทำให้ตอบโจทย์กับคนรุ่นไหมที่ต้องการวางแผนการเงินอย่างรอบด้านทั้งเรื่องการบริหารความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันแบบทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องรับความเสี่ยงด้วยตัวเอง
 
และนี้ เป็นเพียงแบบประกันหลัก ส่วนถ้าอยากซื้อพวกประกันสุขภาพ หรือ ประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง เป็นต้น ก็สามารถเลือกความคุ้มครองเหล่านี้ ไปพ่วงกับประกันหลัก และจะเลือกแบบไหน ให้เหมาะสม …ปรึกษาเราได้ค่ะ 


 
ชัชชญา (เชอร์รี่)
โทร.080-391-9464
Lind : cherrykha

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด