ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รองผู้ว่าฯ ทวิดา ปักธงดุสิตโมเดล สร้างมาตรฐานสุขภาพปฐมภูมิ เปิดระบบ 28 ก.ค.นี้

รองผู้ว่าฯ ทวิดา ปักธงดุสิตโมเดล สร้างมาตรฐานสุขภาพปฐมภูมิ เปิดระบบ 28 ก.ค.นี้ Thumb HealthServ.net
รองผู้ว่าฯ ทวิดา ปักธงดุสิตโมเดล สร้างมาตรฐานสุขภาพปฐมภูมิ เปิดระบบ 28 ก.ค.นี้ ThumbMobile HealthServ.net

ผลจากการรระบาดโควิด ก่อให้เกิด ดุสิตโมเดลขึ้นมา โครงการริเริ่มโดยวชิรพยาบาล ร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับการรักษาเบื้องต้นได้มากที่สุด เร็วที่สุด มีประสิทธิภาพส่งต่อ สอดคล้องกับสิทธิการรักษาที่ประชาชนมี รองผู้ว่าฯ ทวิดา ได้เล็งเห็นศักยภาพและมุ่งพัฒนาต่อให้เป็นรากฐานด้านบริการสุขภาพของคนกรุงเทพ ย้ำจะเริ่มเปิดระบบให้ได้ ในวันที่ 28 กรกฎาคม 65 นี้

รองผู้ว่าฯ ทวิดา ปักธงดุสิตโมเดล สร้างมาตรฐานสุขภาพปฐมภูมิ เปิดระบบ 28 ก.ค.นี้ HealthServ
 
รองผู้ว่ากรุงเทพฯ ทวิดา กมลเวชช กล่าวถึง โครงการ ดุสิตโมเดล ไว้ดังนี้
 
ดุสิตโมเดล เป็นโครงการที่วชิรพยาบาล ร่วมกับสำนักอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และคลินิกอบอุ่นในพื้นที่ ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งแนวคิดเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามหาวิธีให้การรักษาเข้าถึงประชาชนได้อย่างใกล้ชิดที่สุด ทั้งการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและเคสที่ต้องอาศัยการรักษาแบบซับซ้อน ให้มีขั้นตอนระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสิทธิการรักษาที่ประชาชนมีอยู่


ซึ่งหน่วยงานได้ทำการออกแบบระบบและในวันนี้ได้หารือรายละเอียดการเชื่อมต่อระบบ และการบูรณาการในลักษณะของ Sand Box เพื่อเปิดพื้นที่ทดลอง รวมถึงการทบทวนข้อมูลในเชิงพื้นที่ที่ต้องการ อาทิ สิทธิการรักษาของประชาชน อัตรากำลังของแพทย์ พยาบาล ศักยภาพของสถานพยาบาล ทั้งที่อยู่ในสังกัดกทม.และนอกสังกัดที่อยู่ในพื้นที่กทม. โดยจะมีการปรับมาตรการทางสาธารณสุขบางอย่างเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ


รองผู้ว่าฯ ทวิดา ย้ำว่า "จะเริ่มเปิดระบบให้ได้หากไม่มีข้อติดขัด ในวันที่ 28 กรกฎาคม นี้"

 
 
รองผู้ว่าฯ ทวิดา ปักธงดุสิตโมเดล สร้างมาตรฐานสุขภาพปฐมภูมิ เปิดระบบ 28 ก.ค.นี้ HealthServ
 
 

ประโยชน์จากโครงการ

ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการดังกล่าวคือเมื่อเจ็บป่วยและเข้าไปใช้บริการตรวจรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขสามารถรับบริการพบแพทย์ ผ่านระบบ Telemedicine ได้ หรือในกรณีที่เป็นเคสฉุกเฉิน  สามารถเข้าสู่ระบบการส่งต่อได้โดยตรง และยังครอบคลุมถึงการส่งกลับเพื่อรักษาต่อ เพื่อบรรเทาความแออัดของสถานพยาบาลได้ด้วย ระบบนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากหากเกิดการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ ขึ้นอีก เนื่องจากเป็นระบบที่สร้างขึ้นจากข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หากจะเกิดข้อจำกัดหรือช่องโหว่ในการทำงานอีกก็จะไม่มากเท่าที่ผ่านมา
 

นอกจากนี้ยังต้องมีการสร้างมาตรฐานเพิ่มเติมให้กับระบบการดูแลในระดับปฐมภูมิ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน  รวมถึงต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสิทธิการรักษาของประชาชนในพื้นที่-นอกพื้นที่ให้ละเอียด เพื่อให้ระบบที่พัฒนาขึ้นเพียงพอต่อการรองรับประชาชน และสอดคล้องกับศักยภาพของสถานพยาบาลกทม. โดยระบบที่พัฒนาขึ้นจะสามารถลดความล่าช้าและความยุ่งยากจากงานเอกสารของศูนย์บริการสาธารณสุข พร้อมเชื่อมต่อระบบเอกสารจากระดับปฐมภูมิ ถึงทุติยภูมิและตติยภูมิได้โดยไม่สะดุด และไม่ต้องอาศัยกำลังคนมากนัก เป็นเรื่องของการปรับวิธีการทำงานและระบบการทำงาน ใช้มาตรฐานในการกำกับเดียวกัน
 
 
รองผู้ว่าฯ ทวิดา ปักธงดุสิตโมเดล สร้างมาตรฐานสุขภาพปฐมภูมิ เปิดระบบ 28 ก.ค.นี้ HealthServ
 

ดุสิตโมเดลต้องระวัง

แต่ สิ่งที่ดุสิตโมเดลต้องระมัดระวัง คือการไม่ทำให้กระบะทรายกระบะนี้กลายเป็นพื้นที่เหลื่อมล้ำ หรือมีความเอ็กซ์คลูซีฟจนเกินไป จนทำให้จุดมุ่งหมายของการสร้างระบบปฐมภูมิที่แข็งแกร่งของการทำแซนด์บ๊อกซ์นี้เลือนหายไป กลายเป็นเพียงช่องทางสำหรับการ "ผ่านเข้าไปถึง" ระบบตติยภูมิเสียมากกว่า แม้ว่านั่นจะคือจุดหมายในการรักษา แต่ต้องไม่ลืมว่า "ปฐมภูมิคือหมอที่ใกล้ใจใกล้บ้านและมั่นใจ" การเสริมสร้างด้วยระบบการแพทย์ทางไกล (telemedicine) เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษา ตลอดจนสามารถจ่ายยาที่มีเฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น ผ่านศูนย์บริการสาธารณสุขได้เลย (ส่งยาจาก รพ. ตามทันที) รวมทั้งการให้สถานพยาบาลปฐมภูมิทุกรูปแบบ หรือแม้แต่การรักษาตัวที่บ้าน ภายใต้การดูแลของปฐมภูมิ เกิดขึ้นได้ทั้งระบบอย่างแท้จริง
 
ราชพิพัฒน์แซนด์บ๊อกซ์ ภายใต้ระบบคิดคู่ขนาน กล่าวคือ “สำหรับการขยายโครงการลักษณะSand Boxในอนาคตนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีทำSand Box เดียว อาจจะมีการทำหลายSand Box ในคราวเดียวกัน แต่ของวชิรพยาบาลจะเริ่มก่อนเนื่องจากมีความพร้อมมากกว่า จากนั้นจะมีการเริ่ม Sand Box ในพื้นที่ฝั่งกรุงธนเหนือ-ใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 5 เขต โดยโรงพยาบาลราชพิพัฒน์จะเป็นแม่ข่าย ทั้งนี้หลังจากเริ่มดำเนินการ Sand Box แรกและพบความผิดพลาดจะต้องรีบแก้ไขให้เร็ว และเป็นบทเรียนให้ Sand Box ใหม่ทันที การทำงานในลักษณะนี้จะสามารถทำให้เกิดการเชื่อมโยงได้มากขึ้น ประกอบกับทั้ง 2 โครงการจะเกิดใน 2 พื้นที่ซึ่งมีบริบทที่แตกต่างกันสูงมาก ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ทำให้กทม.ได้เรียนรู้ว่ากลไกการทำงานระหว่างพื้นที่ที่แตกต่างกันควรเป็นอย่างไร”
 
ข้อมูลและภาพ เพจ Tavida Kamolvej 
1 กรกฎาคม 2565

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด