ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หมอเถื่อน ฟิลเลอร์-โบท็อกซ์ปลอม เกลื่อนเมือง ร้องเรียนแจ้งเบาะแส บก.ปคบ.1135

หมอเถื่อน ฟิลเลอร์-โบท็อกซ์ปลอม เกลื่อนเมือง ร้องเรียนแจ้งเบาะแส บก.ปคบ.1135 Thumb HealthServ.net
หมอเถื่อน ฟิลเลอร์-โบท็อกซ์ปลอม เกลื่อนเมือง ร้องเรียนแจ้งเบาะแส บก.ปคบ.1135 ThumbMobile HealthServ.net

ทุกวันนี้จะพบว่ามีข่าวตำรวจร่วมกับอย.ทลายแหล่งฟิลเลอร์ปลอม โบท็อกซ์ปลอม เป็นประจำ ตามคลินิกเถื่อนหรือ ที่แอบทำ ลักลอบทำตามบ้านเรือนก็มี ถือว่าอันตรายเสี่ยงตายมาก และที่น่ากลัวไปกว่านั้น คนที่ทำคือหมอเถื่อนทั้งนั้น บ้างก็แค่เคยเป็นผู้ช่วยก็คิดว่าทำได้ทำเป็นก็มารับจ้างทำ บ้างก็เป็นพยาบาลวิชาชีพมาก่อน ที่แสบสุดคืออ้างเป็นหมอทั้งที่ไม่ใช่หมอ แอบอ้างไม่พอยังปลอมแปลงวุฒิและเอกสารรับรองตัวเองต่างๆ อีกต่างหาก น่ากลัวไหมล่ะสาวๆ ร้องเรียนแจ้งเบาะแส บก.ปคบ.1135

วิชาชีพเวชกรรม ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
 

       นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวถึงสถานการณ์การพบคลินิกเถื่อนและแพทย์พยาบาลปลอม ในคลินิกปลอม และให้บริการฉีดสารเสริมความงาม ไม่ว่าจะเป็นฟิลเลอร์ หรือโบท๊อกซ์ ปลอม จำนวนมากในปัจจุบัน  ว่า  สิ่งสำคัญที่ประชาชนควรรับทราบ ก็คือ มีข้อกฏหมายกำหนดไว้ชัดเจน สำหรับการบริการดังกล่าวนั้น   คือ

         การฉีดสารเสริมความงาม ไม่ว่าจะเป็นฟิลเลอร์ หรือโบท๊อกซ์  ถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

         1. จะต้องให้บริการโดยแพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพ

         2.  และกระทำในสถานพยาบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

         3. และจะต้องไม่มีการเดินสายให้บริการนอกสถานพยาบาล แต่อย่างใด




        ดังนั้น การกระทำใดๆ ที่ไม่เป็นไปตาม ทั้ง 3 ข้อ นั้น ถือว่าเป็นบริการเถื่อน 


       โดยเฉพาะกับการให้บริการฉีดสารเสริมความงามนอกสถานที่ ซึ่งพบมาก  ขอให้ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นหมอเถื่อน หรือที่เรียกกันว่า "หมอกระเป๋า"


         การฉีดสารเสริมความงามด้วยบุคคลที่มิใช่แพทย์นั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกาย ซึ่งอาจมีความรุนแรงถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิต จากการที่สารเสริมความงามรั่วไหลเข้าไปอุดตันในเส้นเลือด หรือเกิดการติดเชื้อ
 
 

ตรวจสอบหลักฐาน 5 ประการ


          กรม สบส. จึงขอเน้นย้ำให้เลือกรับบริการเสริมความงามกับสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น โดยก่อนรับบริการก็ควรตรวจสอบหลักฐาน 5 ประการ ซึ่งสถานพยาบาลจะต้องแสดง ได้แก่
 
1. ป้ายชื่อคลินิกต้องแสดงเลขที่ใบอนุญาต 11 หลัก
 
2. มีการแสดงใบอนุญาตเปิดกิจการคลินิก เลขใบอนุญาตต้องตรงกับเลขที่ที่ติดที่ป้ายชื่อคลินิก
 
3. มีการแสดงใบอนุญาตให้ดำเนินการ
สถานพยาบาล
 
4. มีการแสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมคลินิกที่เป็นปีปัจจุบัน 
 
5. มีการแสดงหลักฐานของแพทย์ที่ให้บริการในคลินิก โดยมี ชื่อ-นามสกุล และภาพถ่ายติดที่หน้าห้องตรวจ โดยสามารถตรวจสอบชื่อคลินิกได้ที่เว็บไซต์กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (www.mrd-hss.moph.go.th) และตรวจสอบชื่อแพทย์ได้ที่เว็บไซต์แพทยสภา (www.tmc.or.th)
 
หากไม่พบ หรือสถานพยาบาลแสดงหลักฐานไม่ครบถ้วน ไม่ควรเข้ารับบริการ และขอให้แจ้งเบาะแสมาที่สายด่วนกรม สบส. 1426 หรือทางหมายเลขโทรศัพท์ 02 193 7000 เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
 
 
 
 
 

ฟิลเลอร์หรือโบท็อกซ์ปลอม หมอเถือน เกลื่อน!


 
      ภญ.อรัญญา เทพพิทักษ์ ผอ.ศรป. และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและประสิทธิผลของยาและการใช้ยา  สำนักงานอาหารและยา (อย.)  ให้ข้อมูลว่า ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ต้องการดูแลภาพลักษณ์ตนเองให้ดูดีอยู่เสมอ ดังนั้นการฉีดฟิลเลอร์ โบท็อกซ์ หรือร้อยไหม จึงได้รับความนิยม เพื่อช่วยในการเติมเต็มรูปหน้า เช่น เสริมจมูก เสริมคาง เสริมแก้ม หรือเพื่อเติมเต็มริ้วรอยบนใบหน้า เติมเต็มร่องลึกต่าง ๆ เช่น ร่องใต้ตา ร่องแก้ม รอยย่นบนหน้าผาก รอยตีนกาหรือแม้แต่การบำรุงผิวให้กระชับ
 
      เมื่อความนิยมมีมากขึ้น ผนวกกับความต้องการเสริมความงามในราคาถูก จึงมีหมอเถื่อนมากมายที่ใช้สารฟิลเลอร์หรือโบท็อกซ์ปลอม หรือไม่ได้รับอนุญาตฉีดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งไม่มีทั้งในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย
 
     จึงขอฝากผู้ที่ต้องการเสริมความงาม ควรเลือกรับบริการจากสถานพยาบาลที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้บริการ ก่อนการฉีดควรสอบถามและขอดูตัวสารที่ฉีดว่าได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายจาก อย. หรือไม่ เพราะผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ฟิลเลอร์หรือโบท็อกซ์ปลอมฉีดเข้าร่างกายนั้น อาจเกิดอันตรายจนถึงแก่เสียชีวิตตามที่เคยปรากฎเป็นข่าวมาแล้ว 
 
 
     ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน  อย. 1556 หรือผ่าน  Email: 1556@fda.moph.go.th Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือตู้ปณ.1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004  หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
 
 
 
 

เจอหมอเถือน/ของเถื่อน แจ้งสายด่วน บก.ปคบ.1135       



พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. กล่าวฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่า ควรศึกษาข้อมูลคลินิก แพทย์และขั้นตอนการรักษาให้ดีก่อนที่จะเข้ารับบริการเสริมความงาม เนื่องจากการเสริมความงามเป็นขั้นตอนและวิธีการที่จะต้องใช้ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและเกิดผลกระทบกับร่างกายโดยตรง และแจ้งเตือนไปยังผู้ที่ลักลอบกระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่สวมรอยเป็นหมอ, หมอเถื่อน หรือคลินิกเถื่อน ให้หยุดพฤติการณ์ดังกล่าวทันที เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการจับกุมอย่างต่อเนื่อง หากตรวจพบจะดำเนินคดีโดยเด็ดขาด พี่น้องประชาชนสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ สายด่วน บก.ปคบ.1135 หรือเพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภค  

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด