ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รพ.เอส เปิดเทคนิคผ่าตัดกระดูกสันหลัง! ส่องกล้องเหมือนกัน แต่ทำไมแผลเล็กต่างกัน

รพ.เอส เปิดเทคนิคผ่าตัดกระดูกสันหลัง! ส่องกล้องเหมือนกัน แต่ทำไมแผลเล็กต่างกัน Thumb HealthServ.net
รพ.เอส เปิดเทคนิคผ่าตัดกระดูกสันหลัง! ส่องกล้องเหมือนกัน แต่ทำไมแผลเล็กต่างกัน ThumbMobile HealthServ.net

“รพ.เอส” เปิดเทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ด้วยการส่องกล้องกับ โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ผู้นำด้านโรคกระดูกสันหลังและระบบประสาทในเมืองไทย ตอบข้อสงสัย ชี้ส่องกล้องเหมือนกันแต่แผลเล็กต่างจากที่อื่น

รพ.เอส เปิดเทคนิคผ่าตัดกระดูกสันหลัง! ส่องกล้องเหมือนกัน แต่ทำไมแผลเล็กต่างกัน HealthServ
 
 
 
 
ปัจจุบันโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ใช้การรักษาแบบ Minimally Invasive Spine Surgery หรือ MIS Spine แบบครบวงจร เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังและกลัวการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดแผลใหญ่กลายเป็นแผลเล็ก และได้ผลการรักษาที่เท่ากัน ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ความเจ็บปวดหลังการรักษาลดลง จากเดิมที่ผู้ป่วยเคยนอนโรงพยาบาลประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือบางรายอาจต้องนอนนาน 1-2 เดือน แต่เมื่อมารักษาด้วยวิธี MIS Spine จะทำให้ผู้ป่วยนอนที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้น
 
 
 
นพ.ชุมพล คคนานต์  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ  เผยว่า เมื่อย้อนเวลากลับไปในยุคที่เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดยังไม่ถูกพัฒนาเหมือนในปัจจุบัน การรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังแต่ละครั้งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากยังไม่มีเครื่องเอกซเรย์ ไม่มีกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง ไม่มีไฟที่ใช้ส่องในการผ่าตัดที่เหมาะสม และศัลยแพทย์ที่ถูกฝึกฝนมาเฉพาะทางยังมีไม่มาก จึงเป็นสาเหตุที่แพทย์จำเป็นต้องเปิดแผลตามขนาดของจำนวนข้อกระดูกสันหลังที่มีปัญหา ทำให้เกิดผลข้างเคียงขณะทำการผ่าตัดและหลังทำการผ่าตัด เช่น ผู้ป่วยเสียชีวิตขณะทำการผ่าตัดเนื่องจากเสียเลือดมาก ,ปวดแผลรุนแรงหลังการผ่าตัด ,เกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างและหลังการผ่าตัด สิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยหรือญาติรู้สึกกลัวที่จะรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง แต่ในปัจจุบันวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทคนิคการผ่าตัดที่มุ่งเน้นไปยังรอยโรคของผู้ป่วย ทำให้การเสียเลือด การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และการบาดเจ็บหลังการผ่าตัดน้อยกว่าแบบเดิมหลายเท่า อีกทั้งระยะในการนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลก็สั้นกว่า ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมได้เร็วขึ้น
 
 
 
เมื่อเปรียบเทียบแผลผ่าตัดในอดีตจนถึงปัจจุบันจะพบว่า การผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ ขนาดของแผลจะขึ้นอยู่ กับจำนวนข้อกระดูกสันหลังที่มีปัญหา โดยทั่วไปการผ่าตัด 1 ระดับจะมีแผลยาวประมาณ  2 – 7 ซม. การผ่าตัด   2 ระดับอาจมีแผลยาวประมาณ 10 – 12 ซม. ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนพักในโรงพยาบาลนาน 7 – 10 วัน หรือมากกว่านั้น และผู้ป่วยจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อลีบหรือฝ่อ
 
 
 
การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Microscope ที่มีกำลังขยายสูง ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงเหลือ 3-5 เซนติเมตร และมีความปลอดภัยมากขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลโดยประมาณ 3-4 วัน ในผู้ป่วยที่มีความแข็งแรงของร่างกายน้อย หรือผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อกลับมาใช้งานได้อย่างปกติ
 
 
 
การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope หรือ การเจาะรูส่องกล้อง เป็นเทคโนโลยีใหม่โดยที่เลนส์ของกล้องเอนโดสโคปจะติดอยู่ที่ปลายของกล้องเปรียบเสมือนดวงตาของแพทย์ที่สามารถเข้าไปอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยทำให้แพทย์มองเห็นตำแหน่งของรอยโรคได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การเจาะรูส่องกล้องสามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก แต่ได้ผลการรักษาดีเทียบเท่ากับการผ่าตัดใหญ่ และข้อดีของการเจาะรูส่องกล้อง คือแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 0.5 ซม. ทำให้ผู้ป่วยนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียงแค่ 1 คืนเท่านั้น หลังจากทำการรักษาก็สามารถกลับบ้านไปใช้ชีวิตได้ตามปกติและไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดให้เสียเวลา
 
 
 
ในขณะที่ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เผยว่ามีความประทับใจกับเทคนิคการผ่าตัดของโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ มาก เพราะแพทย์ที่นี่มีความเชี่ยวชาญ วินิจฉัยโรคได้อย่างตรงจุด สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ หลังจากที่ตัวเองมีอาการปวดคอร้าวลงแขนมาร่วม 10 ปี ยังไม่มีที่ไหนที่รักษาได้ หรือเคยจะไปทำการผ่าตัดกับโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่พอคุยแล้วแผลผ่าตัดใหญ่มากอาจต้องพักฟื้นนาน  สุดท้ายพอได้มาปรึกษาที่ รพ.เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ได้ฟังคุณหมออธิบายถึงวิธีการรักษาและเทคนิคอย่างละเอียดจึงทำให้ตัดสินใจรักษาด้วยการผ่าตัดทันที ซึ่งเทคนิคที่ว่านี้คือ  PSCD 
 
 
 
คุณหมอยังอธิบายต่ออีกว่า ปัจจุบันการรักษาโรคกระดูกคอเสื่อมมีหลายรูปแบบ แต่เทคนิคที่โรงพยาบาลเลือกใช้และถือว่าเป็นรายแรก คือ เทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression)  โดยเป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอทางด้านหลัง เพื่อขยายช่องกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยแพทย์จะนำกล้องเอ็นโดสโคป ที่มีความละเอียดสูงเข้าไปในช่องว่างภายในกระดูกคอ เพื่อนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกมา สำหรับทางเลือกการรักษาด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก เพียง 0.5 เซนติเมตร สูญเสียเลือดน้อย ฟื้นตัวเร็ว  นอนโรงพยาบาลเพียง 1 คืนก็สามารถกลับบ้านได้ ซึ่งต่างจากเทคนิคเดิมที่มีแผลขนาดใหญ่และต้องมีการเชื่อมกระดูก ทำให้หันคอได้ลำบาก ซึ่งหลังจากการรักษาผลลัพธ์ค่อนข้างน่าพอใจมากและเลือกไม่ผิด   
 
 
 
สำหรับโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ถือเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งเดียวและแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีจุดแข็งที่เด่นชัด คือ การมีทีมแพทย์และพยาบาลเฉพาะทาง โรคปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลังและระบบประสาทโดยเฉพาะ ทำให้รู้ลึก รู้จริง สามารถรักษาได้อย่างตรงจุด ประกอบกับการนำเอานวัตกรรมสมัยใหม่จากทั่วโลกเข้ามาช่วยในการรักษา ตอบโจทย์ผู้ป่วยที่มีเวลาน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว ไม่ทรมานเหมาะกับผู้ป่วยที่กลัวการผ่าตัด
 
 
 
โรงพยาบาลเอสสไปน์แอนด์เนิร์ฟ     ปรึกษา  โทร 02 034 0808
รพ.เอส เปิดเทคนิคผ่าตัดกระดูกสันหลัง! ส่องกล้องเหมือนกัน แต่ทำไมแผลเล็กต่างกัน HealthServ
รพ.เอส เปิดเทคนิคผ่าตัดกระดูกสันหลัง! ส่องกล้องเหมือนกัน แต่ทำไมแผลเล็กต่างกัน HealthServ

โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ

523/1 ถนนประดิษฐ์มนูธรรม แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด