ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถาบันสิรินธร กับการใช้ดนตรีบำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพจิตใจ อารมณ์และสังคมของผู้ป่วย

สถาบันสิรินธร กับการใช้ดนตรีบำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพจิตใจ อารมณ์และสังคมของผู้ป่วย HealthServ.net
สถาบันสิรินธร กับการใช้ดนตรีบำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพจิตใจ อารมณ์และสังคมของผู้ป่วย ThumbMobile HealthServ.net

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ มุ่งเน้นการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์โดยยึดหลักการให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม "งานดนตรีบำบัด" เป็นหน่วยงานที่มาเติมเต็มงานด้านฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่มีอยู่เดิมให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยช่วยสนับสนุนการดูแลด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้ป่วย ควบคู่ไปกับการให้การฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกาย เพื่อให้ผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล มีคุณภาพชีวิตที่ดี และป้องกันการเกิดปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจที่อาจส่งผลต่อร่างกายได้ในอนาคต

สถาบันสิรินธร กับการใช้ดนตรีบำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพจิตใจ อารมณ์และสังคมของผู้ป่วย HealthServ
นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบ (Model development) การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการผสมผสานระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์  ด้วยกิจกรรมบำบัดและกายภาพบำบัด ร่วมกับการใช้ศาสตร์ทางด้านดนตรีบำบัด ซึ่งอาศัยองค์ประกอบต่างๆตามหลักการของดนตรีบำบัดที่เป็นสากล ผ่านกิจกรรมทางดนตรีต่างๆ เช่น การร้อง การฟัง การเล่นเครื่องดนตรี และการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ โดยมุ่งเน้นผลทางด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ การเข้าสังคม การสื่อสาร การเรียนรู้ การรับรู้ เป็นการต่อยอดการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกายที่มีอยู่เดิม โดยใช้หลักการ การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanized healthcare)      ซึ่งพยายามเข้าใจมิติความเป็นคนของคนไข้ ที่มีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมหรือความสัมพันธ์กับผู้อื่น


             นอกจากนี้ ดนตรีบำบัด  ยังเป็นบริการทางการแพทย์ที่ต้นทุนต่ำ มีความปลอดภัย สามารถประยุกต์ใช้กับทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอยู่เดิมได้ จึงควรได้รับ  การสนับสนุน และเผยแพร่องค์ความรู้ไปใช้ในผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ และสถานบริการทางการแพทย์ในระดับต่าง ๆให้มากขึ้น  เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของประชาชน
 
 
สถาบันสิรินธร กับการใช้ดนตรีบำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพจิตใจ อารมณ์และสังคมของผู้ป่วย HealthServ


              แพทย์หญิงภัทรา อังสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยงานดนตรีบำบัด ให้บริการทั้งในกลุ่มเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยในกลุ่มเด็กจะเน้นผู้รับบริการที่มีปัญหา พฤติกรรม อารมณ์ สังคม สมาธิ หรือมีปัญหาด้านความร่วมมือในการฝึกเป็นหลัก เช่น ออทิสติก ดาวน์ซินโดรม พัฒนาการล่าช้า ส่วนในกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เน้นผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ก้าวร้าว วิตกกังวล มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์และสังคม หรือเตรียมความพร้อม ปรับสภาพจิตใจและอารมณ์ก่อนการฟื้นฟูสมรรถภาพ งานดนตรีบำบัด มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านดนตรีบำบัดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเปิดให้บุคลากรทางการแพทย์ นิสิต/นักศึกษา และหน่วยงานที่สนใจ สามารถเข้าศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติงานด้านดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการแพทย์ได้ ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านดังกล่าวไปสู่สถานบริการทางสุขภาพในระดับต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการสุขภาพทุกระดับที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม
 
 
 
#กรมการแพทย์ #สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ #ดนตรีบำบัด

สถาบันสิรินธร กับการใช้ดนตรีบำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพจิตใจ อารมณ์และสังคมของผู้ป่วย HealthServ
 

 งานดนตรีบำบัด สถาบันสิรินธรฯ


            งานดนตรีบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ 2552 และจัดตั้งเป็นหน่วยงานอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน พ.ศ 2558 เป็นหน่วยบริการที่เน้นการพัฒนารูปแบบ (Model development) การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการผสมผสานระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยกิจกรรมบำบัดและกายภาพบำบัด ร่วมกับการใช้ศาสตร์ทางด้านดนตรีบำบัด ซึ่งอาศัยองค์ประกอบต่างๆทางดนตรีตามหลักการของดนตรีบำบัดที่เป็นสากล ผ่านกิจกรรมทางดนตรีที่มีเป้าหมาย เช่น การร้อง การฟัง การเล่นเครื่องดนตรี และการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ โดยมุ่งเน้นผลทางด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม การสื่อสาร การเรียนรู้ การรับรู้ ความคิด และความจำ


หน่วยงานให้ความสำคัญกับการศึกษารูปแบบการใช้ดนตรีบำบัดแบบสากลมาจัดทำเป็นแนวทางในการพัฒนาการให้บริการ มีการประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาเป็นรูปแบบการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมกับบริบท วัฒนธรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และผู้รับบริการในประเทศไทย
 
กลุ่มผู้รับบริการ
1. ผู้รับบริการผู้ใหญ่ ที่มีปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ การเข้าสังคม เป็นต้น
2. ผู้รับบริการเด็ก เช่น สมองพิการ ออทิสติก พัฒนาการล่าช้า สมาธิสั้น มีปัญหาด้านพฤติกรรม
 
ขั้นตอนการรับบริการภายใน
1. โปรดมารับบริการตามวันเวลานัด หากต้องการยกเลิกหรือเลื่อนนัดกรุณาแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันทำการ
2. หากขาดการรักษาติดต่อกันโดยไม่แจ้งให้ทราบ เกิน 1 เดือน ต้องไปพบแพทย์เพื่อประเมินความพร้อมในการฝึก และสั่งการรักษาใหม่
 
 

บริการของสถาบันฯ 


ดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ใหญ่

ดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ใหญ่ เป็นการบำบัดที่ใช้องค์ประกอบทางด้านดนตรีได้แก่ การร้อง การฟัง การเคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ และการเล่นเครื่องดนตรี ร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยสนใจและให้ความร่วมมือในการฟื้นฟูสมรรถภาพมากขึ้น โดยเน้นผลลัพธ์ทางด้านกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดเป็นหลัก โดยแบ่งประเภทการให้บริการ เป็น 2 ประเภท คือ

1. ดนตรีบำบัดแบบเดี่ยวในผู้ใหญ่
 
ตัวอย่างกิจกรรมดนตรีบำบัดแบบเดี่ยว
 
  • กิจกรรมร้องเพลงและเล่นเครื่องดนตรี เช่น กีต้าร์ กลอง และเครื่องเคาะแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มทักษะด้านการสื่อสาร ความจำ และทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือและแขน
  • กิจกรรมเล่นคีบอร์ดตามตัวโน้ตสีต่างๆ เพื่อเพิ่มสมาธิ เพิ่มทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือ การประสานสัมพันธ์การเคลื่อนไหว การจดจำสีและตัวเลข
  • กิจกรรมฝึกการทรงตัวและฝึกเดินร่วมกับจังหวะดนตรี เพื่อเพิ่มการทรงตัว ปรับจังหวะการเดิน และปรับท่าทางการยืนและเดินให้ถูกต้อง
  • กิจกรรมการเติมเนื้อเพลงและแต่งเพลง เพื่อเพิ่มทักษะทางด้านความคิดความเข้าใจ การอ่านและเขียน เพิ่มความมั่นใจในตัวเอง กระตุ้นการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก


2. ดนตรีบำบัดแบบกลุ่มในผู้ใหญ่

ตัวอย่างกิจกรรมดนตรีบำบัดแบบกลุ่ม
 
  • กิจกรรมร้องเพลงแบบกลุ่ม เพื่อกระตุ้นการเข้าสังคม ความจำ และปรับสภาพอารมณ์และจิตใจ
  • กิจกรรมเต้นและแสดงท่าทางประกอบจังหวะ เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหว เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ การทรงตัว ความจำ
  • กิจกรรมเกมส์ดนตรีต่างๆ เช่น บอลร้อน เพื่อกระตุ้นการเข้าสังคม ผ่อนคลายความตึงเครียด เบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บป่วย
 

 

ดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพในเด็ก

 ดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพในเด็ก เป็นการใช้กิจกรรมต่างๆทางดนตรี ได้แก่ การร้อง การฟัง การเคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ และการเล่นเครื่องดนตรี ผ่านกิจกรรมการเล่นร่วมกับการสอดแทรกการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด เพื่อจัดการกับปัญหาต่างๆในผู้ป่วยเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์ และการเข้าสังคม เป็นการบำบัดรักษาที่ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนาน กระตุ้นปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บำบัดกับเด็ก ซึ่งช่วยส่งเสริมให้การบำบัดฟื้นฟูมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยแบ่งประเภทการให้บริการ เป็น ๒ ประเภท คือ
1. ดนตรีบำบัดแบบเดี่ยว
2. ดนตรีบำบัดแบบกลุ่ม
 
 
สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
กรมการแพทย์
88/26 หมู่4 ซอยติวานนท์ 14 ถนนติวานนท์
ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร. 0-2591-5455 ต่อ 6821
 
www.snmri.go.th/mt/
 
ในเวลาราชการ
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 8.30 น. – 16.30 น.
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด