ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กทม.ชวนปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น (ตอนนี้ 5.3 แสน ครึ่งทางแล้ว)

กทม.ชวนปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น (ตอนนี้ 5.3 แสน ครึ่งทางแล้ว) HealthServ.net
กทม.ชวนปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น (ตอนนี้ 5.3 แสน ครึ่งทางแล้ว) ThumbMobile HealthServ.net

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ปลูกต้นรวงผึ้งและต้นคอร์เดีย ตามโครงการกรุงเทพมหานครชวนปลูกต้นไม้ล้านต้น ซึ่งล่าสุดจำนวนปลูกไปแล้วแตะ 5.3 แสนต้นแล้ว

โครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น เป็นการริเริ่มโดยกรุงเทพมหานคร เพื่อการสร้างพื้นที่สีเขียว ปลูกต้นไม้เพิ่ม เพื่อเป็นกำแพงกรองฝุ่นทั่วพื้นที่กรุงเทพ 50 เขต ด้วยคติที่ว่า  “ปลูกต้นไม้เพื่อให้ต้นไม้ดูแลเมือง”
 
แนวคิด
1. ปลูกเพื่อลดฝุ่น ลดมลพิษและดูดซับคาร์บอน (CO 2 ) - เน้นปลูกในพื้นที่ที่มีกิจกรรมของประชาชนหนาแน่น เพื่อสร้างประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการดักจับมลพิษและฝุ่นก่อนถึงประชาชน

2. ปลูกให้เกิดร่มเงาในการใช้ชีวิต - ปลูกในพื้นที่ที่มีกิจกรรมกลางแจ้งของประชาชนหนาแน่น เช่น พื้นที่บริเวณการเชื่อมต่อการขนส่ง เป็นต้น

3. ปลูกเพื่อส่งเสริมความหลากหลายของระบบนิเวศ - เลือกใช้พันธุ์ไม้ท้องถิ่นปลูกหลากชนิด เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งอาหารของสัตว์ อีกทั้งยังลดโอกาสในการเกิดโรคระบาดในพืชชนิดใดชนิดเดียว

4. ปลูกให้ชุมชนมีรายได้ - กทม. สนับสนุนให้ชุมชนเกษตรกรรมในกรุงเทพฯ เพาะกล้าไม้โดย กทม. หรือเอกชนเป็นผู้รับซื้อ สร้างรายได้แก่ชุมชน

5. ปลูกให้คนและต้นไม้โตไปพร้อม ๆ กัน - แจกกล้าให้กับนักเรียนและประชาชนที่สนใจปลูกเพื่อให้ “คนและต้นไม้เติบโตไปพร้อมกับเมือง” โดยกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันปลูกต้นไม้กรุงเทพฯ


 
กทม.ชวนปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น (ตอนนี้ 5.3 แสน ครึ่งทางแล้ว) HealthServ

ล่าสุด 5 ส.ค.66  ผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ร่วมร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ บริเวณสวนสุวรรณพฤกษ์ ซอยรามคำแหง 118 แยก 57 เขตสะพานสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามโครงการสวน 15 นาที โดยปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 1 ต้น และต้นคอร์เดีย จำนวน 7 ต้น  โดยสวนสุวรรณพฤกษ์แห่งนี้ ทางเขตได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยยกระดับผิวดินภายในสวนให้สูงขึ้น เพื่อให้การระบายน้ำดีขึ้น พร้อมปูหญ้าสนามใหม่ทั้งหมด ปรับปรุงสนามเด็กเล่นที่พื้นยุบตัว โดยเพิ่มระดับพื้นทรายให้สูงขึ้น รวมทั้งปลูกต้นไม้เพิ่มเติม โดยใช้ไม้ดอก ไม้ประดับ และไม้หอม นอกจากนี้ได้ปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพโดยรอบสวน เช่น การปรับพื้นทางเท้าที่ชำรุด ซ่อมแซมทาสีป้ายชื่อสวน และทาสีรั้วรอบสวน ตัดแต่งไม้ยืนต้นเดิม ลดความเสี่ยงโค่นล้ม และปลูกต้นไม้ทรงพุ่มทดแทนบางส่วนที่เสียหายจากการเกิดน้ำท่วมขัง

เฉพาะพื้นที่เขตสะพานสูง ปลูกต้นไม้ไปแล้ว 3,565 ต้น
 

 

ทำไมต้นรวงผึ้งและต้นคอร์เดีย

ต้นรวงผึ้ง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ความสูงประมาณ 5 เมตร ทนแดด และชอบขึ้นในที่แล้งหรือค่อนข้างแล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 แฉกคล้ายรูปดาวติดกับโคนกลีบ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม หรือในบางพื้นที่ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ต้นรวงผึ้งจะออกดอกสีเหลืองอร่ามและมีกลิ่นหอมมาก ต้นรวงผึ้งถือว่าเป็นพรรณไม้อันทรงคุณค่า ที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากดอกรวงผึ้งจะออกดอกในช่วงเดือนพระบรมราชสมภพ ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้งยังเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอีกด้วย
 
 
ในส่วนต้นคอร์เดีย เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นเดี่ยว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านต่ำ ชอบดินทุกชนิด สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการปักกิ่ง ดอกจะมีสีแสดหรือสีส้มเข้ม ลักษณะเป็นรูปกรวย ปลายกลีบจะแยก 6-7 กลีบ นอกจากต้นคอร์เดียวจะเป็นไม้ประดับที่สวยงามแล้ว ทุกส่วนของต้นคอร์เดียยังใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ โรคกระเพาะอาหารและหลอดลม โดยตำรายาแผนไทย ใช้ต้มน้ำดื่ม เมล็ดมีคุณสมบัติลดอาการระคายเคืองและลดไข้
 

 

จำนวนปลูกต้นไม้ล่าสุด

ข้อมูล ณ วันที่ 5 ส.ค.66 ปัจจุบันมีหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ร่วมจองปลูกต้นไม้ จำนวน 1,641,310 ต้น ปลูกแล้ว 536,729 ต้น แบ่งเป็น 
ไม้ยืนต้น 150,943 ต้น ไม้พุ่ม 283,763 ต้น ไม้เลื้อย/เถา 102,023 ต้น
 
จำแนกตามการรับผิดชอบในการปลูก ดังนี้
สำนักงานเขต 439,130 ต้น
สำนักสิ่งแวดล้อม 42,549 ต้น
หน่วยงานอื่นๆ ของ กทม. 1,908 ต้น
ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ 51,500 ต้น
ภาคประชาชน 1,642 ต้น
 
สำหรับประชาชนผู้สนใจสามารถติดตามความก้าวหน้าหรือร่วมบันทึกปลูกต้นไม้ได้ที่ เว็บไซต์ https://tree.bangkok.go.th/ 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด