ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แถลงการณ์ร่วมต่อสถานการณ์อาการ Long Covid-19 และผลกระทบจากวัคซีน

แถลงการณ์ร่วมต่อสถานการณ์อาการ Long Covid-19 และผลกระทบจากวัคซีน HealthServ.net
แถลงการณ์ร่วมต่อสถานการณ์อาการ Long Covid-19 และผลกระทบจากวัคซีน ThumbMobile HealthServ.net

เนื่องในโอกาสที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามความร่วมมือทางด้านวิชาการและการวิจัยร่วมกับวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตในวันนี้ จึงเห็นสมควรที่จะต้องแจ้งถึงสถานการณ์ในเรื่องภาวะลองโควิด-19 และผลกระทบต่อวัคซีนโควิด-19 ต่อพี่น้องประชาชน

แถลงการณ์ร่วมต่อสถานการณ์อาการ Long Covid-19 และผลกระทบจากวัคซีน HealthServ
แถลงการณ์ร่วมต่อสถานการณ์อาการ Long Covid-19 และผลกระทบจากวัคซีน

เนื่องในโอกาสที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามความร่วมมือทางด้านวิชาการและการวิจัยร่วมกับวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตในวันนี้ จึงเห็นสมควรที่จะต้องแจ้งถึงสถานการณ์ในเรื่องภาวะลองโควิด-19 และผลกระทบต่อวัคซีนโควิด-19 ต่อพี่น้องประชาชน ดังนี้

 
ประการแรก จากการที่มีประชาชนชาวไทยและทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบจากภาวะต่อเนื่องหลังการติดเชื้อโรคโควิด-19 หรือได้รับผลกระทบจากการได้รับวัคซีนในหลายมิติ เป็นผลทำให้มีประชาชนกลุ่มดังกล่าวเสียชีวิต หรือมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอลง หรือส่งผลต่อคุณภาพชีวิตแย่ลง เป็นเรื่องที่เป็นความจริงทั้งสิ้น

 
ประการที่สอง อาการที่เกิดขึ้นที่ทอดยาวเป็นเวลานานเกินกว่าสามเดือนหลังจากติดเชื้อโควิดที่เรียกว่าลองโควิด (long covid) โดยมีทั้งอาการทางระบบหัวใจและปอด ระบบสมองประสาทและกล้ามเนื้อ ภาวะที่มีการอักเสบของผิวหนัง เส้นเอ็นพังผืด กล้ามเนื้อ ข้อต่างๆ ตลอดจนการปะทุขึ้นของโรคที่ไม่เคยเป็นมาก่อนหรือโรคที่สงบไปแล้ว รวมทั่งมะเร็งและการเกิดเริม งูสวัดซึ่งไวรัสเหล่านี้เป็นไวรัสที่ซ่อนอยู่ในร่างกายจากการติดเชื้อเนิ่นนานมาแล้ว และถูกกดไม่ให้แสดงตัวออกมาจากการควบคุมของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงของร่างกาย และยังรวมถึงการนอนหลับที่ผิดปกติ หลับยากหลับกระท่อนกระแท่น จนถึงฮอร์โมนแปรปรวนทั้งผู้ชายและผู้หญิง
 

 

ประการที่สาม มีขบวนการปกปิดข้อมูลและข้อเท็จจริงของผู้ที่ได้รับผลกระทบและเสียชีวิตจากวัคซีนทำให้ตัวเลขการรายงานผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนต่ำกว่าความเป็นจริง รวมถึงการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารจากโซเชียลมีเดียและแอพลิเคชั่นในหลายระบบ ทำให้มีประชาชนอีกจำนวนมากยังไม่ทราบว่าตัวเองได้รับผลกระทบจากวัคซีน จึงทำให้ไม่สามารถหาแนวทางการรักษาตัวเองที่ถูกต้องได้  
 
ในขณะเดียวกัน“กลุ่มแพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์” ได้รวมตัวกันนำเสนอรายงานสถิติการเสียชีวิตของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติ (excess deaths) ในปี 2565 และ ปี 2566  ทั้งๆที่เป็นช่วงที่โรคโควิด-19ได้หยุดการระบาดไปแล้ว  โดยสถิติอัตราการเสียชีวิตของคนไทยในปี 2565 และ 2566 นั้น สูงเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงก่อนการเกิดโรคระบาด และมากกว่าช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วย  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการสืบสวนการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกตินั้น มีสัดส่วนอันเนื่องมาจากผลกระทบของวัคซีนมากเพียงใด
เพราะในรายงานการวิจัยสถิติในต่างประเทศพบว่า  มีผู้ที่เสียชีวิตจากวัคซีนโควิด-19 จริง และในผู้เสียชีวิตเหล่านี้ได้รับความเสียหาย ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด  ระบบทางโลหิตวิทยา ระบบทางเดินหายใจ หรือหลายระบบพร้อมกัน และมีการประเมินว่าการตายจากวัคซีนที่รายงานเข้าในระบบ VAERS  (Vaccine Adverse Event Reporting System) ของสหรัฐอเมริกาต่ำกว่าความจริงกว่า 20 เท่าตัว


 
ประการที่สี่  ผลการติดตามเบื้องต้นของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับภาควิชาอายุรศาสตร์และสาขาประสาทวิทยาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบข้อมูลจากการติดตามผลของผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งจากโรคโควิด-19 ในผู้ที่ฉีดวัคซีนในประเทศไทยเกือบ 100 รายในระยะเวลา 1 ปี พบค่าการอักเสบและโปรตีนที่แสดงให้เห็นว่าเกิดภาวะสมองเสื่อม ทั้งที่ยังไม่มีอาการและมีอาการแล้ว หรือแม้แต่ยังมีร่องรอยภาวะโรคสมองเสื่อมดำเนินต่อไปหากมีปัจจัยกระตุ้นแม้จะมีอาการป่วยดีขึ้นแล้วก็ตาม  ซึ่งจะสร้างปัญหาต่อประชากรกลุ่มนี้ต่อไปในอนาคต หากไม่รู้ตัวหรือไม่ได้หาหนทางในการป้องกันหรือเยียวยาเพื่อลดความเสี่ยงลงด้วยคำแนะนำอย่างถูกต้อง


 
ประการที่ห้า  นักวิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เผยแพร่รายงานเอาไว้ในวารสาร Nature Scientific Report เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2566 ได้กล่าวถึงประเด็นการฉีดวัคซีนหลังเข็มที่ 3 ว่าอาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันชนิด T-Cell หมดแรง นั่นหมายความว่าการฉีดวัคซีนมากเกินไปอาจทำให้ร่างการมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงได้


 
ประการที่หก  สำหรับประชาชนที่สงสัยว่าสุขภาพร่างกายของตัวเองอ่อนแอลงไม่หมือนเดิม อันเนื่องมาจากภาวะลองโควิด-19 หรือไม่ หรือสงสัยว่าจะได้รับผลกระทบจากวัคซีนหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ จะทำการสร้างเครือข่าย รับข้อมูลจากประชาชน
 
 

 
ประการที่เจ็ด สำหรับแนวทางการรักษาทั้งจากภาวะลองโควิด-19 หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนในปัจจุบัน ได้มีการดำเนินการรักษาอยู่แล้วทั้งในวงการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์ทางเลือก ธรรมชาติบำบัด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การใช้สมุนไพร และตำรับยาตลอดจนหัตถการทั้งการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนจีน ซึ่งวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จะร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะรวบรวมกรรมวิธีการเยียวยาและรักษา ทำการวิจัย และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบในโอกาสต่อไป
 
ทั้งนี้ขอเรียนเชิญแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ แพทย์แผนจีน หมอพื้นบ้าน เภสัชกรผู้รักชาติทั้งหลาย ได้ร่วมกันระดมเสนอหนทางจากประสบการณ์ตรงและให้ข้อมูลการช่วยเหลือและรักษาผู้ที่เป็นภาวะลองโควิด-19 และผู้ที่ได้รับผลกระทบของวัคซีน เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ได้มากที่สุดอย่างเป็นระบบและเข้าสู่เป็นงานวิจัยต่อไป


 
ประการที่แปด นอกจากขบวนการปกปิดข้อมูลแล้ว สังคมไทยควรตระหนักถึงความเสี่ยงอันตรายและรู้เท่าทันความเสี่ยงจากงานวิจัยในประเทศไทยที่สนับสนุนโดยทุนต่างชาติเพื่อหาหนทางการตัดต่อพันธุกรรมไวรัสจากค้างคาวเพื่อให้กลายเป็นเชื้อไวรัสในมนุษย์ อาจกลายเป็นการเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนบางกลุ่มที่ต้องการแสวงหาผลกำไรและความมั่งคั่งจากทำให้เกิดการแพร่ระบาดโรคระบาดสร้างความเสียหายต่อประชาคมโลกต่อไปในอนาคต และเห็นว่าสถาบันวิชาการในประเทศไทยควรเห็นแก่ประโยชน์ของชาติมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวหรือผลประโยชน์ของกลุ่มทุนต่างชาติ

 
สุดท้ายนี้สถานการณ์ปัญหาจากภาวะลองโควิด-19 และภาวะผลกระทบของวัคซีน จะต้องเริ่มต้นจากการยอมรับความจริง  การเปิดเผยความจริงในประโยชน์และความเสี่ยงตลอดจนผลกระทบอย่างรอบด้านเท่านั้น จะทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนในการตัดสินใจและสร้างความตระหนักต่อความเสี่ยงการรับวัคซีนและไม่รับวัคซีนในอนาคต   รวมถึงทำให้ประชาชนได้รับรู้เพื่อตระหนักและรีบตรวจคัดกรองความเสี่ยงก่อนที่จะเกิดอันตรายในผลกระทบต่างๆ  เพื่อทำให้เกิดการแสวงหาและรวบรวมหนทางในการฟื้นฟูสุขภาพหรือรักษาประชาชนอย่างถูกต้องต่อไป และจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลในฐานะผู้ที่สนับสนุนและรณรงค์การใช้วัคซีนมาโดยตลอด ต้องให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนอย่างเต็มที่และรวดเร็วต่อไปด้วย


 
แถลงโดย
ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และ
อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

15 มกราคม 2567

 

บทความเกี่ยวเนื่อง

 

โควิด และวัคซีนผลกระทบแบบยาว - นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

โควิด และวัคซีนผลกระทบแบบยาว

โควิดนี้มีได้แบบชนิดตอนเดียวจบ คือแบบสั้น ติดเชื้อแบบไม่มีอาการแพร่ไปให้คนอื่นเสร็จแล้วเชื้อก็หายไปจากตัวหรือติดเชื้อและเกิดอาการเบา กลาง หนัก จนถึงเสียชีวิต
 
หรือแบบต่อเป็นซีรีส์ สั้น ก็คือหายจากอาการทางปอด และอวัยวะอื่น ๆ แต่ตามต่อด้วยเส้นประสาทอักเสบแขนขาอ่อนแรงอัมพาตหายใจไม่ได้หรือมีสมองอักเสบต่าง ๆ
 
ซีรีส์สั้นแบบนี้ อยู่ในระยะเวลาสามเดือน
 
ทั้งนี้ไม่จำกัดอยู่แต่เพียงว่าอาการในครั้งแรกต้องหนักมากเสมอไป แม้แต่กลุ่มที่อาการน้อย 
 
ซีรีส์ยาว ก็มีความผิดปกติทอดยาวออกไปอีก และตั้งชื่อว่าเป็นหนังยาวของโควิด หรือ ลองโควิด (long Covid)
 
รูปแบบลักษณะดังกล่าวนี้ทับซ้อนกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Myalgic Encephalomyelitis (ME)/Chronic fatigue syndrome (CFS)โดยลักษณะประกอบไปด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นในสมองและระบบประสาทส่วนกลาง รวมทั้งมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ตลอดเวลามีอาการเหนื่อยล้ามหาศาล ทำงานไม่ได้ขาดสมาธิมีความผิดปกติทางระบบประสาทอัตโนมัติและไม่สามารถออกกำลังได้เลย
 
ตามประวัติศาสตร์สามารถสืบย้อนไปได้ตั้งแต่ในปี 1934 ในนครลอสแองเจลีส ปี 1948 ที่ไอซ์แลนด์  ปี 1955 ที่ลอนดอน และในปี 1984 ที่เนวาดา
ในปี 1955 คุณหมอจากไอซ์แลนด์  ได้เริ่มใช้เทอมหรือคำเรียก ME จากการเทียบเคียงลักษณะความผิดปกติในน้ำไขสันหลังระหว่างผู้ป่วยที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลรอยัลฟรีในลอนดอน และผู้ป่วยในปี 1948 ที่ไอซ์แลนด์ Akureyri
 
โดยลักษณะอาการบ่งบอกถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสมองและไขสันหลังร่วมกับมีอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงและมีอ่อนแรงและมีตะคริวร่วมด้วย
และจากหลายเหตุการณ์ต่อมาจนกระทั่งในปี 1984 ถึง 1985 ที่หมู่บ้าน Incline ในรัฐเนวาดาก็เกิดลักษณะที่คล้ายกันเช่นเดียวกันโดยทั้งหมดนี้มีอาการเริ่มต้นเป็นแบบติดเชื้อด้วยไวรัสทั้งหมด
 
และเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า chronic fatigue syndrome หรือ CFS ทั้งนี้โดยเชื่อว่ากลุ่มอาการทั้งสองแบบนั้นน่าจะมีรากฐานเกี่ยวพันกับกระบวนการอักเสบในระบบประสาท

 
โควิดแบบยาว อาจมีได้สูงถึง 30- 50% ของผู้ที่หายจากโควิดฉบับสั้นไปแล้ว และอาการที่เกิดขึ้นมีได้เป็น 100 อย่างและครอบคลุมแทบจะทุกอวัยวะของร่างกาย โดยมีตัวร่วมโดยเฉพาะความแปรปรวนทางสมอง จิตและอารมณ์ แต่ขณะเดียวกันก็มี ความคล้องจองเหมือนกับ ME/CFS ที่กล่าวแต่ต้น ทั้งนี้โควิดเก่งกว่ารุ่นแรกๆตั้งแต่ปี 1934 ทั้งนี้เพราะกระทบในคนมากมายกว่า และอาการดูเหมือนจะรุนแรงมากกว่าที่เคยปรากฏมาก่อนในรุ่นแรกๆ
 
จากหลักฐานของ ME/CFS ที่ได้จากรุ่นแรกๆ ซึ่งอาจจะนำมาใช้อธิบายในโควิดนั้น โดยเป็นไปได้ว่าการอักเสบที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เกิดขึ้นนอกสมองและระบบประสาทแต่สมองรับรู้โดยตอบโต้กับโมเลกุล ชิ้นส่วนเล็ก ๆของอนุภาคการอักเสบเหล่านี้ในเลือดและอาจเป็นไปได้ที่มีการส่งผ่านโมเลกุลเหล่านี้ผ่านผนังเส้นเลือดเข้าไปในสมอง ทั้งจากการนำพาเข้าไปหรือซึมผ่านเข้าสมองโดยตรงในบริเวณที่ผนังกั้นไม่แข็งแรงและนอกจากนั้นโมเลกุลของการอักเสบเหล่านี้ยังพบได้ในเส้นประสาทเวกัส หรือเส้นประสาทสมองเบอร์ 10 ที่ทอดยาวลงมายังลำไส้และสามารถส่งผ่านการอักเสบเหล่านี้ขึ้นไปจนกระทั่งถึงก้านสมองในวงจรของ NTS (nucleus tractus solitarius) ที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติรวมทั้งเส้นเลือดและหัวใจเป็นต้น
 
และน่าจะมีผลตามติดต่อเนื่องไปถึงกระบวนการควบคุมการทำงานของฮอร์โมนต่าง ๆ ที่มีการควบคุมจากสมองตั้งแต่ในส่วนของ ไฮโปธาลามัส (hypothalamus) ต่อมใต้สมอง (pituitary) และต่อเนื่องมาถึงระบบควบคุมฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายจนกระทั่งถึงต่อมหมวกไต
 


ปรากฏการณ์โควิดฉบับยาวจะกลายเป็นภาระสำคัญของระบบสาธารณสุขของทุกประเทศที่มีการระบาดของโควิด 
 
ทั้งนี้เนื่องจากคนที่ถูกกระทบจะมีได้ทุกอายุไม่จำกัดเพศ และเกิดจากการติดเชื้อโควิดแบบรุนแรงและไม่รุนแรง ด้วยอาการที่เกิดขึ้นจะบั่นทอนคุณภาพชีวิต ประสิทธิภาพของการทำงานกระบวนการของความคิดแม้กระทั่งสมาธิ สติปัญญา ความจำจะถดถอย และรุนแรงถึงขนาดที่ต้องมีการปรึกษาหรือได้รับการรักษาจากแพทย์ในแทบทุกแขนง รวมกระทั่งถึงจิตแพทย์ เพราะมีความรู้สึกหดหู่ ปฏิเสธสิ่งรอบข้างจนกลายเป็นก้าวร้าวหรือมีปัญหาทางสังคมแบบในปรากฏการณ์หลังจากที่มีภาวะเครียดอย่างรุนแรง (post traumatic stress syndrome)
 
และยิ่งไปกว่านั้นยังมีปรากฏการณ์ของผลกระทบของวัคซีนโควิดซึ่งในเวลาที่ผ่านมาหลังจากฉีดไปแล้วเกิดความเจ็บป่วยและเสียชีวิตรูปแบบเช่นเดียวกับโควิดแทบทุกประการ ในแบบสั้น ซีรี่ย์สั้นหรือแบบยาวทอดเวลาเป็นปี
 
เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องมองและเตรียมตัวไปพร้อม ๆ กัน


นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
15 มกราคม 2567

สถานการณ์ปัจจุบัน - นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

สถานการณ์ปัจจุบัน

1-คนไทยไม่ทราบว่าทำไมสุขภาพเสื่อมโทรมหลังจากหายจากโควิดหรือหลังจากฉีดวัคซีน

2- หมอเองก็เข้าใจว่าอาการหลังจากติดโควิดไปแล้วต้องไม่มากและต้องหายเองได้ แต่เมื่อไม่หายก็ไม่ทราบว่าจะรักษาอย่างไร (ลองโควิด)

3- คนรักษาเมื่อคนป่วยสุขภาพแย่หลังฉีดวัคซีน ก็จะไม่เข้าใจ และอธิบายไม่ได้ว่าทำไมแย่ลงทั้งๆ ที่ก่อนหน้ายังดี

4- คนรักษาเมื่ิอดูตามข้อมูล ของทางการก็จะรับทราบเพียงว่า วัคซีนนั้นต้องปลอดภัยอย่างแน่นอน  แต่เมื่อเกิดสภาพดังกล่าวก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายและรักษาอย่างไร 
ถึงกับตรวจแล้ว ตรวจอีก ก็ไม่เจอที่จะอธิบายอาการเหนื่อย ไม่สู้งาน เดินไม่ไหว สมาธิสั้น และอื่นๆ หัวจดเท้า
หรือ ถ้าเกิดมะเร็งขึ้น ก็รักษามะเร็งไป เกิดสมองอักเสบขึ้นก็รักษาไป
และนี่ก็คือ ลองวัคซีน

5- และทำให้ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เป็นกลางโดยให้มีการแจ้งข้อมูล ไปยังสถาบันที่ไม่มี ผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ และช่วยกันหาทางที่จะเยียวยารักษาผู้ที่ได้รับความทรมานเหล่านี้



นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
15 มกราคม 2567
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด