อวัยวะเพศกำกวมในเด็กทารกแรกเกิด
ศ.นพ.วศิน มีวัตถา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
ถาม : คำว่า "อวัยวะเพศกำกวม" หมายถึงอะไร
ตอบ : "อวัยวะเพศกำกวม" หมายถึง เพศที่ปรากฏออกมาหรืออวัยวะเพศที่ปรากฏออกมานั้นไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง อาจจะมีทั้ง 2 เพศอยู่ในที่เดียวกันจึงจะเรียกว่าอวัยวะเพศกำกวม
ถาม : สาเหตุของการเกิดอวัยวะเพศกำกวมเกิดจากสาเหตุใด
ตอบ : สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ มีรายงานและตรวจพบโดยเชื่อกันว่าฮอร์โมนเพศบางชนิด โดยเฉพาะยาคุมกำเนิด ยาที่ป้องกันการแท้งที่มีส่วนของฮอร์โมนเพศชายอยู่ในยานั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอวัยวะเพศกำกวมได้
ถาม : ลักษณะของอวัยวะเพศกำกวมแบ่งได้เป็นกี่ลักษณะ
ตอบ : โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ประเภทแท้ หมายถึง เด็กหรือบุคคลคนนั้นมีฮอร์โมนทั้ง 2 ประเภท หรือมีต่อมฮอร์โมนทั้ง 2 เพศ โดยมีทั้งรังไข่ และลูกอัณฑะในคน ๆ เดียวกัน
2. ประเภทเทียมมีฮอร์โมนหรือต่อมฮอร์โมนประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ประเภทหญิงก็ประเภทหญิง ประเภทชายก็ประเภทชายอย่างเดียว แต่ลักษณะของอวัยวะเพศที่ปรากฏนั้นไม่ สามารถบอกได้ว่าเป็นเภทใด
ถาม :จากการที่มีอวัยวะเพศกำกวมจะมีผลอย่างไรต่อสุขภาพของเด็ก
ตอบ : สุขภาพโดยทั่วไปการเจริญเติบโตจะไม่ต่างจากเด็กคนอื่น นอกจากเด็กคนนั้นจะมีอวัยวะเพศ 2 อย่างและไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร มีผลทางด้านสุขภาพจิตทั้งตัวเด็กและพ่อแม่ ทางพ่อแม่ก็เป็นกังวล นับตั้งแต่การดูแลการแต่งตัวหรือปฏิบัติตัวตามขนบธรรมเนียมประเพณีว่าจะเลี้ยงให้เป็นประเภทไหน ส่วนตัวเด็กเองก็เป็นปัญหาเข้ากลุ่มสังคมได้ยาก
ถาม : ปัจจุบันพบได้มากน้อยเพียงใด
ตอบ : มีไม่มากประมาณ 1 ใน 1,000 ของเด็กแรกเกิด
ถาม :ไม่ทราบว่าเป็นกรรมพันธุ์หรือไม่เรื่องของการที่เด็กมีอวัยวะเพศกำกวม
ตอบ : ทางกรรมพันธุ์มีส่วนด้วย แต่พอตรวจก็หาสาเหตุได้ไม่แน่นอน
ถาม : การรักษาโรคอวัยวะเพศกำกวมมีวิธีใดได้บ้าง
ตอบ : ต้องแบ่งเด็กเป็นประเภทแท้หรือประเภทเทียม ถ้าเป็นประเภทแท้แบ่งการรักษาเป็น 2 ประเภท
ประเภทแรก รักษาด้วยการให้ฮอร์โมน
ประเภทสอง คือผ่าตัดดูว่าเด็กเข้าข่ายลักษณะไหน ถ้าเป็นผู้หญิงก็ผ่าตัดให้เป็นอวัยวะหญิงเช่น ไม่มีช่องคลอดก็ทำช่องคลอด ส่วนอวัยวะเพศกำกวมเทียมต้องดูตามลักษณะของเด็กและฮอร์โมนของเด็ก ถ้าเด็กมีรังไข่ก็จะพยายามผ่าตัดเด็กคนนั้นให้เป็นผู้หญิง ถ้ามีลูกอัณฑะก็ผ่าตัดเป็นเพศชาย
ถาม : เคยมีพ่อแม่มาระบุเพศของเด็กบางหรือไม่
ตอบ : มี บางครั้งลักษณะของเด็กเป็นผู้ชายมีฮอร์โมนเพศชาย แต่ต้องการผ่าตัดเป็นเพศหญิง ซึ่งเพศต้องคุยกับผู้ปกครองอย่างละเอียด
ถาม : ถ้าไม่ได้ทำการรักษาเรื่องอวัยวะเพศกำกวมปล่อยทิ้งไว้จะมีปัญหาหรือไม่
ตอบ : มี ตอนโตจึงจะทำการรักษา
ถาม : การรักษาระหว่างเด็กเล็กหรือเด็กโตประเภทไนรักษายากกว่ากัน
ตอบ : ขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดปกติมากกว่า หากเป็นเด็กก็จะทำการผ่าตัดก่อนอายุ 5 ขวบ ระยะนี้เด็กจะได้เตรียมตัวทำเป็นเพศใดเพศหนึ่ง
ถาม : การทำใช้เวลานานและเสียค่าใช้จ่ายประมาณเท่าใด
ตอบ : การผ่าตัดใช้เวลาขึ้นอยู่กับความผิดปกติของร่างกาย ถ้าความผิดปกติไม่มากก็ไม่ใช้เวลานาน โดยเฉลี่ยใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3 ครั้ง โดยระยะความห่างประมาณ 3 เดือนต่อครั้ง
อินเตอร์เซ็กซ์ (Intersex) ภาวะเพศกำกวม คืออะไร?
1.7% ของประชากรทั่วโลก เกิดมาเป็นบุคคลที่เป็น “อินเตอร์เซ็กซ์” (Intersex) หรือภาวะเพศกำกวม หากพูดถึง LGBTQ+ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เพราะกลุ่ม I – Intersex ที่ไม่สามารถระบุเพศที่ชัดเจนได้ ถูกอธิบายว่า เป็นความเกี่ยวข้องกับลักษณะของเพศสรีระทางกายภาพที่แตกต่างไปจากอัตลักษณ์ทางเพศ อินเตอร์เซ็กซ์คือคนที่ไม่สามารถระบุเพศของตัวเองได้อย่างชัดเจน มีทั้งคนที่เกิดมามีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศ ปริมาณฮอร์โมนหรือโครโมโซมเพศที่ผิดปกติหรือแม้กระทั่งลักษณะด้านอื่น ๆ ที่ค่อย ๆ ปรากฏเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์การเป็นอินเตอร์เซ็กซ์มักจะหมายถึงลักษณะทางเพศที่แสดงออก ไม่ได้หมายถึงเพศสภาพหรือรสนิยมทางเพศ ซึ่งชาวอินเตอร์เซ็กซ์ก็สามารถมีอัตลักษณ์ ทางเพศที่หลากหลายได้เหมือนบุคคลทั่วไป
ในทางการแพทย์อินเตอร์เซ็กซ์ มีความซับซ้อนเพราะไม่มีรูปแบบตายตัว บางคนอาจจะเกิดมาพร้อมโครโมโซมเพศหญิง แต่ไม่มีมดลูกและรังไข่ หรือเกิดมาพร้อมโครโมโซมเพศชายแต่อวัยวะเพศคล้ายผู้หญิง เด็กบางคนมองจากภายนอกเหมือนจะมีทั้งอวัยวะเพศชายและหญิง ทำให้แพทย์ต้องดูแลรักษาต่อไป ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเพศสภาพหรือรสนิยมทางเพศของพวกเขามีปัญหาแต่อย่างใด [
PPTV]
ความหลากหลายทางเพศ ตอนที่ ๑ เพศสภาพ และ LGBTQI คืออะไร
LGBTQI คืออะไร “LGBTQI” เป็นค าที่ใช้เรียกกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดย LGBTQI เป็น ตัวอักษรย่อของค าที่ใช้เรียกกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะความหลากหลายทางเพศในแบบต่าง ๆ LGBTQI จึงเป็นการอธิบายถึงบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยอิงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทาง เพศและเพศวิถีอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender identity) บุษกร สุริยสาร ได้รวบรวมค าอธิบายถึงบุคคลที่มีรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ ที่หลากหลายไว้ว่า “กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTIQ นั้น ย่อมาจาก Lesbian, Gay, Bisexual,Transgender, Intersex and Queer โดยที่ เลสเบี้ยน (Lesbian) หมายถึง ผู้หญิงที่รักผู้หญิง เกย์(Gay) หมายถึง ผู้ชายที่รักผู้ชาย คนรักสองเพศ (Bisexual) หมายถึง บุคคลที่รักได้ทั้งผู้ชายและ ผู้หญิง คนข้ามเพศ (Transgender) หมายถึง บุคคลที่รู้สึกพึงพอใจกับเพศภาวะหรืออัตลักษณ์ทางเพศ ที่ตรงข้ามกับเพศก าเนิดของตน คนที่มีเพศก ากวม (Intersex) หมายถึง บุคคลที่เกิดมาพร้อมสรีระ ทางเพศ หรืออวัยวะสืบพันธุ์ที่ก ากวมหรืออาจมีลักษณะที่ไม่ตรงกับเพศชายหรือหญิง หรือมีอวัยวะ สืบพันธุ์ทั้งสองเพศ และเควียร์(Queer) หมายถึง บุคคลที่มีความภูมิใจในอัตลักษณ์ที่แตกต่าง (บุษกร สุริยสาร, ๒๕๕๗, หน้า ๒๐)
“I” Intersex หรือ อินเตอร์เซ็กส์ คือ บุคคลที่เกิดมามีลักษณะทางกายภาพโดยมีอวัยวะ สืบพันธ์ุของทั้งสองเพศ อินเตอร์เซ็กส์คือคนที่ไม่สามารถระบุเพศของตัวเองได้อย่างชัดเจน มีทั้งคนที่เกิด มามีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศ ปริมาณฮอร์โมนหรือโครโมโซมเพศที่ผิดปกติหรือแม้กระทั่งลักษณะ ด้านอื่น ๆ ที่ค่อย ๆ ปรากฏเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์การเป็นอินเตอร์เซ็กส์มักจะหมายถึงลักษณะทางเพศ ที่แสดงออก ไม่ได้หมายถึงเพศสภาพหรือรสนิยมทางเพศ ซึ่งชาวอินเตอร์เซ็กส์ก็สามารถมีอัตลักษณ์ ทางเพศที่หลากหลายได้เหมือนบุคคลทั่วไป [
Parliament.go.th]
อินเตอร์เซ็กส์ (Intersex) หรือภาวะเพศกำกวม ตัว I ใน LGBTQ+
อธิบายในเชิงการแพทย์อินเตอร์เซ็กส์มีความซับซ้อนเพราะไม่มีรูปแบบตายตัว บางคนอาจจะเกิดมาพร้อมโครโมโซมเพศหญิง แต่ไม่มีมดลูกและรังไข่ หรือเกิดมาพร้อมโครโมโซมเพศชายแต่อวัยวะเพศคล้ายผู้หญิง เด็กบางคนมองจากภายนอกเหมือนจะมีทั้งอวัยวะเพศชายและหญิง ทำให้แพทย์ต้องดูแลรักษาต่อไป
อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งเหมารวมว่าพวกเขาเป็นคนมีสองเพศหรือไม่มีเพศ เพราะนอกจากเรื่องของสรีระร่างกาย ยังมีปัญหาอีกมากมายที่อินเตอร์เซ็กส์ต้องเผชิญ
I = intersex เมื่อโลกของ ชาย-หญิง ไม่มีที่สำหรับฉัน
June 4, 2021