การดำเนินการ
1. กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์
1.1 การเฝ้าระวังโรค
1.1.1 กระบวนการ
1) การเฝ้าระวังโรคเชิงรับหรือเฝ้าระวังทางอาการ (passive surveillance) โดยการเก็บตัวอย่างสัตว์แสดงอาการสงสัยตามนิยามโรคพิษสุนัขบ้าส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการกรมปศุสัตว์
2) การเฝ้าระวังโรคเชิงรุก (active surveilance) โดยมีการส่งตรวจตัวอย่างสุนัข หรือแมว จำนวนร้อยละ 0.01 ของจำนวนประชากรสุนัขและแมวในพื้นที่ (1:10,000 ตัว) หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการกรมปศุสัตว์
3) สอบสวนโรคทางระบาดวิทยา กรณีที่พบผลบวกจากตัวอย่างส่งตรวจ
5) เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาห้องปฏิบัติการด้านการตรวจวินิจฉัยโรค และการตรวจภูมิคุ้มกันโรคหลังจากทำวัคนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
6) ฝึกอบรม พัฒนา สัตว์แพทย์นักระบาดวิทยาและทีมสอบสวนโรค
7) สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคในทุกระดับ
1.1.2 ผลผลิต: มีการส่งตัวอย่างตรวจครอบคลุมทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.1.3 ผลลัพธ์: ไม่พบเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขข้าจากทุกตัวอย่างที่ส่งตรวจ
1.2 การควบคุมโรค
1.2.1 กระบวนการ
1) กรณีที่พบโรค ดำเนินการประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ชั่วคราว พื้นที่ 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรคเป็นระยะเวลา 30 วัน ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
2) จัดทำประชาคมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) เพื่อกำหนดแนวทางการ
3) ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมวทุกตัวในพื้นที่เกิดโรค
4) กักสัตว์สัมผัสและสัตว์กลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในพื้นที่เกิดโรค
5) เก็บตัวอย่างที่แสดงอาการตามนิยามโรคหรือสัตว์ป่วยสงสัยส่งตรวจเพิ่ม
6) ควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าออกพื้นที่เกิดโรค
7) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน
8) เฝ้าระวังโรคต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
1.2.2 ผลผลิต ควบคุมโรคให้สงบภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน
1.2.3 ผลลัพธ์ ควบคุมโรคให้สงบและไม่ให้เกิดโรคซ้ำในพื้นที่ที่เคยเกิดโรค
1.3 การป้องกันโรค
1.3.1 กระบวนการ
1) บูรณาการร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและขึ้นทะเบียนสุนัขและแมวในระบบ Rabies One Data
2) บูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมว ดังนี้
2.1) การควบคุมปริมาณ คุณภาพ และประสิทธิภาพวัคซีน โดยกำหนดความแรงของวัคซีนที่จะนำมาฉีด (potency) ไม่น้อยกว่า 2 IU (NIH test) มีปริมาณเพียงพอ มีการกระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ (วัคซีนที่จัดซื้อโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) การจัดเก็บและการขนส่งวัคซีนที่มืคุณภาพ (cold chain system) การสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนทั้งการนำเข้าและการผลิตเอง และการใช้วัคซีนชนิดกิน (oral vaccine)
2.2) การสร้างและพัฒนาอาสาปศุสัตว์ ให้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ ให้มีจำนวนเพียงพอ ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีจำนวนสอดคล้องกับปริมาณสัตว์ ผ่านการฝึกอบรมและได้รับการมอบหมายให้ปฏิบัติงานถูกต้องตามกฎหมาย พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 สนับสนุนให้มีสวัสดิการ เช่น ค่าตอบแทนในการปฏิบัติงาน การได้รับการฉีดวัคซีนชนิด Pre-Exposure เป็นต้น
2.3) บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมประชากรสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคสัตว์สู่คน (Zoonosis) โดยเฉพาะโรคพิษสุนัขบ้า และป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญในสังคม อาทิ สุนัขดุกัดคน มลภาวะทางเสียงและมูลสุนัข อุบัติเหตุตามท้องถนน เป็นต้น ดังนี้
2.3.1) สำรวจจัดกลุ่มสนัขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในบริหารจัดการดังนี้
แผนการควบคุมโรคในสัตว์ ปีงบประมาณ 2566
กลุ่มที่ 1 สัตว์มีเจ้าของ (เลี้ยงภายใต้การควบคุมโดยเจ้าของ)
กลุ่มที่ 2 สัตว์มีเจ้าของ (เลี้ยงปล่อย)
กลุ่มที่ 3 สัตว์ไม่มีเจ้าของ (อาศัยในชุมชน วัด ตลาด)
กลุ่มที่ 4 สัตว์ไม่มีเจ้าของ (ดำรงชีวิตคล้ายสัตว์ป่า)
2.3.2) การบังคับใช้กฎหมาย เช่น เทศบัญญัติและข้อบัญญัติท้องถิ่น ควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ ตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การจัดสวัสดิภาพสุนัขในฟาร์มเพาะพันธุ์สุนัข, ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การจัดสวัสดิภาพแมวในฟาร์มเพาะพันธุ์แมว, ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การจัดสวัสดิภาพสัตว์ในสถานที่ขายสัตว์เลี้ยงภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557, การตรวจสอบการค้าสัตว์ตามถนน ตลาด ภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558, ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับคอกสุนัข ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551, การบังคับใช้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เป็นต้น
2.3.3) การบริหารจัดการสถานสงเคราะห์สัตว์ ศูนย์พักพิงสัตว์ และการหาบ้านใหม่โดยกำหนดกลุ่มสุนัขที่จะนำเข้าสถานสงเคราะห์สัตว์หรือศูนย์พักพิงสัตว์ ทำหมันและฉีดวัคซีนฝึกสุนัข ประชาสัมพันธ์หาเจ้าของใหม่ หรือหาบ้านใหม่
2.3.4) การให้การศึกษาปลูกจิตสำนึก ประชาสัมพันธ์ และการสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชน เช่น การบรรจุความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
1.3.2 ผลผลิต: มีฐานข้อมูลประชากรสุนัขและแมวในระบบ Rabies One Data ครอบคลุมทุกพื้นที่ ฉีดวัคซีน *ในสุนัขและแมวโดยรวมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80, ผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว รวมกันได้ไม่น้อยกว่า 87,000 ตัว
1.3.3 ผลลัพธ์: สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการบริหารจัดการควบคุมประชากรสุนัขและแมวได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน
1.4 การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า
1.4.1 กระบวนการ
1) ดำเนินการประเมินโดยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินและรับรองพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า 3 ระดับ ได้แก่ ระดับท้องถิ่นปลอดโรค ระดับอำเภอปลอดโรค และระดับจังหวัดปลอดโรค
2) ใช้หลักเกณฑ์การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งประกอบด้วย 6 เกณฑ์ ได้แก่ การพบโรคพิษสุนัขบ้าในคน การพบโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ การสำรวจสุนัขและแมว การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การควบคุมประชากรสัตว์ และความยั่งยืนของการปลอดโรคพิษสุนัขบ้า
3) ดำเนินการรับรองพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับท้องถิ่นที่ผ่านการประเมินให้เป็นพื้นที่ปลอดโรคทั้งระดับท้องถิ่นปลอดโรค ระดับอำเภอปลอดโรค และระดับจังหวัดปลอดโรค
1.4.2 ผลผลิต: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปลอดโรคอย่างน้อยร้อยละ 80
1.4.3 ผลลัพธ์: ทุกจังหวัดปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ภายในปี พ.ศ. 2568
1.2 การติดตามและประเมินผลโครงการ
1.2.1 ตรวจติดตามโดยหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโครงการได้แก่ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ และสำนักงานปศุสัตว์เขต 1 - 9 ตามกรอบระยะเวลาของแต่ละโครงการย่อย
1.2.2 ตรวจติดตามและประเมินผลโครงการโดยคณะผู้ตรวจราชการกรมปศุสัตว์ตามกรอบการตรวจราชการของกรมปศุสัตว์
1.2.3 ตรวจติดตามและประเมินผลโครงการโดยคณะผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามกรอบการตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.3 การรายผลการดำเนินงาน
1.3.1 แบบฟอร์มการรายงานของแต่ละโครงการฯ
1.3.2 รายงานในระบบ e-Operation และระบบ Thai Rabies Net ของกรมปศุสัตว์
1.3.3 รายงานผลการสำรวจและขึ้นทะเบียนในระบบ Rabies One Data
2. งบประมาณ
งบประมาณดำเนินการ โดยรวม 53 ,933,300 บาท ประกอบด้วยโครงการย่อย 8 โครงการ
3. ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์
2. สำนักงานปศุสัตว์เขต 1-9
3. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด 76 จังหวัด
4. สำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร
5. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
6. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ประจำภาค
7. ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์
8. กองสารวัตรและกักกัน
4. หน่วยงานร่วมดำเนินงาน
1. สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
2. สัตวแพทยสภา
3. สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
4. สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย
5.ภาคีคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
6. กรมควบคุมโรค
7. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
8. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
9. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
10. กรมประชาสัมพันธ์
11. สำนักตรวจราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
12. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
13. คณะสัตวแพทยศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัย
14. หน่วยงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป โดยดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. อัตราการพบโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ลดลงจากปีที่ผ่านมาและไม่พบโรคภายในปี พ.ศ. 2568
3. สามารถขับเคลื่อนการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การสร้างพื้นที่ปลอดโรค ทำให้ไม่มีคนและสัตว์เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยอย่างยั่งยืน
ความเป็นมาโครงการ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้พระราชทานพระดำริกับ ศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในคราวเสด็จไปทรงประชุมเตรียมงานออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ และศูนย์ดูแลสุนัขจรจัด ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 และในคราวเสด็จไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดของกองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2559 สรุปความว่า ทรงห่วงใยปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า ที่เป็นปัญหาสำคัญของชาติ และทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย โดยต้องค่อยเป็นค่อยไป และสัตวแพทย์ควรมีบทบาทในการช่วยดำเนินการ