ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สมศักดิ์ อนุมัติเกณฑ์ฯ 30 บาทรักษาทุกที่ ในพื้นที่ กทม.

สมศักดิ์ อนุมัติเกณฑ์ฯ 30 บาทรักษาทุกที่ ในพื้นที่ กทม. Thumb HealthServ.net
สมศักดิ์ อนุมัติเกณฑ์ฯ 30 บาทรักษาทุกที่ ในพื้นที่ กทม. ThumbMobile HealthServ.net

“สมศักดิ์” นั่งประธานประชุม “บอร์ด สปสช. ชุดใหม่” ประเดิมนัดแรก อนุมัติประกาศหลักเกณฑ์ฯ รองรับนโยบาย “30 บาทรักษาทุกที่ในพื้นที่ กทม.” และเห็นชอบใช้ “ตราสัญลักษณ์ใหม่” สำหรับหน่วยบริการเข้าร่วมให้บริการตามนโยบาย ด้าน “ผู้ว่าฯ กทม.” ห่วงชาว กทม. สับสน แห่เข้ารักษา รพ.ใหญ่ ฝาก สปสช.ย้ำชัดเจน “รักษาทุกที่ใน กทม. เฉพาะบริการปฐมภูมิ” เท่านั้น

5 สิงหาคม 2567  ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที่ 8/2567 ซึ่งเป็นการประชุมฯ นัดแรกของคณะกรรมการฯ ชุดใหม่ วาระปี 2567-2571 โดยมี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาและเห็นชอบ “การกำหนดมาตรการตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่” เพื่อรองรับการขับเคลื่อนนโยบายฯ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) 

            นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ โดยครอบคลุมพื้นที่ กทม. เป็นจังหวัดนำร่องที่ 46 และมีกำหนดการ Kick off ในวันที่ 26 สิงหาคม 2567 นี้ เพื่อรองรับการดำเนินการขับเคลื่อนและเป็นไปตามมติ บอร์ด สปสช. ครั้งที่ 7/2567เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ที่ให้ สปสช. จัดทำร่างประกาศต่างๆ ในการดำเนินการ และนำมาสู่การนำเสนอต่อบอร์ด สปสช. ในวันนี้ เพื่อพิจารณาร่างประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขและการให้บริการสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ ตลอดจนการติดตราสัญลักษณ์การเข้าร่วมนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ภายใต้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่ชาติ พ.ศ. 2545


            ทั้งนี้ ร่างประกาศหลักเกณฑ์ฯ ในวันนี้ที่ บอร์ด สปสช. ได้เห็นชอบมีจำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ 

            1.ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการให้บริการของหน่วยบริการตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2545 
 
            2.ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการในการรับบริการของประชาชนตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2567 

            3.ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตราสัญลักษณ์และการใช้ตราสัญลักษณ์ ของหน่วยบริการที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ พ.ศ. 2567 

            4.ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของผู้รับบริการในหน่วยบริการที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการตามนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

 

 
            “ภาพรวมเนื้อหาของร่างประกาศฯ ใน 2 ฉบับแรกข้างต้น เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการให้บริการของหน่วยบริการ และการเข้ารับบริการของประชาชนผู้ใช้สิทธิบัตรทองในพื้นที่ กทม. ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ โดยกรณีที่เจ็บป่วยทั่วไปหรือเจ็บป่วยเรื้อรังทั่วไปที่มีการรับยาต่อเนื่อง สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการนวัตกรรม หรือหน่วยบริการประจำ ที่ได้รับการรับรองและติดป้ายสัญลักษณ์การเข้าร่วมให้บริการนโยบาย 30 บาทรักษาที่ทุกที่” ประธานบอร์ด สปสช. กล่าว

 
            นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนประกาศฯ ฉบับที่ 3 เป็นการกำหนดตราสัญลักษณ์และหลักเกณฑ์ใช้ตราสัญลักษณ์ตามนโยบายฯ ในพื้นที่ กทม. โดยกำหนดเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงหน่วยบริการที่ให้บริการสาธารณสุข และทราบถึงหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนหรือส่งเสริมการให้บริการสาธารณสุขดังกล่าว โดยผู้ที่นำตราสัญลักษณ์นี้ไปใช้ต้องเป็นหน่วยบริการที่ให้บริการสาธารณสุขตามนโยบาย 30 บาทฯ ที่ผ่านการรับรองจาก สปสช.   


 
            ส่วนประกาศฯ ฉบับที่ 4 เป็นการดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของผู้รับบริการในหน่วยบริการตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มุ่งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการรับบริการ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลตามสิทธิได้โดยสะดวกเพื่อประโยชน์ในการบริการสาธารณสุขให้แก่ประชาชน มีการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างครบถ้วนและไร้รอยต่อ โดยมีการยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย 

 

            ด้าน นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) กล่าว สิ่งที่อยากฝากคือ อยากให้ สปสช. ทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์กับประชาชนใน กทม. ให้ชัดเจนว่า นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ใน กทม. เป็นการเข้ารับบริการเฉพาะกรณีที่ปฐมภูมิเท่านั้น เพราะกังวลว่าหากไม่ชัดเจน โดยประชาชนเข้าใจว่าไปที่ไหนก็ได้ก็จะมุ่งไปรับบริการที่โรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้ ดังนั้นจึงขอให้ สปสช. ทำการสื่อสารกับประชาชนให้ชัดเจน  

 
            นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ประกาศทั้งหมดนี้ เป็นการองรับการเดินหน้า “นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ใน กทม.” โดยประชาชนที่จะเข้ารับบริการต้องเป็นหน่วยบริการที่มีตราสัญลักษณ์ให้บริการ 30 บาทฯ ติดอยู่เท่านั้น และหน่วยบริการที่จะได้รับตราสัญลักษณ์นี้ได้ต้องผ่านการรับรองจาก สปสช. ก่อน ต้องมีการเชื่อมต่อข้อมูลในระบบก่อน อย่างไรก็ตามจากที่กรรมการในที่ประชุมได้มีข้อสังเกต ทาง สปสช. ก็จะรับไปดำเนินกาต่อไป รวมถึงการจัดให้มีการประเมินผลนโยบายฯ เพื่อการดำเนินการต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


            ทั้งนี้ ก่อนการประชุมบอร์ด สปสช. นายสมศักดิ์ ได้รับยื่นหนังสือจาก รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ประธานคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายโรงพยาบาล กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ ยูฮอสเน็ต (Uhosnet) และนพ.อนุกูล ไทยถานันดร์ ประธานชมรมรพศ./รพ.ท. พร้อมตัวแทนเครือข่ายบุคลากรสาธารณสุข กรณีปัญหาการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวเพื่อให้บริการประชาชนไม่เพียงพอ โดย นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ปัญหานี้ไม่ใช่ครั้งแรก และเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะช่วยกันดูเพื่อแก้ไขปัญหา ทั้งการเพิ่มเติมงบประมาณ การนำนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเข้ามาดูแลประชาชนให้เจ็บป่วยลดลง 

นายก Kick Off 30 บาทรักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร 26 สิงหาคม นี้

              นายสมศักดิ์ เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม 2567 จะมีการ Kick Off โครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร “30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า” โดยจะเป็นจังหวัดนำร่องที่ 46 ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ หลังได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความพร้อมที่จะให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯได้

              กิจกรรมการ Kick Off  จัดที่ลานอเนกประสงค์ ชั้น 2 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถ.แจ้งวัฒนะ กทม. โดยได้รับเกียรติจาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ และ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  พร้อมจะมีการเปิดตัวตราสัญลักษณ์ (Logo) “30 บาทรักษาทุกที่” เพื่อใช้ในการรับรองคุณภาพและการเข้าร่วมโครงการฯ ของหน่วยบริการทั่วประเทศ รวมถึงการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในการเข้ารับบริการของประชาชน

            “การ Kick Off จะเป็นการตอกย้ำการเดินหน้านโยบายนี้ของรัฐบาล โดยท่านนายกรัฐมนตรี นอกจากจะมอบป้ายและโล่ตราสัญลักษณ์ 30 บาทให้ผู้แทน 7 หน่วยนวัตกรรมบริการแล้ว ยังจะปาฐกถาพิเศษ “30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า” ขณะที่ นางสาวแพทองธาร จะกล่าวปาฐกถา “จาก 30 บาทรักษาทุกโรค สู่ 30 บาทรักษาทุกที่” เพื่อให้เห็นการผลักดันโครงการที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งหมดนี้ เป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจของรัฐบาล ในการดูแลสุขภาพประชาชนไทย พร้อมเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน ในการเข้าถึงสิทธิและบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง 30 บาท” รมว.สาธารณสุข กล่าว  

            ขณะที่ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในส่วน สปสช. ที่ร่วมขับเคลื่อนนโยบายฯในพื้นที่ กทม. ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการภายใต้บทบาทและหน้าที่ของ สปสช. ทั้งการเพิ่มหน่วยบริการนวัตกรรม ให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ การจัดหาหน่วยบริการทุติยภูมิเพิ่มเติม เพื่อลดความแออัดหน่วยบริการตติยภูมิ ยกระดับ Contact Center 1330 เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยแก้ปัญหาต่างๆให้กับประชาชนและหน่วยบริการ พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของหน่วยบริการในพื้นที่ กทม. เพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังได้ขับเคลื่อนระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเชิงรุก รวมถึงการจัดระบบสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

            เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า ส่วนการเข้ารับบริการของประชาชน นอกจากการเข้ารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำตามสิทธิของท่านแล้ว ยังสามารถไปรับบริการที่หน่วยบริการนวัตกรรม 7 แห่ง ประมาณ 1,500 แห่ง โดยสังเกตตราสัญลักษณ์ที่จะมีการเปิดตัว ได้แก่ ร้านยาคุณภาพ คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น คลินิกทันตกรรมชุมชนอบอุ่น คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น คลินิกเทคนิคการแพทย์ชุมชนอบอุ่น คลินิกกายภาพบำบัดชุมชนอบอุ่น และคลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเติมบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวก และลดความแออัดได้อีก ซึ่งจะเปิดตัวในวันที่ 26 สิงหาคม นี้ เช่น บริการการแพทย์ทางไกล เจาะเลือดที่บ้าน รถรับส่งผู้ป่วย รถทันตกรรมเคลื่อนที่ และตู้เทเลเมดดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ในส่วนของโรงพยาบาลรัฐสังกัดต่างๆนั้น จะเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อผู้ป่วย 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด