*เรื่องและภาพจาก รพ.สุราษฎร์ธานี
6 กรกฎาคม 65 รับผู้ป่วยสโตรคหญิงวัย 79 ปี จากเคียนซา ส่งต่อรพ.สงขลานครินทร์ LINK
6 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.07 น. ศูนย์กู้ชีพตาปีได้รับการสนับสนุนเอลิคอปเตอร์เพื่อส่งต่อ ผู้ป่วยฉุกเฉิน เพศหญิง อายุ 79 ปี มีประวัติแขนขาด้านซ้ายอ่อนแรงเฉียบพลัน และมีอาการสับสน เข้ารับการรักษา รพ.เคียนซา และส่งต่อมายัง รพ.สุราษฎร์ธานี
แพทย์วินิจฉัยเป็น Stroke Fast track : Right middle cerebral infarction (ภาวะหลอดเลือดในสมองอุดต้นเฉียบพลัน) จำเป็นต้องได้รับการสวนเปิดหลอดเลือดสมอง ซึ่งเกินศักยภาพในการรักษาของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
นพ.คมกฤษ ปัญญวัฒน แพทย์เจ้าของไข้ ได้ ประสานงานส่งต่อ รพ.สงขลานครินทร์ แพทย์ผู้ให้การรักษาหลอดเลือดคือ ผศ.พญ.รุจิมาส คุ้มทอง และ ผศ.พญ.ธัญลักษณ์ อมรพจน์นิมมาน แพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉินท้องที่ คือ นพ.จารุวัฒน์ สำลีพันธ์
ประสานงานผ่านศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อแจ้งขอสนับสนุนอากาศยานจากหน่วย กองบินตำรวจภูธร8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ Bell 212 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย พ.ต.ท.กิตติ จันทร์คง ร.ต..วสุพล ราชวงศ์ ชุดลำเลียงทางอากาศ
โดยทีม รพ.สุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย พญ.อมรรัตน์ มณีรัตนประเสริฐ พว.รัชนาภรณ์ ฟูแก้ว เมื่อเวลา 15.25 น. ผู้ป่วยได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จ.สงขลา เป็นที่เรียบร้อย การส่งต่อครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
7 กรกฎาคม 65 บินรับผู้ป่วยสโตรค ชายสูงอายุ จากท่าโรงช้าง ส่งต่อรพ.ตรัง LINK
7 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.06 น ศูนย์กู้ชีพตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการสนับสนุน เฮลิคอปเตอร์เพื่อส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน เพศชาย อายุ 82 ปี ประวัติมีอาการอ่อนแรงแขนขาด้านขวา และมีอาการ สับสน เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลท่าโรงช้าง โดย แพทย์หญิงสิรินาถ จันทร์ลา และ นายแพทย์คมกฤษ ปัญญวัฒน วินิจฉัยโรคเป็น Stroke fast track : Left middle cerebral artery occlusion (ภาวะหลอด เลือดอุดตันในสมองเฉียบพลัน) จำเป็นต้องได้รับการสวนเปิดหลอดเลือดมอง ซึ่งเกินศักยภาพในการรักษา ของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จึงได้ประสานงานส่งต่อโรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง แพทย์ผู้ให้การรักษาเปิด หลอดเลือด คือแพทย์หญิงทิพย์ลัดดา บุญชัย และประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยเฉพาะกิจกองบิน7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเภทอากาศยาน เฮลิคอปเตอร์ EC725มีชุดปฏิบัติการบินประกอบด้วย รต.จิรันรนิร ธโนปจัยสิทธกุล ,พ.อ.อ.พิศาล แสงโทโพธิ์ และชุดปฏิบัติการลำเลียงทางอากาศโดยทีมโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย แพทย์หญิงมัลลิกา บุญเนียม พว.จิราภรณ์ สุขวิสุทธิ์ เมื่อเวลา 12.58 น ผู้ป่วยได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง เป็นที่เรียบร้อย การส่งต่อครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
8 สิงหาคม 65 บินรับผู้ป่วยจากพะงัน ส่งต่อ รพ.สุราษฎร์ LINK
8 สิงหาคม 2565 เวลา 12.28 น. รพ.เกาะพะงัน และศูนย์กู้ชีพนเรนทรอ่าวไทย ได้ร้องขอการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน เพศชาย อายุ 91 ปี มีประวัติหายใจหอบเหนื่อย วูบหมดสติ ชีพจรต่ำ ความดันโลหิตตก แพทย์วินิจฉัยเป็น NSTEMI with complete heart block (ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน) จำเป็นต้องได้รับการสวนเปิดหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกินศักยภาพในการรักษาของโรงพยาบาลเกาะพะงัน นพ.พหล พิระภิญโญ แพทย์เจ้าของไข้ ได้ประสานงานส่งต่อ รพ.สุราษฎร์ธานี แพทย์ผู้ให้การรักษาคือ นพ.สุชาติ อรุณศิริวัฒนา แพทย์ อายุรศาสตร์โรคหัวใจ แพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉินท้องที่และหัวหน้าทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ คือ นพ.จารุวัฒน์ สำลีพันธ์ ประสานงานผ่านศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อแจ้งขอสนับสนุน อากาศยานจากหน่วยกองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ EC725 มีชุดปฏิบัติการ บินประกอบด้วย น.ต.อิศรายุทธ แสงจันทร์ และ ร.อ.ศฎิล ฟักเฟื่องบุญ ชุดลำเลียงทางอากาศประกอบด้วย นฉพ.ชูรียานา อีซอ รพ.สุราษฎร์ธานี และ พ.ว.ณัฐณิชา บุญคุ้มครอง รพ.เกาะพะงัน เมื่อเวลา 15.48 น. ผู้ป่วยได้ส่งต่อเข้ารับการรักษาปฏิบัติการสวนหัวใจเป็นที่เรียบร้อย การส่งต่อครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
9 ตุลาคม 65 รับผู้ป่วยฉุกเฉินดญ.ชาวอิสราเอล จากเกาะพะงัน ส่งต่อ รพ.สุราษฎร์ธานี LINK
9 ตุลาคม 2565 เวลา 13.21 น. โรงพยาบาลเกาะพะงัน และศูนย์กู้ชีพนเรนทรอ่าวไทย ได้ร้องขอการ สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินเด็กหญิงชาวอิสราเอล อายุ 6 ปี 11 เดือน มีประวัติสัมผัสแมงกะพรุนกล่อง มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณแขนและขาทั้งสองข้าง หลังจากนั้นหัวใจหยุดเต้น วินิจฉัยเป็น Post cardiac arrest from Box Jellyish Venom (ภาวะหัวใจหยุดเต้นหลังสัมผัสพิษแมงกะพรุนกล่อง) จำเป็นต้องได้รับการ รักษาและดูแลใกล้ชิดโดยกุมารแพทย์ ซึ่งเกินศักยภาพในการรักษาของโรงพยาบาลเกาะพะงัน นพ.ฐานุวัตร ทิพย์พินิจ แพทย์เจ้าของไข้ ได้ประสานงานส่งต่อ รพ.สุราษฎร์ธานี แพทย์ผู้ให้การรักษาคือ พญ,นพวรรณ พงศ์โสภา กุมารแพทย์ ทารกแรกเกิด แพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉินท้องที่และหัวหน้าทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ คือ พญ.ธัญวรรณ กุศลชู ประสานงานผ่านศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อแจ้งขอสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยกองบิน7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ EC725 มีชุดปฏิบัติการบินประกอบด้วย น.ต.ปิยะวัฒน์ ด้วงพิบูลย์ และ ร.อ.เอกลักษณ์ จำปาม่วง ชุดลำเลียงทางอากาศประกอบด้วย พ.ว.รัชนาภรณ์ ฟูแก้ว โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี น.ท.หญิง เหมวรรณ หมายสุข และ พ.อ.อ.กิตติชัย พางาม โรงพยาบาลกองบิน 7 เมื่อเวลา 16.54 น. ผู้ป่วยได้ส่งต่อ เข้ารับการรักษาที่หออภิบาลผู้ป่วยเด็กวิกฤตเป็นที่เรียบร้อย การส่งต่อครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ