ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หญิงสูงอายุ เสี่ยงเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย มากกว่าชายเกือบ 2 เท่า

หญิงสูงอายุ เสี่ยงเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย มากกว่าชายเกือบ 2 เท่า HealthServ.net
หญิงสูงอายุ เสี่ยงเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย มากกว่าชายเกือบ 2 เท่า ThumbMobile HealthServ.net

ในแต่ละวัน เราต่างก็แก่ตัวลงเรื่อย ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่ช้าก็เร็วเราทุกคนต้องเผชิญ แต่เราสามารถดูแลตัวเองและคนที่เรารักเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีได้ตั้งแต่วันนี้ ซึ่งหัวใจสำคัญที่มีส่วนช่วยชะลอสภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยให้ช้าลงได้คือ “โภชนาการอาหาร” ที่ได้รับแต่ละวัน ผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ต้องเผชิญกับความเหนื่อยล้าทั้งจากการใช้ชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งการได้รับโภชนาการที่ดีและปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตมีส่วนช่วยให้มีสุขภาพกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกที่แข็งแรงได้ การสร้างความเข้าใจว่าโภชนาการส่งผลต่อการสูงวัยอย่างไร สามารถช่วยให้ผู้หญิงออกแบบการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

 
 
 

อายุที่มากขึ้นส่งผลต่อสุขภาพของผู้หญิงอย่างไร?

 
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุ 45 – 55 ปี สุขภาพและร่างกายของผู้หญิงจะเริ่มแสดงอาการเสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว – ซึ่งจะเร็วกว่าประมาณ 10 ปีหรือมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ชาย โดยจะเริ่มแสดงอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาทิ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมากถึง 33%[i] ภาวะกระดูกอ่อนเสื่อมถึง 23%[ii] หรือแม้แต่การสูญเสียโปรตีนซึ่งเป็นโครงสร้างของผิวหนังมากถึง 30%[iii] เป็นต้น ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) หรือ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและการทำงานของกล้ามเนื้อที่ถดถอยไปตามอายุ มีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการขยับร่างกายน้อย การขาดโภชนาการ
 
 
 
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยหลายงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้หญิงสูงอายุ ซึ่งประกอบไปด้วย
 
  • งานวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุอายุระหว่าง 60 – 89  ปีจำนวน 1,000 คนในประเทศจีน พบว่าผู้หญิงสูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (21.7%) ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ชายสูงอายุ (12.9%) เกือบ 2 เท่า[iv]
  • งานวิจัยล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 จาก National University Hospital ประเทศสิงคโปร์ พบว่า ผู้หญิงอายุ 45 ถึง 69 ปีมีการลดลงของความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อเมื่ออายุเพิ่มขึ้นและมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานถึง 2 เท่า[v]
  • การศึกษาในกลุ่มเป้าหมายชาวสิงคโปร์จำนวน 500 คนได้พบข้อสรุปที่คล้ายคลึงกัน โดยได้พบโอกาสที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าในกลุ่มผู้ที่ขาดสารอาหาร[vi] และจากการวิจัยระยะยาวที่ติดตามผู้คนเกือบ 6,000 คนในประเทศสิงคโปร์ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี พบว่าการมีภาวะโภชนาการที่ไม่ดีส่งผลกระทบต่อร่างกาย[vii]
 
 
ในขณะที่ผู้หญิงส่วนมากไม่ทันสังเกตเห็นสัญญาณการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในระยะเริ่มต้น เพราะมวลกล้ามเนื้อจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ตามธรรมชาติ ทำให้คนส่วนใหญ่ละเลยสัญญาณการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าถึงช่วงเวลาที่ร่างกาย “แก่ตัวลง” ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว พละกำลังความแข็งแรงของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว
 
 
 
 

โภชนาการส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพ

 
โภชนาการที่ครบถ้วนและเพียงพอถือหนึ่งในเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี เพราะสารอาหารต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และผิวหนัง ซึ่งการที่จะดูแลร่างกายของเราให้มีสุขภาพที่ดี มีความสุขในทุกวัน ร่วมกับการได้รับโภชนาการครบถ้วนและเพียงพอ มีดังนี้
 
 
 
โปรตีน
 
โปรตีน สารอาหารที่สำคัญที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำว่าปริมาณโปรตีนที่ผู้สูงอายุควรได้รับ คือ 0.8 ถึง 1 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน[viii] อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุจำนวนมากมักได้รับปริมาณโปรตีนไม่เพียงพอในแต่ละวัน เนื่องจากร่างกายที่ถดถอยส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากปัญหาเกี่ยวกับฟัน ต่อมรับรสทำงานผิดปกติ ปัญหาในการกลืน ฯลฯ รวมไปถึงอัตราการเผาผลาญที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายต้องการพลังงานที่ลดลง ทั้งหมดนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะขาดสารอาหารได้ เราสามารถดูแลสุขภาพมวลกล้ามเนื้อผ่านโภชนาการได้ โดยการเสริมโปรตีนที่มีไขมันต่ำในปริมาณที่เพียงพอจาก สัตว์ปีก ปลา ผลิตภัณฑ์นม ถั่วเหลือง และพืชตระกูลถั่ว
 
 
 
เบต้า ไฮดรอกซี เบต้า เมทิลบิวไทเรต (HMB)
 
HMB สารอาหารสำคัญที่มาจากกรดอะมิโนลิวซีน ซึ่งพบได้ในอาหารจำพวก ไข่ อกไก่ อะโวคาโด และ ดอกกะหล่ำปรุงสุก โดยความสำคัญของ HMB คือ มีส่วนช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ[ix] HMB มีส่วนช่วยในการชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งจากงานวิจัยที่ศึกษาผลของการเสริมโภชนาการแก่ผู้สูงอายุในชุมชนประเทศสิงคโปร์ หรือ SHIELD Study โดยแอ๊บบอต ร่วมกับโรงพยาบาลชางงี เจเนอรัล (Changi General Hospital) และ ซิงเฮลท์โพลีคลินิค (Singhealth Polyclinic) พบว่าการบริโภคอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วนในแต่ละวันหรือ อาหารเสริมทางการแพทย์ที่มี HMB* มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะการขาดโภชนาการได้ถึงสามเท่า และยังมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อแขน ขา แข็งแรงยิ่งขึ้นในผู้สูงอายุ[x] หากแต่การที่จะได้รับ HMB ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายผู้สูงอายุจากอาหารเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก การเสริมด้วยอาหารเสริมทางการแพทย์ที่มีส่วนประกอบของ HMB* จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเสริมโภชนาการได้อย่างครบถ้วน
 
 
 
วิตามินดี
 
วิตามินดี ถือเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับผู้หญิงเมื่อมีอายุมากขึ้น เพราะมีส่วนช่วยในกระบวนการดูดซึมแคลเซียม และมีส่วนช่วยเสริมโครงสร้างและความแข็งแรงให้แก่กระดูก โดยปริมาณสารอาหารที่แนะนำ (Recommended Dietary Allowance – RDA) สำหรับวิตามินดีในผู้หญิงอายุ 51 – 70 ปี จะอยู่ที่ 15 ไมโครกรัม และ 20 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับผู้หญิงอายุมากกว่า 70 ปี เพราะเมื่ออายุมากขึ้นจะมีแนวโน้มที่จะขาดวิตามินดีตามไปด้วยเนื่องจากการรับวิตามินดีจากแสงแดดได้น้อยลง[xi] ประกอบกับการใช้ชีวิตประจำวันที่ใช้เวลานอกบ้านน้อยลงกว่าแต่ก่อนและมีการใช้ครีมกันแดดตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ได้รับวิตามินดีจากแหล่งธรรมชาติได้น้อยลง การได้รับวิตามินดีให้เพียงพอจากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงควรเสริมการรับวิตามินดีเพิ่มเติมผ่านทางการได้รับผ่านแสงแดดธรรมชาติ รวมไปถึงการเน้นทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีอย่าง นม น้ำผลไม้ ไข่แดง และปลาที่มีไขมันสูงอย่าง ปลาแซลมอน และปลาซาร์ดีน
 
 
 
แคลเซียม
 
แคลเซียมถือเป็นอีกหนึ่งสารอาหารสำคัญสำหรับการส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อเป็นไปตามปกติ และช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง ซึ่งปริมาณแคลเซียมที่แนะนำในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 51 ปีขึ้นไปจะอยู่ที่ 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยอาศัยการรับประทานควบคู่ไปกับวิตามินดี ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงจากการสูญเสียแร่ธาตุออกจากกระดูกหลังวัยหมดประจำเดือนในระยะยาว[xii] แคลเซียมสามารถพบได้ในอาหารอย่าง ผลิตภัณฑ์นม โดยการรับประทานนม 3 แก้วจะเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำในแต่ละวัน ซึ่งนมแต่ละชนิดนั้นมีปริมาณสารอาหารไม่เท่ากัน การเสริมอาหารอื่น ๆ ที่อุดมไปด้วยแคลเซียมหรือการเพิ่มวิตามินดีในแผนโภชนาการในแต่ละวันมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงจากการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกที่สัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนแอสโตรเจนที่ลดลงได้
 
 
 
การได้รับสารอาหารที่เพียงพอ อย่าง โปรตีน HMB แคลเซียม วิตามินดี และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ จะมีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุห่างไกลจากความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร และภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อ พร้อมมีส่วนช่วยเสริมสร้างการทำงานตามปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย การดูแลตัวเองและคนที่เรารักให้สูงวัยอย่างมีคุณภาพที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องยาก  ด้วยการเริ่มจากการเลือกโภชนาการอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถทำในสิ่งที่รัก ใช้เวลาทุกนาทีที่มีร่วมกันกับครอบครัวอย่างมีคุณภาพ เพื่อที่จะได้มีเวลา แรงกาย แรงใจ และความรักให้กับคนที่ต้องการคุณมากที่สุด
 
 
 
*อาหารทางการแพทย์ ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

................



 [i] Volpi, E., et al. Current Opinion in Clinical Nutrition and Metabolic Care. 2004; 7: 405-10. doi: 10.1097/01.mco.0000134362.76653.b2
 
[ii] Mosher, T.J., et al. Arthritis & Rheumatology. 2004; 50: 2820-28. doi: 10.1002/art.20473
 
[iii] Affinito, P., et al. Maturitas. 1999; 33: 239-47. doi: 10.1016/s0378-5122(99)00077-8
 
[iv] Yang Y, Zhang Q, He C, Chen J, Deng D, Lu W, et al. Prevalence of sarcopenia was higher in women than in men: a cross-sectional study from a rural area in eastern China. PeerJ. 2022;10:e13678.
 
[v] 20 Feb 2023: Media Release - WEAK MUSCLE STRENGTH LINKED TO PREVALENCE OF DIABETES AMONG MIDLIFE WOMEN
 
[vi] Tan VMH, Pang BWJ, Lau LK, Jabbar KA, Seah WT, Chen KK, Ng TP, Wee SL. Malnutrition and Sarcopenia in Community-Dwelling Adults in Singapore: Yishun Health Study. J Nutr Health Aging. 2021;25(3):374-381. doi: 10.1007/s12603-020-1542-x. PMID: 33575731.
 
[vii] Frailty and Malnutrition: Related and Distinct Syndrome Prevalence and Association among Community-Dwelling Older Adults: Singapore Longitudinal Ageing Studies: DOI:https://doi.org/10.1016/j.jamda.2017.06.017
 
[viii] Thai Health Promotion Foundation. 2017. From thaihealth.or.th
 
[ix] Stout JR, Smith-Ryan AE, Fukuda DH, Kendall KL, Moon JR, Hoffman JR, Wilson JM, Oliver JS, Mustad VA. Effect of calcium β-hydroxy-β-methylbutyrate (CaHMB) with and without resistance
 
[x] Chew STH, Tan NC, Cheong M, Oliver J, Baggs G, Choe Y, How CH, Chow WL, Tan CYL, Kwan SC, Husain FS, Low YL, Huynh DTT, Tey SL. Impact of specialized oral nutritional supplement on clinical, nutritional, and functional outcomes: A randomized, placebo-controlled trial in community-dwelling older adults at risk of malnutrition. Clin Nutr. 2021;40(4):1879-92. https://doi.org/10.1016/j.clnu.2020.10.015
 
[xi] Chalcraft JR, Cardinal LM, Wechsler PJ, Hollis BW, Gerow KG, Alexander BM, Keith JF, Larson-Meyer DE. Vitamin D Synthesis Following a Single Bout of Sun Exposure in Older and Younger Men and Women. Nutrients. 2020 Jul 27;12(8):2237. doi: 10.3390/nu12082237. PMID: 32727044; PMCID: PMC7468901.
 
[xii] Philippa S. Gibson, Michele J. Sadler, Susan A. Lanham-New, 3 - Authorised EU health claims for calcium and calcium with vitamin D (for low bone mineral density and risk of fractures), Editor(s): Michele J. Sadler, In Woodhead Publishing Series in Food Science, Technology and Nutrition, Foods, Nutrients and Food Ingredients with Authorised EU Health Claims, Woodhead Publishing, 2018, Pages 35-47, ISBN 9780081009222, https://doi.org/10.1016/B978-0-08-100922-2.00003-6.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด