ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อายุน้อยก็หมอนรองกระดูกเสื่อมได้ เช็กด่วน! คุณกำลังมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่หรือไม่

อายุน้อยก็หมอนรองกระดูกเสื่อมได้ เช็กด่วน! คุณกำลังมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่หรือไม่ Thumb HealthServ.net
อายุน้อยก็หมอนรองกระดูกเสื่อมได้ เช็กด่วน! คุณกำลังมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่หรือไม่ ThumbMobile HealthServ.net

หมอนรองกระดูก คือ อวัยวะที่คั่นอยู่อยู่ระหว่างปล้องกระดูกสันหลัง มีหน้าที่หลักในการรับน้ำหนักและแรงกระแทกที่ส่งมาจากด้านบน ช่วยให้ร่างกายเราสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็นช่วงคอ บ่า ไหล่ ทั้งก้มหน้าและเงยหน้าขึ้นได้ โดยด้านนอกจะมีลักษณะเป็นพังผืดแข็งๆ ส่วนด้านในจะมีลักษณะนิ่ม คล้ายกับเจล ซึ่งหมอนรองกระดูกนั้นอาจมีสภาพเสื่อมหรือสึกหรอได้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการดูแลร่างกาย โดยเนื้อเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกจะฉีกขาดไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เรารู้สึกปวดร้าวหน่วงๆ บริเวณไหล่ หลัง และเอว หรือที่เรียกกันว่า หมอนรองกระดูกเสื่อมนั่นเอง

 
หลายคนมีความเข้าใจว่าหมอนรองกระดูกเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งต้องขอบอกว่าเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะถึงแม้จะอายุน้อย อายุยี่สิบกลางๆ ถึงสามสิบต้นๆ ก็สามารถเผชิญกับหมอนรองกระดูกเสื่อมได้เหมือนกัน หากมีพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ส่งผลกระทบให้หมอนรองกระดูกทำงานหนักหรือใช้ผิดหน้าที่ วันนี้เราจะพาทุกคนไปเช็กพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อม ที่วัยหนุ่มสาวไม่ควรชะล่าใจเป็นอันขาด หากไม่อยากปวดหลังรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ไปดูพร้อมๆ กันเลย!  

 
 

พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควร 
 

1. น้ำหนักตัวเยอะเกินมาตรฐาน 
การมีน้ำตัวเยอะเกินมาตรฐาน ไม่เพียงแค่ส่งผลต่อบุคลิกภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ มากมาย และหมอนรองกระดูกเสื่อมก็เป็นหนึ่งในปัญหานั้น เมื่อเรามีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ก็ส่งผลให้กระดูกสันหลังของเราต้องแบกรับน้ำหนักตัวที่มากตามไปด้วย เรียกว่าเป็นการทำงานที่ไม่บาลานซ์ และเมื่อนานวันเข้า หมอนรองกระดูกที่ต้องคอยรับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวก็จะเสื่อมสภาพลงนั่นเอง ใครที่รู้ตัวว่าเริ่มมีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน ควรพยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสมดุลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และป้องกันหมอนรองกระดูกเสื่อมที่เกิดจากการรับน้ำหนักที่มากเกินไปด้วยนั่นเอง


2. การนั่งท่าที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ 
พฤติกรรมเสี่ยงที่คิดว่าหนุ่มสาวออฟฟิศเกินครึ่งต้องกำลังทำสิ่งนี้อยู่แน่ๆ ก็คือการนั่งท่าที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เพราะว่าต้องทำงานหน้าคอมตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น จึงไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย หรือเปลี่ยนท่าบ่อยนัก โดยเวลาที่เรานั่งท่าเดิมนานๆ กระดูกสันหลังส่วนนั้นจะต้องรับน้ำหนักตลอดเวลา และมีการถ่ายเทน้ำร่างกายแต่ละส่วนที่ไม่บาลานซ์ผ่านท่านั่งที่ไม่เหมาะสมด้วย มาดู 3 ท่านั่งที่ไม่ควรนั่ง หากไม่อยากเสี่ยงหมอนรองกระดูกเสื่อมกัน ใครที่รู้ว่ากำลังนั่งท่าเหล่านี้อยู่ รีบปรับพฤติกรรมด่วนๆ เลย

• นั่งขัดสมาธิ
การนั่งขัดสมาธินานๆ มักทำให้เกิดอาการเหน็บชาที่ขา เส้นเลือดที่ข้อพับขาถูกกดทับ เลือดในร่างกายก็จะไหลเวียนไม่สะดวก จนทำให้มีอาการปวดกระดูกขาลามมาจนถึงกระดูกหลัง ซึ่งนานไปจะส่งผลให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้ 

• นั่งไขว่ห้าง
การนั่งไขว่ห้างนั้นทำให้ร่างกายเราขาดความบาลานซ์ เพราะต้องทิ้งน้ำหนักตัวทั้งหมดลงไปที่ก้นข้างหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้ไหล่ไม่เท่ากัน และหน้ายื่นออกไปข้างหน้ามากเกินไป และนานไปอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง บริเวณคอ บ่า ไหล่ มีความตึง และกระดูกสันหลังคดงอ ผิดรูป ไปจนถึงหมอนรองกระดูกเสื่อมนั่นเอง  

• นั่งไม่เต็มก้น 
คนที่ชอบนั่งไม่เต็มก้น หรือนั่งทำงานแบบหลังไม่ติดพนักพิง จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนักผิดปกติ เพราะหลังต้องรับน้ำหนักแทนก้นกบ และแสดงออกเป็นอาการปวดเมื่อยตามมา นอกจากนี้การนั่งทำงานแบบหลังไม่ติดพนักพิง ยังทำให้เราหลังค่อมไม่รู้ตัวด้วย ซึ่งปัญหากระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกเสื่อมจะตามมาอย่างแน่นอน
 
 

3. การออกกำลังกายอย่างหนัก หรือออกกำลังกายผิดวิธี 
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง ช่วยเบิร์นเอาต์ไขมันส่วนเกินได้เป็นอย่างดี แต่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีก็ต่อเมื่อมีการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี และเลือกประเภทกีฬาที่เหมาะสม เพราะกีฬาบางชนิดเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้ โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องมีการบิดตัวแบบกะทันหัน หรือกีฬาที่ต้องมีการกระแทกอย่างรุนแรง เช่น

• การยกน้ำหนัก
การยกน้ำหนักเป็นหนึ่งในกีฬายอดฮิตที่ได้รับความนิยมของหนุ่มๆ สาวๆ ที่เข้าฟิตเนสเลยก็ว่าได้เพราะเป็นกีฬาที่ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีสัดส่นกระชับขึ้น แต่หากเลือก ‘ที่ยกน้ำหนัก’ ไม่เหมาะสมกับร่างกายตนเอง ฝืนยกทั้งๆ ที่กล้ามเนื้อไม่สามารถรับไหว ร่างกายต้องแบกรับน้ำหนักจำนวนมากเอาไว้บ่อยครั้ง ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแต่ละส่วนตามมาได้ 

• การตีกอล์ฟ
แม้จะเป็นกีฬาที่ดูจะไม่ได้ใช้แรงเยอะ หรือมีการขยับตัวมาก แต่การตีกอล์ฟนั้นมีจังหวะที่ต้องสวิง บิดตัว และเอี้ยวตัวแบบกะทันหัน ยิ่งถ้าไม่ได้วอร์มร่างกายก่อน ก็อาจส่งผลทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน หรือทำให้หมอนรองกระดูกอักเสบและเสื่อมได้เช่นกันนั่นเอง 

• การวิ่งจ๊อกกิ้ง
ภาพรวมการวิ่งจ๊อกกิ้งถือเป็นการออกกำลังกายที่ค่อนข้างมีความปลอดภัย ดูไม่เป็นอันตรายอะไร แต่การวิ่งจ๊อกกิ้งให้ได้ผลลัพธ์ร่างกายแข็งแรง ต้องมีการวอร์ม วิ่งในท่าที่ปลอดภัย และกำหนดระยะทางเหมาะสมที่ร่างกายรับไหว เพราะหากเกิดการกระแทกและมีการลงน้ำหนักตัวต่อเนื่องระยะยาวก็อาจส่งผลต่อกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกเสื่อมได้ด้วยนั่นเอง


4. ยกของหนักเป็นประจำ
การยกของหนัก เป็นการฝืนสภาพร่างกายอย่างรุนแรง แม้ว่าเราจะฝืนจนยกของขึ้นมาไหว แต่กระดูกและกล้ามเนื้อในร่างกายของเราไม่ได้ไหวไปด้วยตลอด เพราะทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขา กระดูกจึงเกิดการบิดเคลื่อนได้ ยิ่งถ้ายกของหนักบ่อยๆ แถมถือเคลื่อนย้ายไปด้วย เช่น ยกกล่องพัสดุ ย้ายเฟอร์นิเจอร์ หรืออุ้มสัตว์เลี้ยงที่มีขนาดใหญ่ หมอนรองกระดูกเสื่อมอาจมาเยือนเราได้ไวขึ้น


5. สูบบุหรี่จัด 
การสูบบุหรี่จัดเสี่ยงทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควรได้ด้วย โดยควันและสารที่อยู่ในบุหรี่จะทำให้ออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังได้ไม่เต็มที่ คุณสมบัติความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพการทำงานของกระดูกจึงลดลง เกิดเป็นอาการปวดร้าวตามส่วนต่างๆ ทั้งหลัง คอ บ่า ไหล่ และขาทั้งสองข้าง และทำให้หมอนระดูกหลังเกิดการแตกปลิ้นได้มากขึ้น

 
6. ประสบอุบัติเหตุกระทบกระแทกรุนแรงที่กระดูกสันหลัง
ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับตนเอง ดังนั้นควรมีความระมัดระวังไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม พยายามเซฟร่างกายตนเองไว้เสมอ เพราะหากประสบอุบัติเหตุกระทบกระแทกรุนแรงที่กระดูกสันหลัง ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจากการหกล้ม ขับรถโดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัยและเกิดการเบรกกะทันหัน หรือการถูกรถชน ฯลฯ เราอาจต้องเผชิญกับความทรมานที่ไม่หายไปได้ง่ายๆ อย่างหมอนรองกระดูกเสื่อม นอกจากนี้การไอหรือจามแรงๆ โดยไม่ตั้งตัวก็เสี่ยงต่อการเพิ่มแรงดันอย่างฉับพลันในหมอนรองกระดูก ทำให้หมอนรองกระดูกทำงานผิดปกติและเสื่อมเร็วมากขึ้นได้เช่นเดียวกัน


 
       และนี่คือพฤติกรรมเสี่ยงส่วนหนึ่งที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควรที่เรานำมาฝากทุกคนกัน จะเห็นได้ว่าหมอนรองกระดูกที่ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักและแรงกระแทกที่ส่งมาจากกระดูกและกล้ามเนื้อไม่ได้เสื่อมสภาพลงจากอายุที่มากขึ้นเท่านั้น แต่ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตก็ล้วนส่งผลต่อหมอนรองกระดูกเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะจากการทำงานที่ทำให้ต้องนั่งท่าเดิมนานๆ การยกของหนักในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกายที่ผิดวิธี ตลอดจนพฤติกรรมอย่างการสูบบุหรี่ ดังนั้นหากเราอยากจะมีกล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรง ไม่ปวดเอว ปวดหลัง หรือปวดขาตั้งแต่อายุยังน้อย ก็ควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในทุกๆ วัน ทั้งเลือกท่านั่งที่้เหมาะสม ขยับ Movement ร่างกายอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายให้ถูกวิธีด้วย 
สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่ากำลังเผชิญกับปัญหาหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่ โดยเริ่มมีอาการปวดหลัง ปวดเอว หรือปวดขาอย่างรุนแรง ตลอดจนมีอาการชาที่ไม่หายไปเองง่ายๆ ที่ KDMS Hospital โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข เรามีโปรแกรมตรวจสุขภาพกระดูกและกล้ามเนื้อที่ครบครัน สามารถขอคำปรึกษาและวางแผนแนวทางการรักษาได้ที่ KDMS Hospital ติดต่อสอบถามและหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกเสื่อม https://kdmshospital.com/ หรือ โทร. 02-080-8999
 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด