กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้รวบรวม ตำรับยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคัมภีร์ใบลานสู่การใช้ประโยชน์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข จัดทำเป็นหนังสือ ตำราพระโอสถพระนารายณ์ (คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ฉบับใบลาน) เผยแพร่ในรูปแบบของ pdf file ที่เว็บไซต์ กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (http://ptmk.dtam.moph.go.th/home.php)
ตำราพระโอสถพระนารายณ์ สรุปพระโรคและอาการไว้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มโรค ได้แก่
1. โรคและอาการของระบบทางเดินอาหาร
2. โรคและอาการที่เกี่ยวกับเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ
3. โรคและอาการของระบบทางเดินหายใจและโรคตา
4. โรคติดเชื้อ
5. โรคและอาการไม่สบายอื่น ๆ เช่น ไข้ต่าง ๆ แมลงสัตว์กัดต่อย ผมร่วง
และกล่าวถึงตำรับยา 81 ตำรับ พร้อมวิธีปรุงยาแบบโบราณ ซึ่งเรียบเรียงไว้ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ สละสลวย กระชับและชัดเจน มีสาระน่ารู้มากมายที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์
ผู้เกี่ยวข้อง ผู้สนใจทั่วไปสามารถดาวน์โหลดตำราพระโอสถพระนารายณ์ ได้ฟรี ที่เว็บไซต์ข้างต้น หรือตาม link ด้านล่างนี้ เพื่อใช้ในการศึกษา ต่อยอดองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ ยกเว้น กรณีใช้เพื่อการค้าต้องมีการขออนุญาตจากกรมการแพทย์แผนไทยฯ โดยจะต้องตอบแทนผลประโยชน์ให้ประเทศชาติ ในอัตราร้อยละ 3 รายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2149 5607-8
กรมการแพทย์แผนไทยฯ โชว์ 3 ตำรับยายอดฮิตสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำรายาของแผ่นดิน
กรมการแพทย์แผนไทยฯ สานต่อตำรับยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคัมภีร์ใบลานสู่การใช้ประโยชน์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พร้อมชู 3 ตำรับยอดฮิต ทำใช้เองได้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม กรณีใช้เพื่อการค้าต้องมีการขออนุญาตจากกรม เพื่อตอบแทนผลประโยชน์ให้แผ่นดินร้อยละ 3
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า จากการที่ละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ได้นำเสนอถึงเหตุการณ์ในอดีตช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สะท้อนให้เห็นประเพณี สังคมและวัฒนธรรมของคนไทยในยุคนั้น รวมทั้งภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มีหลาย ๆ ฉากของละครได้นำเสนอการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรที่ใช้ดูแลสุขภาพในเบื้องต้น ดังนั้นเพื่อให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงในปัจจุบันและการอ้างอิงจากประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับตำรับตำรายาที่สืบทอดมาถึงชนรุ่นหลังในปัจจุบัน ถือว่าเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนไทย เมื่อละครช่วยปลุกความตระหนักรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องเครื่องยาไทย จึงอยากจะนำเสนอตำรับยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีการนำมาพัฒนาและใช้ประโยชน์จริงในยุคปัจจุบัน คือ ยาทาพระเส้น สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อยตามเส้นเอ็น ตะคริว ยาน้ำมันมหาจักร สรรพคุณ รักษาแผลเรื้อรัง แผลเปื่อย และแก้ปวดเมื่อยร่างกาย และยาประคบคลายเส้น สรรพคุณ คลายกล้ามเนื้อและเส้น
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้มีการจดบันทึกตำรับยาที่ใช้ดูแลสุขภาพสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นตำราการแพทย์แผนไทยและตำรับเภสัชกรรมไทยฉบับแรกของประเทศไทย คือ ตำราพระโอสถพระนารายณ์ หรือ ตำราธาตุพระนารายณ์ คาดว่าเป็นตำราด้านการแพทย์ที่ดีที่สุดในสมัยนั้น เนื่องจากเป็นตำรับยาที่ปรุงถวายพระมหากษัตริย์ เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพชนที่สะสมองค์ความรู้ มาพัฒนาและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อกัน มีการอธิบายถึงทฤษฎีการแพทย์แผนไทยว่า ความเจ็บป่วยไข้เกิดจากธาตุทั้ง 4 คือธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกายไม่สมดุล ตำราพระโอสถพระนารายณ์สรุปพระโรคและอาการไว้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มโรค ได้แก่ 1. โรคและอาการของระบบทางเดินอาหาร 2. โรคและอาการที่เกี่ยวกับเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ 3. โรคและอาการของระบบทางเดินหายใจและโรคตา 4. โรคติดเชื้อ 5. โรคและอาการไม่สบายอื่น ๆ เช่น ไข้ต่าง ๆ แมลงสัตว์กัดต่อย ผมร่วง และกล่าวถึงตำรับยา 81 ตำรับ พร้อมวิธีปรุงยาแบบโบราณ ซึ่งเรียบเรียงไว้ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ สละสลวย กระชับและชัดเจน มีสาระน่ารู้มากมายที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามประกาศให้คัมภีร์พระโอสถพระนารายณ์ หรือคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ เป็นตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ และตำรับยาในคัมภีร์เป็นตำรับยาแผนไทยของชาติ มีการสังเคราะห์ และแปล ให้เป็นภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย
ประชาชนทั่วไปสามารถดาวน์โหลดตำราโอสถพระนารายณ์ได้ฟรีที่เว็บไซต์ กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก http://ptmk.dtam.moph.go.th/home.php เพื่อใช้ในการศึกษา ต่อยอดองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ ยกเว้นกรณีใช้เพื่อการค้าต้องมีการขออนุญาตจากกรมการแพทย์แผนไทย ฯ โดยจะต้องตอบแทนผลประโยชน์ให้ประเทศชาติ ในอัตราร้อยละ 3 รายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2149 5607-8
ตำราพระโอสถพระนารายณ์ - กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งที่ 7 LINK
ตำราพระโอสถพระนารายณ์ - กรมศิลปากร
พิมพ์ครั้งที่ 7 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานฌาปณกิจศพ นายจอน ศุภลักษณ์ ณ เมรุวัดแก้วฟ้าล่าง วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ ชวนพิมพ์ 112 ถนนบริพัตร พระนคร โทร. 27246 นายชวน ศรสงคราม ผู้พิมพ์โฆษณา 2508
หนังสือเรื่องนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์อธิบายไว้ เมื่อคราวพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2560 ว่า หนังสือที่เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์นี้ คือตำราพระโอสถตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชกรุงเก่าหอพระสมุดฯ ได้ต้นฉบับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทรประทานมา เป็นหนังสือคัมภีร์ลานผูก 1 มีตำรา พระโอสถซึ่งหมอหลวงได้ประกอบถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลายขนาน ปรากฏชื่อหมอ แลวันคืนที่ตั้งพระโอสถนั้นๆ จดไว้ชัดเจน อยู่ในระหว่างปีกุน จุลศักราช 1021 พ.ศ.2202 จนปีฉลู จุลศักราช 1023 พ.ศ. 2204 ระหว่างปีที่ 3 จนปีที่ 5 ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประหลาดที่มีตำราขี้ผึ้งรักษาบาดแผลของหมอฝรั่งประกอบถวายในครั้งนั้นด้วย ขี้ผึ้งตามตำรานี้ หมอฝรั่งพวกกุฎีจีนยังใช้รักษากันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ตำราพระโอสถทั้งปวงนี้ พึ่งรวบรวมเข้าคัมภีร์ในชั้นหลัง จะเป็นในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ...
"ยาในตำราพระโอสถนี้ คงจะเป็นยาดีโดยมาก ได้ยินว่า ตั้งแต่พิมพ์แล้ว มีผู้ได้ประกอบยาตำราพระโอสถใช้รักษาไข้ก็เห็นคุณ ถึงกระนั้นกรรมการหอพระสมุดฯ ต้องขอตักเตือนท่านทั้งหลายที่ได้ตำรานี้ไป ถ้าหากมิได้เป็นแพทย์ด้วยตนเอง และจะใคร่ประกอบยาตามตำราพระโอสถนี้ไซร์ ควรจะปรึกษาหารือแพทย์ผู้ชำนาญวิชาเสียก่อน จึงจะเป็นผู้ที่ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท"
กรมศิลปากร
29 มกราคม 2508
ตำราพระโอสถพระนารายณ์ กองเภสัชกรรม โรงพยาบาลอานันทมหิดล LINK
ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7
หลวงอนุการนพกิจ พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปณกิจศพ นางเกษ สุรัสวดี ณ วัด ขุนก้อง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2502
พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหาดไทย กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย
หลวงอนุการนพกิจ ได้มาแจ้งความประสงค์แก่เจ้าหน้าที่แผนกค้นคว้า กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์กรมศิลปากรว่า ประสงค์จะจัดพิมพ์หนังสือเรื่องตำราพระโอสถพระนารายณ์ เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปณกิจศพ นางเกษ สุรัสวดี ผู้เป็นมารดา กำหนดวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2502 ณ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กรมศิลปากรยินดีอนุญาตให้จัดพิมพ์ได้ดังประสงค์
กรมศิลปากร
3 กุมภาพันธ์ 2502
จากเว็บ โรงพยาบาลอานันทมหิดล