PET/CT คือเครื่องอะไร
PET-CT หรือ PET/CT ย่อมาจาก Positron emission tomography–computed tomography แปลได้ว่า การถ่ายภาพด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีโพซิตรอน
PET/CT เป็นเทคนิคทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่รวมเอาเครื่องสแกนการถ่ายภาพรังสีโพซิตรอน (PET) และเครื่องสแกนการถ่ายภาพรังสีเอกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT) ไว้ในแกนเดียว เพื่อให้ได้ภาพต่อเนื่องจากอุปกรณ์ทั้งสองเครื่องในเซสชันเดียวกัน ซึ่งภาพเหล่านี้จะรวมกันเป็นภาพซ้อนภาพเดียว
เครื่องถ่ายภาพรังสีโพซิตรอน จะมีความไวสูง (Sensitivity) สามารถตรวจับกลไกอันละเอียดอ่อนในร่างกาย การเผาผลาญ หรือ ชีวเคมีในร่างกาย (metabolic or biochemical) ได้
ส่วนเครื่องสแกนการถ่ายภาพรังสีเอกซ์ แสดงตำแหน่งทางกายวิภาคของร่างกายคน
ดังนั้น ภาพถ่ายเชิงซ้อน ที่ได้จากเครื่อง PET/CT จะแสดงถึงภาวะในร่างกายมนุษย์นั้นได้ละเอียดขึ้น ตรวจจับกลไก หรือ พบความผิดปกติของโรค ที่ไม่สามารถเห็นหรือวินิจฉัยได้จากการตรวจด้วยเครื่องมืออื่น บนตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย ได้อย่างชัดเจนแม่นยำมากที่สุด [
wikipedia]
*ภาพเครื่อง PET/CT By
Brudersohn -
Own work,
CC BY-SA 3.0,
Link
กำเนิดของ PET/CT
การผสมผสานเครื่องสแกน PET และ CT เข้าด้วยกัน เกิดขึ้นแนวคิดของ R. Raylman ในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของเขาในปี 1991[1] ระบบ PET-CT เครื่องแรกถูกสร้างขึ้นโดย David Townsend (ที่มหาวิทยาลัยเจนีวา) และ Ronald Nutt (ที่ CPS Innovations ในเมืองน็อกซ์วิลล์ รัฐเทนเนสซี) โดยได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน[2] เครื่อง PET-CT ต้นแบบเครื่องแรกสำหรับการประเมินทางคลินิกได้รับเงินทุนจาก NCI และติดตั้งที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์กในปี 1998 จนกระทั่งออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ในปี 2001 และ ภายในปี 2004 ก็มีการติดตั้งระบบ PET-CT มากกว่า 400 ระบบทั่วโลก [3]
[1] Raylman, Raymond Robert (1991). Reduction of positron range effects by the application of a magnetic field: For use with positron emission tomography. deepblue.lib.umich.edu (Thesis). hdl:2027.42/128772. Retrieved 2020-11-19.
[2] Townsend, David W. (2008), "Combined PET/CT: the historical perspective", Semin Ultrasound CT MR, 29 (4): 232–235, doi:10.1053/j.sult.2008.05.006, PMC 2777694, PMID 18795489.
[3] Kalender, Willi. Computed Tomography. Publicis. 2011. pp.79
PET-CT ปฏิวัติการวินิจฉัยทางการแพทย์
PET-CT ได้ปฏิวัติการวินิจฉัยทางการแพทย์ในหลายสาขา โดยเพิ่มความแม่นยำในการระบุตำแหน่งทางกายวิภาคให้กับการถ่ายภาพการทำงาน ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีในการถ่ายภาพ PET เพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น ขั้นตอนการถ่ายภาพวินิจฉัยจำนวนมากในด้านเนื้องอกวิทยา การวางแผนการผ่าตัด การฉายรังสี และการตรวจระยะมะเร็งได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วภายใต้อิทธิพลของความพร้อมใช้งานของ PET-CT และศูนย์ต่างๆ ค่อยๆ เลิกใช้เครื่อง PET แบบเดิมและแทนที่ด้วยเครื่อง PET-CT แม้ว่าอุปกรณ์แบบผสมผสาน/ไฮบริดจะมีราคาแพงกว่ามาก แต่ก็มีข้อดีคือมีฟังก์ชันทั้งสองแบบเป็นการตรวจแบบแยกกัน โดยเป็นอุปกรณ์สองชิ้นในเครื่องเดียว
อุปสรรคเพียงอย่างเดียวต่อการใช้ PET-CT ในวงกว้างคือความยากและต้นทุนในการผลิตและขนส่งยาทางรังสีที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพ PET ซึ่งโดยปกติจะมีอายุสั้นมาก ตัวอย่างเช่น ครึ่งชีวิตของฟลูออรีน-18 (18F) กัมมันตภาพรังสีที่ใช้ในการติดตามการเผาผลาญกลูโคส (โดยใช้ฟลูออโรดีออกซีกลูโคส, FDG) อยู่ที่เพียงสองชั่วโมงเท่านั้น การผลิตต้องใช้เครื่องไซโคลตรอนราคาแพงมาก รวมทั้งสายการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์เภสัชรังสีด้วย โดยอย่างน้อยหนึ่งผลิตภัณฑ์เภสัชรังสี PET-CT ผลิตขึ้นที่โรงงานจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า: Ga-68 จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแกเลียม-68
ประโยชน์ของ PET-CT
- ผลการวินิจฉัยจากเครื่อง PET-CT ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ภาพที่ได้มาจากอุปกรณ์ทั้งสองแบบที่ถ่ายแยกกันอย่างมาก
- ช่วยให้สามารถระบุการก่อตัวของมะเร็งทั้งหมดในร่างกายได้ โดยไม่ขึ้นกับขนาดหรือระยะของโรค
- เวลาในการวินิจฉัยสั้น ประหยัดเวลาของแพทย์ในการทำความเข้าใจโรค และมุ่งที่การรักษาได้เร็ว
- สารที่ใช้แม้ว่าจะเป็นกัมมันตภาพรังสี แต่มีความเสี่ยงในระดับต่ำมาก โดยร่างกายจะกำจัดสารนี้ออกไปตามธรรมชาติภายในเวลาสูงสุด 24 ชั่วโมงหลังการให้ยา
ข้อดีของ PET/CT Scan ในด้านมะเร็ง
ในวงการแพทย์ด้านมะเร็งจึงนำ PET/CT มาใช้ประโยชน์ในการตรวจโรคมะเร็งในหลายขั้นตอน อันได้แก่
- การกำหนดระยะโรค (Staging)
- การใช้เป็นมาตรวัดการรักษา (Treatment Monitoring)
- ตรวจการกลับเป็นซ้ำ (Restaging)
การรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้น ชนิดและวิธีการรักษาจะต้องสอดคล้องกับระยะโรคที่เป็นอยู่จริง การกำหนดระยะของโรคที่คลาดเคลื่อนย่อมไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วยอย่างแน่นอน มีรายงานการศึกษาจำนวนมากที่ระบุว่า PET/CT Scan ช่วยให้การกำหนดระยะของโรคถูกต้องขึ้น ในแง่ของการเป็นมาตรวัดการรักษา PET/CT Scan จะช่วยบอกแพทย์ให้ทราบว่า โรคมะเร็งนั้นตอบสนองต่อการรักษาที่ให้หรือไม่ ถ้าไม่ตอบสนองแพทย์ก็สามารถเปลี่ยนชนิดของยาหรือการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้ลดผลข้างเคียงจากยาและลดค่าใช้จ่ายจากการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์นั้น ๆ
ตัวอย่างที่เด่นชัดมากในกรณีนี้คือ การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งพบว่า PET/CT เข้าไปมีบทบาทแทบจะทุกขั้นตอนของการรักษา มีรายงานการศึกษาจำนวนไม่น้อยที่ศึกษาถึงผลอันเกิดจากการตรวจ PET/CT ต่อวิธีการรักษาโรคมะเร็งพบว่า หลังการตรวจผู้ป่วยด้วย PET/CT แพทย์ผู้ให้การรักษาจะเปลี่ยนแนวทางการรักษาที่วางไว้แต่เดิมประมาณ 30% ของจำนวนผู้ป่วย ซึ่งถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม PET/CT ไม่ใช่เครื่องมือที่เป็นคำตอบสุดท้ายของการวินิจฉัยโรคมะเร็ง เพียงแต่ PET/CT จะช่วยให้การวินิจฉัยถูกต้องมากขึ้นกว่าและเป็นผลทำให้การรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การเลือกใช้ PET/CT ให้ถูกต้องเหมาะสมตามชนิดของมะเร็งและข้อบ่งชี้ยังมีส่วนสำคัญมาก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนชนิดของยาหรือการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้ลดผลข้างเคียงจากยาและลดค่าใช้จ่ายจากการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์นั้น ๆ ตัวอย่างที่เด่นชัดมากในกรณีนี้คือ การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งพบว่า PET/CT เข้าไปมีบทบาทแทบจะทุกขั้นตอนของการรักษา
กระบวนการตรวจ PET/CT Scan
กระบวนการตรวจ PET/CT Scan จะเริ่มจากการฉีดกลูโคสชนิดพิเศษ ซึ่งมีรังสีอยู่ในตัวเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งน้ำตาลพิเศษนี้จะซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ชนิดของเนื้อเยื่อ แล้วเปล่งรังสีออกมาจากเนื้อเยื่อนั้น
แพทย์จะใช้เครื่อง PET Scan ถ่ายภาพรังสีในร่างกายดังกล่าว ทำให้ได้ภาพเป็นร่างกายที่เรืองแสง ประเด็นสำคัญอยู่ที่มะเร็งชนิดก้อน (Solid Tumor) หลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งเต้านม เป็นต้น สามารถจับน้ำตาลชนิดพิเศษนี้ได้มากกว่าเนื้อเยื่อปกติ ทำให้เห็นเป็นจุดสว่างเรืองแสงชัดเจนกว่าการเรืองแสงของเนื้อเยื่อปกติในร่างกาย ทำให้แพทย์สามารถตรวจพบมะเร็งนั้นได้ในผู้ป่วยบางรายที่มีการกระจายของมะเร็งไปในอวัยวะต่าง ๆ จุดเรืองแสงเหล่านี้จะปรากฎให้เห็นอยู่ในอวัยวะนั้น ๆ กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับของชีวเคมีภายในเซลล์ (Metabolism) ซึ่งโดยหลักการความผิดปกติของเซลล์มะเร็งจะมีความผิดปกติของชีวเคมีภายในเซลล์ก่อนที่จะก่อนตัวให้เห็นด้วยตาหรือการตรวจทางด้านรังสีอื่น ๆ ทำให้ PET Scan เป็นการตรวจที่มีความไว (Sensitivity) สูงมาก [
Wattanosot Cancer Hospital]
โรงพยาบาลชั้นนำมีเครื่อง PET CT Scan พร้อมบริการ
โรงพยาบาลระดับนำทั้งโรงพยาบาลรัฐ และ โรงพยาบาลเอกชน ปัจจุบันมีเครื่อง PET CT Scan นี้ ให้บริการ ทำให้การตรวจวินิจฉัยทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยมีทางเลือกมากขึ้นที่จะเลือกรับบริการได้สะดวกและเหมาะกับตนได้ เช่น เดินทางสะดวก หรือสอดคล้องกับเวลาที่เหมาะสมในการกำหนดตารางการรักษา เป็นต้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะยังคงสูง และต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและสั่งของแพทย์ แต่โดยภาพรวมเป็นความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการแพทย์มารับใช้ประชาชนที่ดีมากรูปแบบหนึ่ง ศิริราชให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคด้วย PET/CT Scan LINK
รพ.ศิริราชให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคด้วย PET/CT Scan ณ สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช อาคารศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ชั้น 10 โทร. 02-419-6195 โรงพยาบาลศิริราช มีนโยบายที่จะให้การตรวจชนิดนี้ สามารถเข้าถึงคนไทยได้อย่างทั่วถึง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาพยาบาลในโรคมะเร็งหรือโรคสมองบางชนิด จึงเปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคด้วย PET/CT Scan ในอัตราพิเศษตลอดปี 2563 สำหรับโรงพยาบาลทั่วไปและประชาชนผู้สนใจ
จุฬา PET/CT Scan สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา LINK
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เริ่มเปิดให้บริการการรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่ปี 2494 จนถึงปัจจุบัน มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา และอุปกรณ์ให้การรักษาด้านรังสีรักษาอันทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1873 ถนนพระราม4 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร 02-256-4100
ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ LINK
ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีการให้บริการ ตรวจวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยด้วยเครื่องเพทซึ่งมีทั้งเทคโนโลยี “ดิจิทัลเพทซีที” Digital PET/CT Biograph Vision และ “เพทเอ็มอาร์ไอ” PET/MRI Biograph mMR 3 Tesla ให้แพทย์สามารถเลือกส่งตรวจในเครื่องที่มีความเหมาะสมกับรอยโรคและชนิดมะเร็งของผู้ป่วยได้ในอัตราค่าบริการใกล้เคียงกัน
โดยเพทซีที อัตราเริ่มต้นที่ 20,000 บาท และเพทเอ็มอาร์ไอเริ่มต้นที่ 25,000 บาท
แต่สำหรับบางชนิดของมะเร็งทางศูนย์ฯ ก็ให้บริการตรวจควบคู่กันให้ทั้ง 2 เครื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการรักษาให้กับผู้ป่วย อาทิ มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจวินิจฉัยทั้งเครื่องPET/MRI และ PET/CT พร้อมกันในอัตราค่าบริการ 23,000 บาท หรือตรวจเพทเอ็มอาร์ไอในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ราคา 18,000 บาท เป็นต้น โดยที่ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติให้บริการตรวจผู้ป่วยทั้งที่เป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และผู้ป่วยที่ส่งมาจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ
PET/CT Scan พร้อมระบบ Flow Motion โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ LINK
โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง พร้อมให้บริการผู้ป่วยด้วย PET/CT ใหม่ 2 เครื่อง ด้วยเทคโนโลยีใหม่ คือ Biograph mCT Flow ของบริษัท Siemens ที่ทำให้ผู้รับการตรวจจะมีความรู้สึกนุ่มนวลและสบายขึ้น ขณะอยู่บนเตียงตรวจ และการทำงานของเครื่องราบรื่น ไม่เหมือนเครื่องรุ่นก่อนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว นอกจากนี้คุณภาพของภาพ PET Scan ก็มีความคมชัดที่สูงขึ้น ทำให้แพทย์สามารถแปลผลภาพสแกนด้วยความมั่นใจและถูกต้องยิ่งขึ้น
สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-7551188 (สายด่วนมะเร็ง 8:00 น. - 20:00 น.) 02-3103000 (หลัง 20:00 น.) หรือ 1719
PET/CT ศูนย์วินิจฉัยและบำบัดรักษา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ LINK
PET/CT ศูนย์วินิจฉัยและบำบัดรักษา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สำหรับตรวจวินิจฉัย หาโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน มะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งต่อมทอนซิล มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจเนื้องอก และโรคพาร์กินสัน รวมถึงการใช้ประเมินความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง ความจำเสื่อม การชัก และความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์วินิจฉัยและบำบัดรักษา อาคาร B ชั้นล่าง ด้านใต้ อาคาร B ชั้น 2 ฝั่งเหนือ อาคาร A ชั้น 12 Tel: 02-0668888