BPA เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร
ความร้อน จากการต้ม, นึ่ง หรือ สเตอริไลซ์ พลาสติก จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้สารพิษหลุดร่อนปะปนในอาหารยิ่งขึ่น โดย สาร BPA จะแทรกซึมลงในของเหลวและอาหาร ที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะ เช่น ขวดนม ขวดพลาสติก กล่องบรรจุอาหารแล้วจึงเข้าสู่ร่างกายเมื่อกินเข้าไป
โทษของ BPA ต่อมนุษย์
มีผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ความทรงจำ การเรียนรู้
มีผลต่อฮอร์โมนการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ ทำให้เด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป
เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน และไฮเปอร์แอคทีฟ
ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
ยิ่งสะสมในร่างกายมากเท่าใด ก็จะยิ่งไปลดศักยภาพการทำงานของร่างกายมากขึ้น
ที่สำคัญคือ เด็กทารก เมื่อได้รับสาร BPA ก็จะส่งผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าในเด็กโต หรือผู้ใหญ่
ความตื่นตัวเรื่องสาร Bisphenol A
แคนาดา เป็นประเทศแรก ที่ห้ามจำหน่ายขวดนมเด็กที่มีสาร BPA ไปแล้วเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2551
สหรัฐอเมริกา รัฐนิวยอร์ก เป็นรัฐล่าสุด ที่ออกกฎหมายห้ามผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็กที่มีสาร BPA โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2553
สหภาพยุโรป หรือ EU ได้ออกมาเตือน ห้ามใช้สาร BPA ในการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร และขวดนมแล้ว
/////////////////////////
Bisphenol A (BPA) คืออะไร มีอันตรายอย่างไรบ้าง
เรียบเรียงโดย: Ohnado USA Shop
แหล่งข้อมูล: วิชาการ.com, ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่8 (นครสวรรค์) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
สาร BPA คืออะไร?
BPA (Bisphenol) เป็นสารเคมีที่พบในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากพลาสติก มีการทดลองในหนูพบว่า BPA เป็นสารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งในต่อมลูกหมาก และส่งผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกายอีกด้วย
Bisphenol A นิยมใช้กันทั่วไปเพื่อทำให้ขวดพลาสติก เช่น ขวดนม เพราะมีความใส สารพิษนี้แทรกซึมลงในของเหลวและอาหารที่บรรจุอยู่ภายในได้ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า สาร Bisphenol A จำนวนเพียงเล็กน้อย มีผลทำให้ก่อมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การเริ่มเป็นหนุ่มสาวเร็วเกินไป โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไฮเปอร์ (hyperactivity).
ผลการศึกษาล่าสุดจาก Harvard School of Public Health (HSPH) ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ดื่มน้ำจากขวดโพลีคาร์บอเนตหรือขวดพลาสติกแข็งหรือขวดนมเด็กเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์จะมีสารบีพีเอ (bisphenol A; BPA) เพิ่มขึ้นในปัสสาวะถึงสองในสามส่วน สารจำพวกนี้ใช้มากในอุตสาหกรรมบิสฟีนอลเอและพลาสติกชนิดอื่น มีผลต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ สำหรับในคนเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและเบาหวาน
จัดเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ครับที่พบว่าการดื่มน้ำจากขวดโพลีคาร์บอเนตทำให้ปัสสาวะมีสารบีพีเอเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าสารบีพีเอจากขวดบรรจุน้ำดื่มปนเปื้อนเข้าสู่ของเหลวในขวดและหากเราดื่มในปริมาณที่มากก็จะทำให้พบสารตัวนี้เพิ่มในปัสสาวะได้
นอกจากจะพบสารบีพีเอในขวดโพลีคาร์บอเนตซึ่งเป็นขวดน้ำที่นิยมใช้กันในหมู่เด็กนักเรียน และยังพบสารนี้ในขวดนมเด็ก ชิ้นส่วนงานทันตกรรม กาว อลูมิเนียมที่ใช้ใส่อาหาร และเครื่องดื่มกระป๋องอีกด้วย
การศึกษาหลายเรื่องแสดงให้เห็นว่าสารบีพีเอขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อในสัตว์ ขัดขวางการเจริญของระบบสืบพันธุ์ การพัฒนาและการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อบริเวณต่อมน้ำนม ลดการผลิตสเปิร์มในรุ่นลูกรุ่นหลาน และอาจอันตรายอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการแรกเริ่ม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาจาก HSPH และ Harvard Medical School คาริน บี มิเชล กล่าวว่า การดื่มน้ำเย็นจาก ขวดโพลีคาร์บอเนตแค่เพียงอาทิตย์เดียวก็สามารถทำให้ระดับบีพีเอในปัสสาวะเพิ่มขึ้นถึงสองในสามส่วนได้ และหากน้ำในขวดร้อนอย่างกรณีของขวดนมเด็กระดับของสารบีพีเอที่พบในปัสสาวะก็จะมากขึ้น จึงต้องระวังอย่างยิ่งเนื่องจากสารบีพีเอจะขัดขวางการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อในทารกได้มากกว่า
การศึกษานี้ใช้อาสา สมัครจำนวนทั้งสิ้น 77 คน โดยให้อาสาสมัครทำการ ‘ล้างท้อง’ ก่อนด้วยการดื่มน้ำเย็น
จากขวดสแตนเลสเป็นเวลา 7 วันเพื่อลดระดับสารบีพีเอในร่างกาย ระหว่างนี้ทีมวิจัยก็จะตรวจสารบีพีเอในปัสสาวะไปด้วย จากนั้นจึงให้ขวดโพลีคาร์บอเนตแก่อาสาสมัครคนละสองขวดและให้อาสาสมัครดื่มน้ำทุกชนิดจากขวดที่เตรียมให้ตลอดสัปดาห์และทำการตรวจปัสสาวะ
ผลตรวจแสดงให้เห็นว่าสาร BPA ในปัสสาวะอาสาสมัครเพิ่มขึ้นถึง 69% หลังดื่มน้ำจากขวดโพลีคาร์บอเนต (ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารบีพีเอที่ตรวจพบในกลุ่มเด็กนักเรียนใกล้เคียง กับคนอเมริกาทั่วไป) การศึกษาก่อนหน้านี้รายงานว่า สารบีพีเอ สามารถปนเปื้อนเข้าสู่ของเหลวในขวดได้ และการศึกษานี้เป็นงานแรกที่แสดงให้เห็นถึงระดับความเข้มข้นของสารบีพีเอในปัสสาวะคน
ที่น่ากังวลก็คือ เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ใช้ขวดประเภทนี้ดื่มน้ำเป็นประจำแถมยังไม่ค่อยยอมล้างขวด และหากเด็กเด็กกรอกน้ำร้อนลงไปก็จะทำให้ได้รับสารบีพีเอเพิ่มมากขึ้น เพราะความร้อนช่วยทำให้สารบีพีเอรั่วไหลออกมามากขึ้น
รัฐบาลแคนาดาได้ประกาศเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2551 ให้สารBisphenol A หรือ BPA เป็นสารเคมีอันตรายต้องห้าม เนื่องจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข (Health Canada) และด้านสิ่งแวดล้อมของแคนาดา (Environment Canada) ตรวจพบว่า สาร Bisphenol A แม้ในปริมาณที่ต่ำ เป็นอันตรายต่อปลาและสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ และยังมีเป็น สาเหตุของโรคหลายโรคได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคตับ ทั้งนี้ ได้เคยมีประกาศเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2551 ห้ามจำหน่ายขวดนมเด็กที่สาร Bisphenol Aไปแล้ว
อันตรายต่อสุขภาพอนามัย (Health Effect)
สัมผัสทางหายใจ : การหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคือง และไอ ผู้ที่ทำงานใช้สารในระดับประมาณ 240 มิลลิกรัม เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง ทำให้รู้สึกมีรสชาติขม คลื่นไส้ และปวดศีรษะ
สัมผัสทางผิวหนัง : การสัมผัสถูกผิวหนังจะก่อให้เกิดการระคายเคืองเล็กน้อย การสัมผัสสารติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้เป็นโรคผิวหนัง เป็นผื่นแดง คัน และบวม
กินหรือกลืนเข้าไป : การกลืนหรือกินเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคืองในปากและทางเดินอาหาร แต่ไม่มีพิษต่อร่างกาย ถ้าได้รับสารในปริมาณมาก มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่นมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ วิงเวียน และอาเจียน
สัมผัสถูกตา : การสัมผัสถูกตาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา
การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ,อื่น ๆ
สารนี้เป็นสารก่อมะเร็งต่อระบบเลือด เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ สารนี้จัดเป็นสารก่อมะเร็งตามบัญชีรายชื่อของ NTP
วิธีการหลีกเลี่ยงจากสารอันตราย Bisphenol A(BPA)
ขวดนม: หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติกประเภทรีไซเคิลที่มีตัวเลข 7 และกำกับด้วยข้อความ OTHER
เนื่องจากพลาสติกชนิดนี้เป็นพวก โพลีคาร์บอเนต (polycarbonate plastic) และภาชนะพลาสติกประเภทรีไซเคิลที่มี เลข 3 ประเภท PVC ซึ่งทำให้สาร Bisphenol A จะสามารถปนเปื้อนออกมาจากภาชนะได้ถ้าภาชนะชิ้นนั้นสัมผัสกับความร้อน
หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ภาชนะปลอดสาร Bisphenol A ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด โดยสังเกตสัญญาลักษณ์ BPA Free