คำว่าภูมิแพ้ อาจจะดูเป็นคำธรรมดาของใครหลายๆ คน แต่สำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ และต้องเผชิญกับโรคนี้อยู่ตลอด คงจะไม่ใช่คำธรรมดาๆ ทั่วไป โดยมีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้โรคภูมิแพ้กำเริบ ไม่ว่าจะด้วยสภาวะทางอากาศ สิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุสำคัญ ทั้งสิ้น แต่อย่าเพิ่งกังวลใจไป เพราะยังมีอาหารที่สามารถช่วยป้องกัน และลดความรุนแรงของโรคภูมิแพ้ได้อยู่หลายกลุ่ม
1. กลุ่มวิตามินซี : วิตามินซี มีส่วนช่วยในการป้องกันการหลั่งฮีสตามีน ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่ร่างกายสร้างขึ้นและทำให้เกิดอาการภูมิแพ้
อาหารเพิ่มวิตามิน : ในผักใบเขียว เช่น ตำลึง ผักโขม บร็อคโคลี กะหล่ำปลี ในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น สับปะรด ส้ม สตรอเบอรี่ มะนาว โดยวัตถุดิบเหล่านี้สามารถดัดแปลงเมนูได้ตามที่คุณต้องการ
2. กลุ่มวิตามินเอ : ช่วยในเรื่องการสร้างเนื้อเยื่อ และช่วยเสริมสร้างเยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารให้สมดุล
อาหารเพิ่มวิตามินเอ : วิตามินชนิดนี้พบมากในกลุ่มผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้ม สีส้ม หรือสีเหลือง เช่น ฟักทอง แครอท มะละกอสุก มะม่วงสุก แคนตาลูป มะเขือเทศ เป็นต้น
3. กลุ่มโปรตีน : โปรตีนกลุ่มนี้สามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายได้ เพราะหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีน คือ กรดอะมิโน ซึ่งเป็นสารสำคัญในการนำไปสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ
อาหารเพิ่มโปรตีน : อย่างที่ทราบกันดี โปรตีนเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งจะมีมากในเนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อล้วน อย่างเนื้ออกไก่ เนื้อหมู และไข่ไก่ นอกจากนี้ก็ยังพบได้ในถั่วต่างๆ
4. กลุ่มโอเมก้า 3 : โอเม้ก้า 3 จะช่วยลดอาการอักเสบ ปรับภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยในการตอบสนองต่อเชื้อโรค และสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้เป็นอย่างดี
อาหารเพิ่มโอเมก้า 3 : คุณสามารถเลือกทานได้จาก ปลาทะเลน้ำลึก เช่นปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลากะพง ซึ่งอาหารกลุ่มนี้อาจมีส่วนไปกระตุ้นอาหารภูมิแพ้ได้ ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่นอนก่อนว่าคุณแพ้อาหารทะเลหรือไม่ ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 3 ก็มีประโยชน์ เช่นกัน พบมากในเมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วเหลือง และผักใบสีเขียวเข้ม
5. กลุ่มซีลีเนียม : สารอาหารกลุ่มนี้จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม หรือสารกระตุ้นภูมิแพ้ได้
อาหารเพิ่มซีลีเนียม : พบมากในพืชตระกูลหอม เช่น หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น
6. กลุ่มฟลาโวนอยด์เควอเซทิน : สารชนิดนี้เป็นสารต้านอาการแพ้และลดการอักเสบ ช่วยยับยั้งการปล่อยสารอีสตามิน ซึ่งทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้
อาหารเพิ่มฟลาโวนอยด์เควอเซทิน : พบมากในกระเทียว และพืชตระกูลหอม อย่างหอมหัวใหญ่ หอมหัวแดง และในแครอผักกาดหอม แอปเปิ้ล เป็นต้น
หมายเหตุ : คำแนะนำนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่ได้แพ้อาหารจำพวกนี้ หากท่านไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
60 หมู่ 6 ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
เบอร์โทร 0-2594-0020-65
Call Center 1218