อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นก็ไม่ใช่หายนะและความเศร้าโศกไปทั้งหมด แม้ว่าตลาด IPO ทั่วโลกจะอยู่ในช่วงขาลง แต่ก็ยังมีความหวังในเชิงบวกอยู่บ้าง โดยเฉพาะประเทศในแถบอาเซียน ข้อมูลเชิงลึกจาก BDO แสดงให้เห็นถึงแรงผลักดันโดยรวมที่ยังมีกำลังแข็งแกร่ง ของการเสนอขายหุ้นในตลาดอาเซียน โดยมีระดับกิจกรรมของลูกค้าที่สูง แม้ว่าบางภาคส่วนจะยังคงรับรู้ได้ถึงผลกระทบของการระบาดใหญ่อยู่ ตัวอย่างเช่น ในมาเลเซีย การเสนอขายหุ้นทั้งหมดทั้งในแง่ของจำนวนและมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในปี 2565 อยู่ในระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังคาดว่าความต้องการลงทุนจะถึงจุดสูงสุดในอนาคตอันใกล้ โดยคาดการณ์ว่า ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 3 ในปี 2566 ก่อนที่จะค่อยๆ ชะลอตัวลงก่อนการเลือกตั้งทั้งในสหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซียในปี 2567
ประเทศไทยในปัจจุบันที่กำลังผงาดขึ้นสู่ตำแหน่งเศรษฐกิจที่สำคัญ การเติบโตที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วง 40 หรือ 50 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ จนกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและการท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งถือเป็นภาพสะท้อนถึงการเติบโตที่เคยเกิดขึ้นแล้วในบางประเทศ อย่างเช่น อังกฤษและออสเตรเลีย ที่ประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้ยังได้รับแรงผลักดันในฐานะตลาด IPO ที่สำคัญ เนื่องจากความสามารถในการระดมทุนที่สูง และกระบวนการเข้าสู่ตลาดที่รวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวก ทำให้การเสนอขายหุ้นในตลาดลหลักทรัพย์ของบริษัทต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น จากสถิติแสดงให้เห็นว่ามีบริษัท 30 แห่ง ยื่นขอเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกในปีนี้ ในขณะที่บริษัท 22 แห่ง ดำเนินการในการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้วเสร็จ บริษัทยักษ์ใหญ่ 2 แห่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ บริษัทไทยประกันชีวิตก็ได้เข้ามาในตลาดหลักทรัพย์แล้วอีกด้วย
แนวโน้มของประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย ธุรกิจครอบครัวถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ประมาณสามในสี่ (75%) ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เริ่มต้นมาจากการเป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ มักจะมีคำถามเกี่ยวกับการสืบทอดและการกระจายหุ้น การนำหุ้นเข้าสู่ตลาดเป็นทางเลือกที่น่าตื่นเต้น เพราะทำให้สามารถขายในราคาที่สูงกว่าการขายภายในครอบครัว นอกจากนี้ ยังเป็นการจัดหาผู้บริหารมืออาชีพเพื่อเข้ามาช่วยดูแลกิจการของครอบครัว ซึ่งช่วยในเรื่องการวางแผนการรับมือธุรกิจในอนาคต และเป็นการรับประกันความยั่งยืนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ด้วยปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในปัจจุบัน แม้แต่ธุรกิจครอบครัวก็ยังต้องให้ความสำคัญกับการรักษา การพัฒนา ตลอดจนหาแนวทางใหม่ๆ ในการจูงใจให้เกิดประสิทธิภาพการทำงาน ความจงรักษ์ภักดี และประสิทธิภาพในแรงงาน
ถึงแม้ว่าการเสนอขายหุ้นในภาคอุตสาหกรรมจะมีการชะลอตัว แต่ในปีที่ผ่านมาการเสนอการขายหุ้นที่ใหญ่ที่สุดกลับตกไปอยู่ในภาคเกษตร อาหาร อสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม โควิด-19 ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจไทย จากประสบการณ์และข้อมูลทางการตลาด BDO Thailand ได้คาดการณ์ว่าการสาธารณสุขจะเป็นภาคส่วนสำคัญที่ต้องจับตามอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มประชากรในปัจจุบันที่หันมาใส่ใจสุขภาพ
ประเทศไทยกำลังเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จากสถิติประเทศไทยมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดประเทศหนึ่งของโลก โดยการหดตัวจะอยู่ที่ประมาณ 30% ซึ่งหมายความว่าการสาธารณะสุข เป็นภาคส่วนขนาดใหญ่ซึ่งธุรกิจเกิดใหม่ และเติบโตในพื้นที่นี้จะเป็นที่สนใจ และดึงดูดนักลงทุนที่มีศักยภาพให้เข้ามาลงทุน นอกจากนั้นเทคโนโลยีก็ยังเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่น่าจับตามองในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีที่จะทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น และช่วยลดค่าใช้จ่าย ซึ่งน่าจะเป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนของผู้คนในช่วงของภาวะเงินเฟ้อ
ทิศทางขาขึ้นหลังโควิด-19
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยเริ่มกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง ธุรกิจต่างๆ เริ่มมีการปรับตัว ด้วยความตระหนักรู้ถึงผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อธุรกิจในท้องถิ่น แบรนด์ต่างๆ จึงต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อเป็นการสนับสนุนคนในท้องถิ่น และเศรษฐกิจโดยรวม สิ่งเหล่านี้ผูกพันอย่างแนบแน่นกับวัฒนธรรมการทำบุญแบบไทยๆ ซึ่งเป็นประเพณีที่เอื้อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "กรรมดี" ที่สั่งสมมาจากการกระทำดี หรือความคิดที่ดี
นอกจากนี้ ยังมีวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เข้ามามีผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตที่มุ่งเน้นในเรื่องของความยั่งยืนพุ่งสูงขึ้น แม้ว่าคำว่า " คาร์บอนเป็นกลาง" (Carbon neutra) อาจไม่ได้อยู่ในพจนานุกรมของบริษัทเมื่อ 2 ทศวรรษก่อน แต่ผู้บริโภคและลูกค้าในปัจจุบันเข้าใจดีเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจมีต่อโลกและภาพลักษณ์ของแบรนด์ การเปลี่ยนแปลงนี้จึงส่งผลให้เกิดการสร้างงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ความต้องการผู้เชี่ยวชาญที่สามารถเข้าใจและจัดการ หรือจัดให้มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้
ในขณะที่ตลาดทั่วโลกเริ่มมีการปรับมาตรฐานครั้งใหญ่หลังการระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยก็ยังสามารถให้มุมมองในเชิงบวก ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีความท้าทายรออยู่ในอนาคต แต่ในแง่ของตลาดเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวม ยังแลดูมีความพร้อมที่จะผ่านพ้นมรสุมและแข็งแกร่งขึ้นในอนาคตแน่นอน