ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ครีมช่วยให้ "ดั้งโด่ง" ไม่มีอยู่จริง ขออย่าหลงเชื่อ

ครีมช่วยให้ "ดั้งโด่ง" ไม่มีอยู่จริง ขออย่าหลงเชื่อ Thumb HealthServ.net
ครีมช่วยให้ "ดั้งโด่ง" ไม่มีอยู่จริง ขออย่าหลงเชื่อ ThumbMobile HealthServ.net

อย. ชี้แจงไม่มีครีมหรือเซรั่มใดที่ทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกโด่ง ภายใน 7 วัน ได้จริง เป็นเพียงการกล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกเพื่อทำความสะอาด สวยงาม แต่งกลิ่นหอมเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายได้

ครีมช่วยให้ "ดั้งโด่ง" ไม่มีอยู่จริง ขออย่าหลงเชื่อ HealthServ
 
เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีมีผู้แชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มที่สามารถทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกดั้งโด่ง ภายใน 7 วัน นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า โครงสร้างของจมูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างส่วนด้านบนเป็นกระดูกแข็ง ด้านล่างเป็นกระดูกอ่อน โดยห่อหุ้มด้วยผิวหนังและไขมัน ดังนั้น ครีมที่ทำให้ดั้งโด่งจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูก ส่งผลให้จมูกโด่งอย่างแน่นอน


ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับภายนอกร่างกายของมนุษย์ รวมถึงฟันและเยื่อบุในช่องปาก เพื่อความสะอาด ความสวยงาม แต่งกลิ่นหอมเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายได้


การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ทำให้ดั้งโด่งได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วัน ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงการกล่าวอ้างสรรพคุณที่โกหกทั้งเพ เพราะครีมหรือเซรั่มเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ภายนอกเท่านั้น
 

ทั้งนี้ ผู้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ที่หลอกลวงสรรพคุณให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ถือเป็นการโฆษณาที่แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 

รองเลขาธิการ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า อย. เคยออกข่าวเตือนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในลักษณะนี้เมื่อปี 2561 และกลับมาวนซ้ำอีกครั้ง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา ขอให้ผู้บริโภคหยุดคิดก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการโฆษณาสรรพคุณต่าง ๆ ว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายได้ หากพบเห็นการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงขอให้แจ้งร้องเรียนมาที่สายด่วน อย. 1556

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด