ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รู้จักกับไซยาไนด์ สารพิษร้ายแรงที่แฝงอยู่รอบตัว

รู้จักกับไซยาไนด์ สารพิษร้ายแรงที่แฝงอยู่รอบตัว HealthServ.net
รู้จักกับไซยาไนด์ สารพิษร้ายแรงที่แฝงอยู่รอบตัว ThumbMobile HealthServ.net

ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารประกอบที่มีความเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ หากเข้าร่างกาย พิษไซยาไนด์จากไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางตัวในร่างกาย ทำให้การหายใจระดับเซลล์ล้มเหลว อวัยวะที่ถูกกระทบ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง สมอง ตับ ไต และระบบหัวใจ อาการที่เกิดจากการได้รับพิษไซยาไนด์ แบบเฉียบพลัน จะมีอาการหายใจติดขัด ชักและหมดสติ และอาจถึงตายได้


พิษของสารไซยาไนด์สามารถเข้าสู่ร่างการได้ 2 ทางคือ ทางผิวหนัง (การดื่ม ฉีด จับ) และระบบทางเดินหายใจ (การสูดดม) 
 
นั่นเป็นเพราะ ไซยาไนด์ พบได้ใน 2 รูปแบบคือ 
 
1) ของแข็ง หรือ เกลือไซยาไนด์ ซึ่งเป็นโซเดียมไซยาไนด์ หรือ โปรแตสเซียม ไซยาไนด์ และ 
2) สถานะก๊าซ หรือ ก๊าซไซยาไนด์  ซึ่งเป็น ไฮโดรเจน ไซยาไนด์ ที่เกิดจากปฏิกิริยาของเกลือไซยาไนด์ผสมกับกรด (เช่น กรดเกลือ หรือ กรดกำมะถัน) 
 
ไม่ว่าอย่างไร ทั้งสองสถานะ คือ เกลือไซยาไนด์ หรือก๊าซไซยาไนด์ ต่างก็ "เป็นพิษ" ทั้งสอบแบบ มีอันตรายถึงตายได้เลย 
 
 
สารไซยาไนด์ไม่มีกลิ่น สี รสชาติ มนุษย์จึงอาจรับเข้าไป สูดดม หรือหายใจ โดยไม่รู้ตัวได้  
 
ระดับของไซยาไนด์ที่เป็นพิษ (lethal dose) ต่อมนุษย์นั้นคือ 0.5–3.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ เทียบได้กับเม็ดถั่วเขียว 1 เม็ด

 
 
 
 
 

ไซยาไนด์ในชีวิตประจำวัน

 
ทำไมจึงกล่าวว่าไซยาไนด์ เป็นสารพิษร้ายแรงที่แฝงอยู่รอบตัว นั่นเพราะว่าในชีวิตประจำวันรอบตัวเรามีหลายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับไซยาไนด์ 
 
 
ไซยาไนด์พบได้ตามธรรมชาติ
 
ไซยาไนด์ เป็นสารประกอบที่มีความเป็นพิษ ซึ่งเป็นอัตรายทางเคมี (chemical hazard) ที่พบตามธรรมชาติในพืชหลายชนิด เช่น มันสัมปะหลัง สบู่ดำ หน่อไม้ ถั่วลิมา อัลมอนด์ชนิดขม ข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วชนิดต่างๆ อ้อย แอบเปิ้ล เผือก หน่อไม้ เมล็ดอัลมอล เชอรี่ พีช มะม่วง มะละกอ ฝรั่ง มะนาว โดยอยู่ในรูปไซยาโนไกลโคไซด์ต่างๆ กัน เช่น ในมันสำปะหลัง พบในรูปลินามาริน (linamarin) และโลทอสตราลิน (lotaustralin)  ร้อยละ 80-90 และที่เหลือพบในรูปของไซยาไนด์อิสระหรือไฮโดรเจนไซยาไนด์ ในขณะที่ในถั่วลิมาพบในรูปอะไมดาลิน (amygdalin) และพรูนาริน (prunasin) เป็นต้น 
 
ทำไมพบสารพิษในพืชล่ะ 
เพราะพืช ใช้ไซยาไนด์ เพื่อสู้กับผู้รุกรานไงล่ะ  
 
อธิบายได้ว่า พืชจะมีเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายไซยาโนไกลโคไซด์ต่างๆ ให้เป็นไฮโดรเจนไซยาไนด์ ซึ่งเป็นพิษต่อศัตรูผู้รุกรานได้ เช่น ในมันสำปะหลังจะมีเอนไซม์ลินามาริเนส (linamarinase) พบในส่วนต่างๆ ของพืชสามารถย่อยลินามารินไปเป็นไฮโดรเจนไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษ 
 
 
ไซยาไนด์ในอุตสาหกรรม
 
ไซยาไนด์อาจพบได้จาก ควันไอเสียรถยนต์ มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันจากเตาเผาขยะควันบุหรี่ ควันจากไฟไหม้และอาจพบในน้ำเสียจากโรงงานกลุ่มเคมีอินทรีย์ และอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กหรือเหล็กกล้าได้
 
ไซยาไนด์นำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ในการเกษตร อาหาร พลาสติก โลหะ มากมาย รอบๆ ตัว 
 
ไซยาไนด์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ พลาสติก และยางในรูปแบบสารประกอบต่าง ๆ Calcium cyanamide (nitrolim, calcium carbimide, cyanamide) เป็นผงสีดำเทาเป็นประกาย ใช้สำหรับบ่มเพาะในงานเกษตรกรรม ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช อุตสาหกรรม คอตตอน อุตสาหกรรมเหล็กใช้ทำให้เหล็กแข็งตัว และยังเป็นสารตั้งต้นของการผลิตเมลามีน
 
Cyanogen, cyanogen bromide and cyanogen chloride ใช้เป็นส่วนผสมในเชื้อเพลิง และใช้ในการตัดเหล็กที่ทนความร้อนสูง นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง เป็นส่วนประกอบของยาฆ่าแมลง และใช้สกัดทอง
 
Hydrogen cyanide ใช้ในอุตสาหกรรมไฟเบอร์ พลาสติก ขัดเงาโลหะ การย้อมสี และการถ่ายภาพ
 
Potassium ferricyanide (red prussiate of potash) ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ การถ่ายภาพการย้อมสี และ การผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
 
 
คุณสมบัติก่อมะเร็ง
 
EPA ได้จัดไซยาไนด์เป็นกลุ่ม D, ไม่จัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

 

อาการทางคลินิกผู้ป่วยที่ได้รับสารไซยาไนด์

 
อาการเฉียบพลัน ทางเข้าสู่ร่างกายนั้น สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางการหายใจ ทางการกินและซึมผ่านผิวหนัง หากได้รับเข้าไปปริมาณมากจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหายใจในระดับเซลล์ ทำให้เซลล์เสียชีวิตได้
 
อาการระยะยาว การสัมผัสสาร thiocyanate ในระยะยาว อาจก่อให้เกิดพิษเรื้อรังได้ มีอาการแขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ และโรคของต่อมไทรอยด์ ซึ่งมีรายงานในคนงานโรงงานแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และคนงานขัดเครื่องเงิน
 
 

ลักษณะอาการผู้ป่วยที่ได้รับสารไซยาไนด์

 
กรณีอาการไม่รุนแรง
 
กล้ามเนื้อล้า แขนขารู้สึกหนัก
หายใจลำบาก
ปวดหัว รู้สึกมึน ๆ วิงเวียน
คลื่นไส้ อาเจียน
ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนด์จาง ๆ
รู้สึกระคายเคืองคัน ๆ ที่จมูก คอ ปาก


 
กรณีอาการรุนแรง

คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงกว่า
หายใจลำบาก
ชักหมดสติ
เสียชีวิต
 

 

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารไซยาไนด์


ปฐมพยาบาล กรณีสารเคมีรั่วไหล นำผู้ป่วยออกจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด ให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเท ถอดเสื้อผ้าออก ล้างตัวด้วยน้ำเปล่าให้มากที่สุด ถ้าเข้าตาให้ทำการล้างตาด้วย สังเกตสัญญาณชีพ ใส่ท่อช่วยหายใจถ้าไม่หายใจ ให้ออกซิเจนเสริม
 
การรักษาระยะเฉียบพลัน ทำการล้างตัว (decontamination) ทั้งที่จุดเกิดเหตุและที่โรงพยาบาล ช่วยการหายใจ ให้ออกซิเจน
 
การสูดดมสาร amyl nitrile ยังไม่ชัดเจนว่าสามารถช่วยต้านพิษของ ไซยาไนด์ได้หรือไม่ เนื่องจาก การสูดดมเมื่อ amyl nitrile เข้าสู่ร่างกายจะจับกับ Hemoglobin (เช่นเดียวกับ Sodium nitrile) กลายเป็น methemoglobin แล้วจะแย่งจับกับ Cyanide ในกระแสเลือดเป็น Cyanomethemoglobin และเมื่อได้รับ Sodium thiosulfate จึงจะช่วยขับ Cyanide ออกจากร่างกายได้ แต่ตัว Methemoglobin เองก็เป็นพิษต่อร่างกายเช่นกัน
 
ถ้าไปพบคนกำลังแย่เพราะไซยาไนด์อยู่ตรงหน้า ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเป็นการกินเข้าไปก็ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลล้างท้องเร็วที่สุด ถ้าเป็นก๊าซไซยาไนด์ ก็ต้องพาออกไปให้พ้นจากบริเวณที่มีก๊าซให้เร็วที่สุด ถ้าเสื้อผ้าหรือผิวหนังเปื้อนสารไซยาไนด์ก็ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ที่สำคัญคือคนช่วยต้องระวังตัวมาก ๆ อย่าสูดลมหายใจของผู้ป่วยเข้าไปเป็นอันขาด แล้วเรียกรถพยาบาลมาด้วย
 


อ้างอิง 
กรมอนามัย 
มหิดล rama.mahidol.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Foodnetworksolution
วิกิพีเดีย
ไทยพีบีเอส 
มูลนิธิสัมมาอาชีวะ
 
 *ภาพจาก ไทยพีบีเอส

แนวทางปฏิบัติการจ่ายยาต้านพิษสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับสารไซยาไนด์ (โรงพยาบาลระยอง)

 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด