ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร

สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร HealthServ.net
สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร ThumbMobile HealthServ.net

กระบวนการยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า เมื่อต้องทำธุรกรรมผ่าน mobile banking หรือผ่านแอปของธนาคาร เป็นหนึ่งในมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ประกาศให้ธนาคารต้องนำมาใช้ เพื่อเป็นการปกป้อง ป้องกันภัยให้กับประชาชน จากมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ใช้เทคโนโลยีในหลายรูปแบบ เช่น SMS หลอกลวง ลิงค์ปลอม ลิงค์แอปพลิเคชันให้สินเชื่อปลอม เว็บปลอม แอปพลิเคชันดูดเงิน ฯลฯ มาหลอกลวงให้ประชาชนเกิดความเสียหาย สูญเสียทรัพย์สิน รายได้ที่เก็บออม ส่งผลถึงการขาดความมั่นใจในการใช้บริการทางการเงินดิจิทัลของสถาบันการเงิน (สง.)

สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร HealthServ

มาตรการจาก ธปท.
 

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ธปท. ได้เผยแพร่ข้อมูล การออกมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ​โดย นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากมิจฉาชีพดังกล่าว และไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกภาคการเงินดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง บนหลักการป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองรับมือ เพื่อลดช่องทางของมิจฉาชีพ และช่วยแก้ไขปัญหาให้ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อภัยการเงิน รวมทั้งกำชับให้ สง. ต้องเร่งจัดการปัญหาให้ประชาชนโดยเร็ว ซึ่งหลายเรื่องดำเนินการแล้ว เช่น ร่วมกับสำนักงาน กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร (TB-CERT) ปิด SMS ที่แอบอ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน เพื่อป้องกันมิจฉาชีพใช้แอบอ้างติดต่อประชาชน ซึ่งทำให้ภัยหลอกลวงทาง SMS เหล่านี้ลดลง 
 
 
 ในครั้งนี้ ธปท. จึงได้ออกแนวนโยบายเป็นชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินที่ดูแลตลอดเส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้ สง. ทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีการรักษาสมดุลระหว่างการบริหารจัดการความเสี่ยงกับการส่งเสริมบริการทางการเงินดิจิทัล ซึ่ง ธปท. เห็นว่ามาตรการชุดนี้จะช่วยให้ สง. ป้องกันความเสี่ยงและแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ชุดมาตรการด้านการป้องกัน ตรวจจับ ตอบสนองและรับมือ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
 
 
1. มาตรการป้องกัน เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ให้ สง. งดการส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน และเลขบัตรประชาชนผ่านโซเชียลมีเดีย จำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking (username) ของแต่ละ สง. ให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น โดย สง. ต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ mobile banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง และพัฒนาระบบความปลอดภัยบน mobile banking ให้เท่าทันภัยการเงินรูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา ตลอดจนต้องยกระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนขั้นต่ำด้วยการใช้เทคโนโลยีเปรียบเทียบข้อมูลอัตลักษณ์ทางกายภาพของลูกค้า (biometrics) เช่น สแกนใบหน้า ในกรณีลูกค้าขอเปิดบัญชีโดยผ่านแอปพลิเคชันของ สง. (non-face-to-face) หรือทำธุรกรรมผ่าน mobile banking ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น โอนเงินมากกว่า 50,000 บาท หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป นอกจากนี้ จะกำหนดเพดานวงเงินถอน/โอนสูงสุดต่อวันให้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงของกลุ่มผู้ใช้บริการแต่ละประเภท โดยลูกค้าสามารถขอปรับได้ตามความจำเป็น และต้องยืนยันตัวตนอย่างเข้มงวด
 
 
2. มาตรการตรวจจับและติดตามบัญชี หรือธุรกรรมต้องสงสัย เพื่อให้ สง. ช่วยจำกัดความเสียหายได้เร็วขึ้น และลดการใช้บัญชีม้า ธปท. จะกำหนดเงื่อนไขการตรวจจับและติดตามธุรกรรมเข้าข่ายผิดปกติ หรือกระทำความผิด เพื่อให้ สง. รายงานไปสำนักงาน ปปง. รวมทั้งให้ สง. ต้องมีระบบตรวจจับและติดตามบัญชี หรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบ near real-time เพื่อให้สามารถระงับธุรกรรมได้ทันทีเป็นการชั่วคราวเมื่อตรวจพบ
 
 
3. มาตรการตอบสนองและรับมือ เพื่อจัดการปัญหาให้ผู้เสียหายได้เร็วขึ้น ให้ สง. ทุกแห่งต้องมีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (hotline) ตลอด 24 ชั่วโมง แยกจากช่องทางให้บริการปกติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งเหตุได้โดยเร็ว รวมทั้งให้ดูแลรับผิดชอบผู้ใช้บริการ หากพบว่าความเสียหายเกิดจากข้อบกพร่องของ สง. 
 
ทั้งนี้ ธปท. ได้เร่งให้ สง. ทุกแห่งต้องดำเนินมาตรการทั้งหมดโดยเร็ว โดยได้มีการเริ่มดำเนินการในบางมาตรการแล้ว ขณะที่มาตรการที่เหลือส่วนใหญ่จะกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2566 และจะเร่งดำเนินการสำหรับบางมาตรการที่มีความซับซ้อนและต้องใช้เวลาในการปรับปรุง ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดต่อไป โดย ธปท. จะประเมินประสิทธิผลของการดำเนินการ และจะทบทวนปรับปรุงมาตรการเป็นระยะ เพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ไขภัยทุจริตทางการเงินได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
 
 
อย่างไรก็ดี การดำเนินงานของ ธปท. เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่การจัดการและแก้ไขภัยทางการเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จขึ้น ต้องอาศัย พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อมีผลบังคับใช้จะช่วยแก้ไขข้อจำกัดและอุปสรรคได้เพิ่มเติม ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมต้องสงสัยระหว่าง สง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้คล่องตัวขึ้น การระงับการทำธุรกรรมโดย สง. ได้ทันที และการกำหนดบทลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับบัญชีม้าที่ชัดเจนขึ้น รวมทั้งยังต้องบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป
 
 
 
 
สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร HealthServ

ธนาคารกรุงเทพ : เริ่มยืนยันใบหน้าได้ตั้งแต่เมษายน 2566 ทุกสาขาทั่วประเทศ LINK

ธนาคารกรุงเทพ : เริ่มยืนยันใบหน้าได้ตั้งแต่เมษายน 2566 ทุกสาขาทั่วประเทศ สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ธนาคารกรุงเทพ : เริ่มยืนยันใบหน้าได้ตั้งแต่เมษายน 2566 ทุกสาขาทั่วประเทศ สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ธนาคารกรุงเทพเริ่มให้ยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า เมื่อทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงก์กิ้ง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป สิ่งที่เจ้าของบัญชีต้องทำคือ 
✅นำบัตรประชาชนไปอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
✅ถ่ายภาพใบหน้าได้ที่ธนาคารกรุงเทพ ทุกสาขาทั่วประเทศ
          ธนาคารกรุงเทพ ยกระดับความปลอดภัยในการใช้งานแอปพลิเคชัน ดังนี้
1. จำกัดการใช้งานแอป 1 อุปกรณ์/ท่าน เท่านั้น
2. บล็อกการเข้าถึงแอปจากทางไกล
3. ปรับลดวงเงินตั้งต้น โอน / จ่าย / เติม จากเดิม 200,000 บาท/วัน เป็น 50,000 บาท/วัน 
4. เพิ่มการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าในการทำธุรกรรม โอน / จ่าย / เติม ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง ดังนี้ (เริ่มเมษายน 2566)
◾ รายการโอน / เติมเงิน e-Wallet ตั้งแต่ 50,000 บาท/รายการ ขึ้นไป
◾ รายการโอน / จ่าย  / เติม ที่ทำให้ยอดสะสมต่อวัน ครบทุก 200,000 บาท
◾ การปรับเพิ่มวงเงินโอน / จ่ายเงิน ผ่านแอป
            หากต้องการคำแนะนำ บริการ หรือความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อธนาคารได้ที่สาขาธนาคารกรุงเทพทั่วประเทศ หรือบัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ 02-6455555
           ข้อมูลอ้างอิง Bangkok Bank เฟสบุ๊คธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกสิกรไทย : ยืนยันตัวตนที่ตู้ ATM หรือสาขาธนาคารทั่วประเทศ แจ้งลูกค้า K PLUS อัปเดตเวอร์ชันล่าสุด LINK

ธนาคารกสิกรไทย : ยืนยันตัวตนที่ตู้ ATM หรือสาขาธนาคารทั่วประเทศ แจ้งลูกค้า K PLUS อัปเดตเวอร์ชันล่าสุด สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ธนาคารกสิกรไทย : ยืนยันตัวตนที่ตู้ ATM หรือสาขาธนาคารทั่วประเทศ แจ้งลูกค้า K PLUS อัปเดตเวอร์ชันล่าสุด สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ธนาคารกสิกรไทย ยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมผ่าน K PLUS แนะนำให้ลูกค้าอัปเดตเวอร์ชันล่าสุด 5.17.0 เพิ่มเมนูใหม่ สามารถตรวจสอบ หรือยืนยันตัวตนด้วยใบหน้ากับธนาคาร เพื่อใช้ทำธุรกรรมบน K PLUS สามารถทำเองได้ง่ายๆ ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
• เลือก “อื่นๆ" (Others)
• เลือก “การตั้งค่า" (Setting)
• เลือก “ยืนยันตัวตนด้วยใบหน้ากับธนาคาร" (Facial Verification with Bank)
          หากธนาคารมีข้อมูลสแกนใบหน้าของลูกค้าแล้ว K PLUS จะแสดงข้อความว่า “คุณได้ยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าที่พร้อมใช้งานแล้ว" ลูกค้าสามารถสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมบน K PLUS ได้ตามปกติ
          ในกรณีที่ลูกค้าเคยยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชนแล้ว แต่ยังไม่เคยสแกนใบหน้า K PLUS จะให้ลูกค้าถ่ายรูปใบหน้าตามคำแนะนำบนหน้าจอ
          หากลูกค้ายังไม่เคยยืนยันตัวตนและสแกนใบหน้า K PLUS จะแสดงข้อความว่า “คุณยังไม่ได้นำบัตรประชาชนไปยืนยันตัวตน (Dip Chip) ที่จุดให้บริการของธนาคาร" ให้ลูกค้านำบัตรประชาชนไปยืนยันตัวตนที่ตู้ ATM หรือสาขาธนาคารทั่วประเทศ
          ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรม ลูกค้า K PLUS ต้องยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้าในการทำธุรกรรม 3 ประเภท ได้แก่ 1) โอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปต่อรายการ 2) โอนเงินเมื่อมียอดรวมการโอนทุก 200,000 บาทต่อวัน 3) ปรับเพิ่งวงเงินการทำรายการต่อวัน
          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE Official Account @KBankLive หรือ K-Contact Center โทร.02-8888888 หรือโทร. ผ่าน K PLUS ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
        อ้างอิง kasikornbank.com  กสิกรไทยยกระดับความปลอดภัย แจ้งลูกค้า K PLUS อัปเดตเวอร์ชันล่าสุด

ธนาคารไทยพาณิชย์ : ยืนยันตัวตนที่สาขาทั่วประเทศ เช็คสถานะ ผ่านแอป SCB EASY LINK

ธนาคารไทยพาณิชย์ : ยืนยันตัวตนที่สาขาทั่วประเทศ เช็คสถานะ ผ่านแอป SCB EASY สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ธนาคารไทยพาณิชย์ : ยืนยันตัวตนที่สาขาทั่วประเทศ เช็คสถานะ ผ่านแอป SCB EASY สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
เมื่อต้องการทำธุรกรรมดังต่อไปนี้ผ่านแอป SCB EASY ต้องมีการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า 
    1. โอนเงินไปยังบุคคลอื่น ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปต่อครั้ง
    2. มูลค่ารวมของธุรกรรมโอนเงินทุก ๆ 200,000 บาท ภายใน 1 วัน
    3. ปรับเพิ่มวงเงินให้โอนได้ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป
          วิธีการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า 
กรุณานำบัตรประชาชนไปอัปเดตข้อมูลของท่านให้เป็นปัจจุบันและถ่ายรูปใบหน้าได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขาทั่วประเทศ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
         หากลูกค้ามีข้อสงสัยหรือประสงค์จะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ศูนย์บริการลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Call Center โทร. 02-777-7777 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
         ข้อมูลอ้างอิง SCB เตรียมความพร้อมสำหรับการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า

ธนาคารกรุงไทย : ยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าที่ตู้ ATM สีเทา และสาขาทั่วประเทศ เช็คสถานะผ่านแอป Krungthai NEXT และเป๋าตัง LINK

ธนาคารกรุงไทย : ยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าที่ตู้ ATM สีเทา และสาขาทั่วประเทศ เช็คสถานะผ่านแอป Krungthai NEXT และเป๋าตัง สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ธนาคารกรุงไทย : ยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าที่ตู้ ATM สีเทา และสาขาทั่วประเทศ เช็คสถานะผ่านแอป Krungthai NEXT และเป๋าตัง สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ธนาคารกรุงไทย นำเทคโนโลยีมายกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมการเงิน ได้แก่ การพัฒนาระบบแจ้งเตือนผู้ใช้งาน เมื่อตรวจพบการบันทึกภาพ  หรือ วิดีโอหน้าจอ  หรือใช้โปรแกรมควบคุมหน้าจอมือถือของผู้ใช้งาน (Screen Sharing /Screen Recording) เพื่อป้องกันการเข้าถึงแอปฯ จากทางไกล และการยกเลิกส่ง SMS และ e-mail แนบลิงก์ ล่าสุด ธนาคารพัฒนาระบบการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้ามาใช้กับ แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT และเป๋าตัง เมื่อทำธุรกรรมโอนเงิน หรือปรับเพิ่มวงเงินผ่านแอปฯ  ดังนี้
         1. โอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไปต่อครั้ง
         2. มียอดโอนเงินสะสมทุก 200,000 บาท ต่อวันต่อบัญชี  
         3. ปรับเพิ่มวงเงินโอนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป
        การยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า ทำให้การทำธุรกรรมโอนเงิน ปลอดภัยมากขึ้น ทำธุรกรรมผ่านแอปฯ ได้คนเดียวเท่านั้น สะดวกมากขึ้น เมื่อต้องการเปลี่ยนอุปกรณ์มือถือ ลืมรหัส หรือเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ใหม่ในการรับ OTP  สำหรับการทำธุรกรรม ทำให้สามารถใช้งานแอปฯ ได้อย่างต่อเนื่อง
        การยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าก่อนโอนเงิน เริ่มในเดือนมิถุนายน 2566 สำหรับลูกค้าที่ยังไม่เคยมีข้อมูลการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า หรือ ข้อมูลไม่อัพเดต สามารถเพิ่มข้อมูลได้ เพียงนำบัตรประชาชนไปขอดำเนินการผ่านธนาคารกรุงไทยทุกสาขา และ ตู้ ATM ที่มีสัญลักษณ์ Confirm ID (ตู้สีเทา)  โดยอัพเดตข้อมูลครั้งเดียวใช้ได้ทั้ง แอปฯ Krungthai NEXT และ เป๋าตัง 
         สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Krungthai Contact Center 02-111-1111
         อ้างอิง krungthai.com  เสริมแกร่งเทคโนโลยี สแกนใบหน้า  |  เช็กสถานะว่ายืนยันตัวต ผ่านแอปฯ Krungthai NEXT และ เป๋าตัง

ธนาคารออมสิน ยืนยันตัวตนที่สาขา และอัปเดต MyMo ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด LINK

ธนาคารออมสิน ยืนยันตัวตนที่สาขา และอัปเดต MyMo ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ธนาคารออมสิน ยืนยันตัวตนที่สาขา และอัปเดต MyMo ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ธนาคารออมสิน กรณีลูกค้าที่ต้องการโอนเงินมากกว่า 50,000 บาท หรือปรับเพิ่มวงเงินการทำรายการ หรือเปลี่ยนแปลงวงเงิน...บนแอป MyMo ต้องยืนยันตัวตนด้วยการเปรียบเทียบใบหน้า สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 
- นำบัตรประจำตัวประชาชนไปยืนยันตัวตนที่สาขา และอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
- ถ่ายภาพสแกนใบหน้าที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ
- อัปเดต MyMo ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด
        สามารถตรวจสอบผ่านแอป MyMo ได้ว่า คุณยืนยันการทำรายการด้วยการสแกนใบหน้า (Face Recognition : FR) หรือยัง ดังนี้
1. เข้าแอป MyMo 
2. ไปที่ Profile ด้านบนสุดมุมซ้าย (คลิกที่รูป Profile)  เพื่อตรวจสอบความพร้อม และมองหาหัวข้อ “ยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า” สามารถเช็กสถานะได้ ดังนี้
         ❌ กลุ่มที่ 1 ไม่พร้อมใช้งาน จะแสดงข้อความ “ติดต่อสาขาธนาคารออมสิน” ลูกค้าต้องไปติดต่อสาขาเพื่อปรับปรุงข้อมูล
         ✅ กลุ่มที่ 2 พร้อมใช้งาน จะแสดงข้อความ “กดเพื่อยืนยัน” กรณีนี้ ลูกค้าไม่ต้องไปติดต่อสาขาเพื่อปรับปรุงข้อมูล สามารถกดยืนยันเพื่อสแกนใบหน้าผ่านแอป MyMo ได้เลย
         ✅ กลุ่มที่ 3 พร้อมใช้งาน จะแสดงข้อความ “ยืนยันตัวตนแล้ว” ลูกค้าไม่ต้องไปติดต่อสาขาเพื่อปรับปรุงข้อมูล สามารถสมัคร หรือขอใช้บริการต่าง ๆ ผ่านแอป MyMo ได้เลย
*เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
          ติดต่อปรับปรุงข้อมูลได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
          ติดต่อสอบถาม ได้ที่ GSB Contact Center 1115
ข้อมูลอ้างอิง GSB Society สแกนหน้าก่อนโอน    ตรวจสอบความพร้อม Face Recognition : FR 
 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา : ปลอดภัยกว่าด้วยระบบสแกนใบหน้า Facial Recognition LINK

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา : ปลอดภัยกว่าด้วยระบบสแกนใบหน้า Facial Recognition สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา : ปลอดภัยกว่าด้วยระบบสแกนใบหน้า Facial Recognition สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
      เพื่อความปลอดภัยในการโอนเงินและเพิ่มวงเงินโอนผ่าน Krungsri Biz Online ผู้ที่ทำธุรกรรมโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปต่อรายการ, การโอนเงินที่มียอดรวมสะสมครบตั้งแต่ 200,000 บาทต่อวัน หรือปรับเพิ่มวงเงินให้โอนได้ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ตามนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อเสริมความปลอดภัย จะต้องมีการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน โดย Krungsri Biz Online จะเริ่มใช้วันที่ 19 มิถุนายน 2566 นี้เป็นต้นไป (เฉพาะลูกค้าบุคคลเเบบ Single Control) 
     ลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยาสามารถยืนยันตัวตนระบบสแกนใบหน้าได้ ผ่านแอป KMA

     ติดต่อสอบถาม โทร 1572
 
อ้างอิง krungsri.com โอนเงิน และปรับเปลี่ยนวงเงิน ผ่าน KMA krungsri app  |  ขั้นตอนลงทะเบียนระบบสแกนใบหน้าผ่านแอป KMA

ธนาคารทีทีบี : ยืนยันตัวตนผ่านโมบายแบงก์กิ้ง ttb touch ด้วยตนเอง LINK

ธนาคารทีทีบี : ยืนยันตัวตนผ่านโมบายแบงก์กิ้ง ttb touch ด้วยตนเอง สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ธนาคารทีทีบี : ยืนยันตัวตนผ่านโมบายแบงก์กิ้ง ttb touch ด้วยตนเอง สรุปวิธี การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า แต่ละธนาคาร
ลูกค้าธนาคารทีทีบี จะต้องสแกนใบหน้า เพื่อยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงก์กิ้ง ttb touch ด้วยตนเองทุกครั้ง ในการทำธุรกรรมดังนี้
        1.โอนเงินให้บุคคลอื่นหรือธนาคารอื่น ตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป ต่อครั้ง
        2.โอนเงินให้บุคคลอื่นหรือธนาคารอื่น ตั้งแต่ 200,000 บาท ขึ้นไป ต่อวัน
        3.ปรับเพิ่มวงเงิน
        ลูกค้าทีทีบีส่วนใหญ่สามารถทำธุรกรรมดังกล่าวได้ตามปกติ โดยสามารถเช็กสถานะว่าต้องไปสแกนใบหน้าที่สาขาหรือไม่ ผ่านแอป ttb touch ตามขั้นตอนนี้
        • Log in แอป ttb touch
        • คลิกรูปจดหมายมุมขวาบนของจอ
        • เลือกกล่องข้อความเฉพาะคุณ
        • เลื่อนดูข้อความวันที่ 10 มิถุนายน 2566
        หากลูกค้าท่านใด ยังไม่เคยอัปเดตข้อมูลบัตรประชาชน และ/หรือสแกนใบหน้ากับธนาคาร สามารถนำบัตรประชาชนไปติดต่อทีทีบี ทุกสาขาใกล้บ้าน (รีบไปด่วนก่อนกรกฎาคม 2566 นี้)
        เพื่อให้คำแนะนำลูกค้าทีทีบี ที่กำลังสงสัยว่าถูกหลอก หรือได้รับความเสียหายจากมิจฉาชีพ สามารถติดต่อสอบถามมายังธนาคาร เพื่อแจ้งเหตุได้ตลอด 24 ชม. ที่ ttb contact center โทร  1428 กด 03
       ข้อมูลอ้างอิง TTB เราต้องสแกนใบหน้า เพื่อยืนยันตัวตน  | พิสูจน์และยืนยันตัวตน (NDID)  
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด