ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หากประสบอุบัติเหตุทั่วไป และอุบัติเหตุทางรถ สิทธิบัตรทอง ดูแลอย่างไร

หากประสบอุบัติเหตุทั่วไป และอุบัติเหตุทางรถ สิทธิบัตรทอง ดูแลอย่างไร Thumb HealthServ.net
หากประสบอุบัติเหตุทั่วไป และอุบัติเหตุทางรถ สิทธิบัตรทอง ดูแลอย่างไร ThumbMobile HealthServ.net

พิจารณาว่าเป็นกรณีอุบัติเหตุ 2 เหตุหลัก คือ อุบัติเหตุทั่วไป และอุบัติเหตุทางรถ กรณีการประสบอุบัติเหตุจากรถ จะพิจารณาว่า มี หรือ ไม่มี ประกันภัย จะมีแนวทางการใช้สิทธิที่กำหนดไว้

ประสบอุบัติเหตุทางรถ "สิทธิบัตรทอง หรือ บัตร 30 บาท" ดูแลอย่างไร


อุบัติเหตุ  หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือคาดคิดมาก่อนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน บุคคลได้รับอันตรายทั้งร่างกายและจิตใจ อาจบาดเจ็บ พิการ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

กรณีอุบัติเหตุ พิจารณา 2 เหตุหลัก คือ อุบัติเหตุทั่วไป และอุบัติเหตุทางรถ ซึ่งสปสช. ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้


กรณีประสบอุบัติเหตุทั่วไป


กรณีประสบอุบัติเหตุทั่วไป  อาทิ ตกบันได มีดบาด ถูกทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
 

แนวทางการใช้สิทธิ
 
  • เข้ารับบริการกับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อยู่ใกล้ทีสุดได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • แจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก่อนรับบริการ พร้อมแสดงหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่ายมีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ใช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)
  • กรณีเข้ารับการรักษายัง โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าร่วม โครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330 เพื่อแนะนำข้อมูลหรือประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อเนื่อง
หากประสบอุบัติเหตุทั่วไป และอุบัติเหตุทางรถ สิทธิบัตรทอง ดูแลอย่างไร HealthServ
 
 

กรณีประสบอุบัติเหตุจากรถ



การประสบ
อุบัติเหตุจากรถที่ มี ประกันภัย

- ผู้ขับขี่/ผู้โดยสาร
ได้รับความคุ้มครอง "เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น" จากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถคันที่ขับขี่มา ในวงเงิน 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน 30,000 บาท จึงจะใช้สิทธิบัตรทองรักษาต่อได้

- บุคคลภายนอก
ได้รับความคุ้มครองจากบริษัทที่รับประกันภัยรถคันที่ประสบภัย หรือรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอกรถ ในวงเงิน 80,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน 80,000 บาท จึงจะใช้สิทธิบัตรทองรักษาต่อได้




การประสบอุบัติเหตุจากรถที่ ไม่มี ประกันภัย
 
- ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก
ได้รับความคุ้มครองจาก "กองทุนทดแทน" ผู้ประสบภัยในวงเงินเบื้องต้น 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน 30,000 บาท จึงจะใช้สิทธิบัตรทองรักษาต่อได้ (ผู้ประสบภัยต้องไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจากเจ้าของรถ หรือได้รับการชดเชยไม่ครบจำนวน)


หมายเหตุ : ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถที่มีประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 สำหรับความเสียหายต่อร่างกายและอนามัย

ความเสียหายที่เกิดจากการเสียความสามารถในการประกอบงาน รวมถึงกรณีความเสียหายต่อชีวิต
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุ้มครองตามพ.ร.บ. ได้ที่ สายด่วนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เบอร์ 1186 (เฉพาะเวลาทำการ) หรือเว็บไซต์ www.oic.or.th 


แนวทางการใช้สิทธิ
 
  • แจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อนรับบริการ พร้อมแสดงหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสาร ที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุ ต่ำกว่า 7 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ใช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)
  • กรณีเข้ารับการรักษายัง โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าร่วม โครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330 เพื่อแนะนำข้อมูลหรือประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อเนื่อง


 
 
หากประสบอุบัติเหตุทั่วไป และอุบัติเหตุทางรถ สิทธิบัตรทอง ดูแลอย่างไร HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด