ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ภาพรวมถ่ายโอนภารกิจ รพสต. สู่ ปกครองท้องถิ่น (2551-2567)

ภาพรวมถ่ายโอนภารกิจ รพสต. สู่ ปกครองท้องถิ่น (2551-2567) HealthServ.net
ภาพรวมถ่ายโอนภารกิจ รพสต. สู่ ปกครองท้องถิ่น (2551-2567) ThumbMobile HealthServ.net

ข้อมูลสรุปภาพรวมถ่ายโอนภารกิจ สอน./รพสต. สู่ อปท. ปี 2551 - 2567 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (Health Systems Research institute) ให้ข้อมูลครบทุกด้านสำหรับการติดตามและศึกษาวิเคราะห์วิจัยต่อเนื่องต่อไป ข้อมูลอาทิ ไทม์ไลน์การดำเนินตามนโยบายการถ่ายโอน จำนวนและร้อยละสะสม ของหน่วยบริการปฐมภูมิ(สอน./รพสต.) ที่ถ่ายโอน ข้อมูลรายหน่วย ตั้งแต่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด หน่วยบริการแม่ข่าย (CUP) หน่วยบริการลูกข่าย บุคลากร ข้อมูลเงินโอนจาก สปสช. ฯลฯ

 

นโยบายถ่ายโอนภารกิจ สอน./รพสต. สู่ อปท.


     นโยบายการถ่ายโอนภารกิจกระจายอำนาจ กิจการสาธารณะไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2542  เมื่อ พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ประกาศใช้   "มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดการจัดระบบบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ และความสัมพันธ์ ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง โดยมาตรา 12 แห่งกฎหมายดังกล่าว ได้กำหนดให้คณะกรรมการ การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นเครื่องมือในการถ่ายโอนภารกิจและอำนาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะของรัฐให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการออกประกาศตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นสามารถจัดทำบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่และภารกิจถ่ายโอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น"  [กรมพัฒนาและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น]


        โดยที่ กิจการ สถานีอนามัย เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี  และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  เป็นภารกิจด้านการสาธารณสุข ที่จะต้องถูกโอนย้ายไปสู่  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยเช่นกัน  โดยกำหนดให้ทั้งสองภารกิจ ต้องโอนไปยัง "องค์การบริหารส่วนจังหวัด"   ตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ประกาศ ก.ก.ถ.)  2 ฉบับ ได้แก่ 
  • ประกาศ ก.ก.ถ. เรื่อง หลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัย เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 5 เมษายน 2565
  • ประกาศ ก.ก.ถ. เรื่อง หลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัย เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2564



        ปัจจุบันการถ่ายโอน ไม่จำกัด เฉพาะ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เท่านั้น แต่ องค์กรปกครองท้องถิ่นระดับอื่น ได้รับอนุมัติให้สามารถรับการถ่ายโอนได้ ได้แก่  เทศบาลตำบล (33 แห่ง ) องค์การบริหารส่วนตำบล (27 แห่ง) เทศบาลเมือง (11 แห่ง) เทศบาลนคร (8 แห่ง)  และ เมืองพัทยา  (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2567) 


 
ภาพรวมถ่ายโอนภารกิจ รพสต. สู่ ปกครองท้องถิ่น (2551-2567) HealthServ
 

ไทม์ไลน์การถ่ายโอน 

 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (Health Systems Research institute)  จัดทำแผนผังไทม์ไลน์ ข้อมูลสรุปภาพรวมถ่ายโอนภารกิจ สอน./รพสต. สู่ อปท.  ปี 2551 - 2567 ไว้เหมาะกับการทำความเข้าใจและศึกษา ดังนี้


ภาพรวมถ่ายโอนภารกิจ รพสต. สู่ ปกครองท้องถิ่น (2551-2567) HealthServ



พ.ศ. 2542​ เริ่มต้นกระบวนการ เมื่อ พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
พ.ศ. 2551​ ถ่ายโอน สถานีอนามัยครั้งแรก จำนวน 15 แห่ง ให้แก่
 - อบต. 3 แห่ง
 - เทศบาลตำบล 11 แห่ง
 - เทศบาลเมือง 1 แห่ง
 
พ.ศ. 2564​ ประกาศราชกิจานุเบกษา (19 ตค.2564)
ประกาศ กกถ. เรื่อง หลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
 
พ.ศ. 2565​ ถ่ายโอนสะสม ถึงปี 2565  จำนวน 79 แห่ง (0.80%)
  • อบต. 26 แห่ง
  • เทศบาลตำบล 33 แห่ง
  • เทศบาลเมือง 11 แห่ง
  • เทศบาลนคร 8 แห่ง
  • เมืองพัทยา 1 แห่ง
 
พ.ศ. 2566​ ​​ถ่ายโอนให้ อบจ.ปี 2566 จำนวน 3,263 แห่ง (33.05%)
  • อบจ.รับถ่ายโอน 49 อบจ.
  • ไม่รับถ่ายโอน 27 อบจ

รับถ่ายโอน 100% 6 อบจ.
  • มุกดาหาร
  • หนองบัวลำภู
  • ร้อยเอ็ด
  • ขอนแก่น
  • ปราจีนบุรี
  • สุพรรณบุรี
 
พ.ศ. 2567​ ถ่ายโอนให้ อบจ.ปี2567  จำนวน 934 แห่ง (9.46%)
 
  • ถ่ายโอนไป อบจ. 933 แห่ง
  • ถ่ายโอนไป อบต.  1 แห่ง
  • รับถ่ายโอน 62 อบจ.
  • ไม่รับถ่ายโอน 14 อบจ.
 
 

สรุปถ่ายโอน ณ ปัจจุบัน (19 กพ.2567)
 

จำนวน สอน./รพ.สต.ทั้งหมด 9,872 แห่ง
  • ยังไม่ถ่ายโอน 5,596 (56.69%)
  • ถ่ายโอนแล้ว 4,276 (43.31%)

* จำนวนสอน.ทั้งหมด 97 แห่ง [มูลนิธิพัฒนาสอน.]


สังกัดที่ถ่ายโอนไป
  1. อบจ. 4,196 แห่ง (98.13%)
  2. เทศบาลตำบล 33 แห่ง (0.77%)
  3. องค์การบริหารส่วนตำบล 27 แห่ง (0.63%)
  4. เทศบาลเมือง 11 แห่ง (0.26%)
  5. เทศบาลนคร 8 แห่ง (0.19%)
  6. เมืองพัทยา 1 แห่ง (0.02%)
 
 
 
 
 
 

สรุปภาพรวมถ่ายโอนภารกิจ

สรุปภาพรวมถ่ายโอนภารกิจ สอน./รพสต. สู่ อปท. ปี 2551 - ปัจจุบัน ข้อมูล ณ 19 ก.พ. 2567

องค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • จำนวน อบจ. 76 แห่ง
  • รับถ่ายโอน 62 แห่ง
  • ไม่รับถ่ายโอน 14 แห่ง
หน่วยบริการแม่ข่าย(CUP)
  • จำนวนแม่ข่าย(CUP) 925 แห่ง
  • CUP มีลูกข่ายถ่ายโอน 646 แห่ง
  • CUP ไม่มีลูกข่ายถ่ายโอน 279 แห่ง 
หน่วยบริการลูกข่ายข่าย(สอน./รพสต.)
  • รพ.สต.ทั้งหมด 9,872 แห่ง
  • ถ่ายโอน 4,276 แห่ง  (ถ่ายโอนไป อบจ. 4,196 แห่ง)
    • บุคลากรถ่ายโอนไป อบจ. 28,990 คน
    • กลุ่ม1(ขรก./ลจป./พนร.) 16,418 คน
    • กลุ่ม2(พกส/ลูกจ้างทั่วไป) 12,572 คน
  • ไม่ถ่ายโอน 5,596 แห่ง
หน่วยงานสังกัด รพสต.ปัจจุบัน
  • กระทรวงสาธารณสุข 5,596 แห่ง
  • อบจ. 4,196 แห่ง 
  • เทศบาลตำบล 33 แห่ง
  • องค์การบริหารส่วนตำบล 27 แห่ง
  • เทศบาลเมือง 11 แห่ง
  • เทศบาลนคร 8 แห่ง
  • เมืองพัทยา 1 แห่ง



ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด