ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ประกาศราชกิจจาฯ มีผล 22 มกราคม 2568

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ประกาศราชกิจจาฯ มีผล 22 มกราคม 2568 Thumb HealthServ.net
พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ประกาศราชกิจจาฯ มีผล 22 มกราคม 2568 ThumbMobile HealthServ.net

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ลงประกาศในราชกิจจาฯ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 67 และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในอีก 120 วัน นั่นคือวันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป เป็นของขวัญรับศกใหม่

    พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เป็นการ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  โดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา  กำหนดชื่อเรียกใน มาตรา 1 ว่า พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567” และ มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 

    นั่นคือมีผลตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568

   
 

สาระสำคัญ


    สาระสำคัญในการแก้ไข ของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม  คือเปลี่ยนแปลงการระบุสภาพเพื่อการสมรส จาก "ชายหญิง"  เป็น  "บุคคลสองคน"  ตามระบุในมาตรา 15  ไว้ว่า 

     มาตรา 15 ให้ยกเลิก ความในมาตรา 1458 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 
    "มาตรา 1458 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลสองคนยินยอมเป็นคู่สมรสกันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย"
   
     [ความเดิม  มาตรา 1458 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย]




     และการเปลี่ยนจาก "สามีภริยา" ไปเป็น "คู่สมรส"  ตามในมาตรา 18 ว่า 

     มาตรา 18 ให้ยกเลิกความในมาตรา 1461 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน  
     "มาตรา 1461 คู่สมรสต้องอยู่กินด้วยกันฉันคู่สมรส 
      คู่สมรสต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน" 
      
     [ความเดิม  มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา 
         สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน]


 
    และการเปลี่ยนแปลงในอีกหลายมาตราอื่นๆ ที่ต่อเนื่องไปจากการเปลี่ยนสิทธินี้  อาทิ 
  • คู่สมรส  กรณีไม่สามารถอยู่กินกันต่อไปได้ตามปกติ ด้วยเหตุอันตรายแก่กายใจหรือทำลายความผาสุก  คู่สมรสอาจร้องต่อศาลได้ 
  • คู่สมรส เป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ได้ ตามศาลสั่ง
  • มีสิทธิในทรัพย์สิน  สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สิน สินสมรส การจัดการสินสมรสร่วมกัน  สิทธิฟ้องร้อง ต่อสู้คดี ดำเนินคดี อำนาจทำพินัยกรรม อำนาจจัดการทรัพย์สิน  และ ฯลฯ  

     นอกจากนี้ปรับอายุขั้นต่ำ การหมั้น สมรส จาก 17 ปี เป็น 18 ปี  และคนไทยจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติโดยใช้กฎหมายไทยได้ รวมทั้งรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ เรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่า [ThaiPBS]

  อ่าน พ.ร.บ. ฉบับเต็ม 

 
 

ชาติที่ 3 ในเอเซีย 


   ผลจากการประกาศใช้กฏหมายฉบับนี้ ทำให้ประเทศไทยเป็นไทยประเทศที่ 3 ในเอเซีย ต่อจากไต้หวัน และเนปาล และเป็นประเทศแรกในอาเซีย ที่ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม 


  นับถึงปี 2024 มีทั้งหมด 36  ประเทศที่มีกฏหมายสมรสเท่าเทียม  (ยังไม่นับรวมเนปาล)  โดยปี 2025 จะมี 2 ประเทศที่กฏหมายมีผลบังคับใช้ คือ ลิคเท่นสไตน์ เริ่ม 1 มกราคม 2025  และ ประเทศไทย เริ่ม 22 มกราคม 2025


   ในกรณีของประเทศเนปาล  อยู่ในขั้นรอคำตัดสินขั้นสุดท้ายจากศาลฎีกา  แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลท้องถิ่นทั้งหมดได้รับคำสั่งให้จดทะเบียนสมรสเพศเดียวกันเป็นการชั่วคราวในบันทึกแยกต่างหาก ในเดือนเมษายน 2024 กรมบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนราษฎร์ได้ออกหนังสือเวียนถึงรัฐบาลท้องถิ่นทั้งหมดว่าต้องจดทะเบียนสมรสดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้คู่รักเพศเดียวกันมีสิทธิตามกฎหมายในการสมรส และคู่รักเพศเดียวกันที่จดทะเบียนแล้วจะไม่สามารถรับมรดกทรัพย์สิน รับเงินอุดหนุนภาษี ตัดสินใจทางการแพทย์ของคู่สมรส รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ ได้ [wikipediasee also 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด