ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รายงานการฉีดวัคซีนในไทย กุมภาพันธ์ 64 ถึง ปัจจุบัน

รายงานการฉีดวัคซีนในไทย กุมภาพันธ์ 64 ถึง ปัจจุบัน HealthServ.net
รายงานการฉีดวัคซีนในไทย กุมภาพันธ์ 64 ถึง ปัจจุบัน ThumbMobile HealthServ.net

รายงานการฉีดวัคซีนรายวันโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงปัจจุบัน Call Center 1422 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


รายงานการฉีดรายเดือน
* เปลี่ยนรูปแบบการรายงาน จากรายงานรายวัน เป็นการรายงานรายสัปดาห์  รายงานรายวันวันสุดท้าย คือวันที่ 21 มกราคม 2565 จากนั้นปรับเปลี่ยนการรายงานเป็นรายสัปดาห์ เริ่มต้น สัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม 2565 (วันที่ 24-30 มกราคม 2565) 


Call Center 1422 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


เพิ่มเติม 
รายงานความคืบหน้าเรื่องวัคซีน COVID-19 กระทรวงอุดมศึกษา - ข้อมูลรายงานของประเทศไทย ทั่วโลกและประเทศในอาเซียน

ประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีน ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 จังหวัดเป้าหมายเบื้องต้น 11 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ตาก นครปฐม สมุทรสงคราม ราชบุรีชลบุรี และเชียงใหม่ เป็นจำนวนวัคซีนรวม 110,000 โด๊ส ปัจจุบันได้ทำการกระจายให้กับประชาชนทุกจังหวัดทั่วประเทศแล้ว 

วัคซีนโควิด 19 ที่มีให้บริการในประเทศไทย มี 2 กลุ่ม คือ
1. วัคซีนหลักโดยรัฐบาล จัดสรรให้ฟรี กับประชาชนทุกคน 
  1. วัคซีนป้องกันโควิด 19 แอสตร้าเซนเนกา (COVID-19 Vaccine AstraZeneca) โดยให้ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด 2 ครั้ง ห่างกัน 10-12 สัปดาห์
  2. วัคซีนโคโรนาแวค หรือ ซิโนแวด (CoronaVac หรือ Sinovac COVID-19 vaccine) เป็นวัคซีนเชื้อตาย ซึ่งขณะนี้กำหนดให้ในผู้ที่มีอายุ 18-59 ปี โดยต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด 2 ครั้ง ห่างกัน 2 – 4 สัปดาห์
  3. วัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซีนชนิด mRNA หลักตัวใหม่ที่จัดซื้อ จากบริษัท Pfizer-BioNTech สามารถฉีดให้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้ 
2. วัคซีนทางเลือก จัดหาและจัดสรรโดยองค์กร/กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับวัคซีนหลักของรัฐบาล มีดังนี้
  1. วัคซีนทางเลือก โมเดอร์นา เป็นวัคซีนชนิด mRNA มีองค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นตัวแทนของภาครัฐ เป็นผู้ทำสัญญาและสั่งซื้อกับตัวแทนในประเทศไทย และดำเนินการจัดสรรโดยสมาคมโรงพยาบาลเอกชนประเทศไทย กระจายให้กับประชาชนที่มีความต้องการ ผ่านการจองซื้อ ในราคารวมค่าบริการที่แตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล
  2. วัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนเชื้อตาย ของรัฐบาลประเทศจีน ดำเนินการจัดซื้อ นำเข้า บริหารและจัดสรร โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดซื้อจากรัฐบาลประเทศจีนโดยตรง  กำหนดเงื่อนไขการจัดสรรตามประเภทหน่วยงาน/องค์กรและวัตถุประสงค์ ที่กำหนด หน่วยงาน/องค์กรที่รับจัดสรรจะต้องสั่งซื้อ เพื่อนำไปแจกให้กับประชาชนตามกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ แต่ในปัจจุบัน ได้อนุญาตให้โรงพยาบาลเอกชนสามารถจำหน่ายให้กับประชาชนที่ต้องการจองซื้อและรับบริการฉีดได้โดยตรง
*อนาคตอาจมีหน่วยงานอื่นๆ ที่สามารถนำเข้าวัคซีนชนิดอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ตามสถานการณ์วัคซีนที่เปลี่ยนไปทั้งในระดับนานาชาติ และในประเทศ

วันดีเดย์ 7 มิถุนายน 64 คิกออฟเริ่มทำการฉีดวัคซีนโควิด พร้อมกันทั่วประเทศ

กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการดำเนินงานคิกออฟฉีดวัคซีนโควิด 19 ครึ่งวันแรกจาก 986 จุดฉีดทั่วประเทศ ฉีดวัคซีนแล้ว 143,116 คน ภาพรวมราบรื่นดี ไม่แออัด ส่วนศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อวันนี้ ฉีดให้ผู้พิการ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ครูในกทม. ประชาชนที่จองคิวในระบบต่างๆ รวม 1 หมื่นคน
 
          วันนี้ (7 มิถุนายน 2564) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการดำเนินการคิกออฟฉีดวัคซีนโควิด 19 จำนวนมากพร้อมกันทั่วประเทศครึ่งวันแรก รวม 986 จุดฉีดทั่วประเทศ ข้อมูลถึงเวลา 12.00 น. พบว่า มีประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนทั้งหมด 143,116 คน แบ่งเป็นผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี 73,273 คน กลุ่ม 7 โรคเรื้อรังอายุน้อยกว่า 60 ปี 21,924 คน อสม.และบุคลากรทางการแพทย์ 12,081 คน และอื่นๆ โดยวันนี้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ได้ตรวจเยี่ยมศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นจุดฉีดวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
 
          “วันนี้ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อตั้งเป้าหมายฉีดวัคซีน 1 หมื่นคน ได้แก่ ผู้พิการ 250 คน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ 750 คน ครูในกรุงเทพฯ 4 พันคน และประชาชนที่จองคิวในระบบต่างๆ 5 พันคน ระบบการจัดฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้มารับการฉีดวัคซีนได้รับความสะดวกสบาย จากการให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน 2564 รวม 155,028 คน ใช้อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ 374 คนต่อวัน ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่สนับสนุนอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ประชาชนรับบริการอย่างรวดเร็วเฉลี่ย 51 นาทีต่อคน” นายแพทย์โอภาสกล่าว - ข่าวสาธารณสุข 7 มิย 64
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด