คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีก่อตั้งขึ้นในฐานะโรงเรียนแพทย์ ควบคู่ไปกับการเปิดให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนจากทั่วประเทศ โดยเฉพาะผู้ป่วยนอกที่เข้าใช้บริการซึ่งมีจำนวนกว่า 2.4 ล้านครั้งต่อปี ด้วยโครงสร้างอาคารหลักที่มีอายุ 58 ปี เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ ไม่เอื้อต่อการปรับปรุงหรือพัฒนางานระบบต่าง ๆ ที่รองรับเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัย อีกทั้งยังมีพื้นที่จำกัดในการขยับขยายพื้นที่เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยใน
ด้วยข้อจำกัดและเพื่อโอกาสในอนาคต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและมูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงมีประสงค์ดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี ด้วยเป้าหมายหลายด้าน ได้แก่
- เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับการรักษาผู้ป่วยในทุกระดับ ทุกสิทธิการรักษา จากทั่วประเทศไทย
- การเตรียมความพร้อมรองรับโรคที่อุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- เป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ พร้อมยกระดับวงการแพทย์และสาธารณสุขไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับสากล
- เป็นศูนย์รวมการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการแพทย์ของประเทศไทย
- เป็นแหล่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะแพทย์ในระดับหลังปริญญา (Post-graduation) เพื่อสร้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคที่มีความซับซ้อน
- พัฒนาขึ้นเป็นย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (YMID) ที่จะเป็นศูนย์รวมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากการผนึกกำลังกับเครือข่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย
- ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (MIND CENTER)
- พื้นที่ Co- Working Space
- Clinical Research Center
- ร่วมพัฒนาต่อยอดในด้านสาธารณสุขของประเทศให้มีศักยภาพในระดับสากล สามารถแข่งขันได้ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)
3 หัวใจหลัก เพื่อดูแลผู้ป่วยทุกคน
อาคารรามาธิบดีแห่งใหม่ ก่อสร้างด้วยแนวคิด "คิดถึงใจผู้ป่วย" เพราะที่นี่คือพื้นที่ของผู้ป่วยทุกคน โดยคำนึกถึง 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
การบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วย (Public Service)
พร้อมด้วยผู้ป่วยนอกได้ 2.5 ล้านคนต่อปี รองรับผู้ป่วยใน 1,000 เตียง หรือ 55,000 รายต่อปี ผู้ป่วยเบิกจ่ายตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือประกันสังคมเหมือนอาคารเดิม
การเรียนการสอนบุคลากรการแพทย์ (Education)
ทุกตารางนิ้วของโรงพยาบาลแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนขนาดใหญ่ที่บ่มเพาะ ผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยผลิตนักศึกษา จำนวน 950 คนต่อป
การวิจัยทางการแพทย์ (Research)
ผนึกกำลังกับเครือข่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพในย่านนวัตกรรมโยธี (YMID) เพื่อการสร้างนวัตกรรมด้านการแพทย์ และชีวการแพทย์ ที่สามารถนำไปต่อยอดและเป็นประโยชน์ทางด้านสาธารณสุขของประเทศในระยะยาว