ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Fast Fashion กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - สภาพัฒน์

Fast Fashion กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - สภาพัฒน์ Thumb HealthServ.net
Fast Fashion กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - สภาพัฒน์ ThumbMobile HealthServ.net

Fast Fashion เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคหลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้อุตสาหกรรมนี้สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลับส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในวงกว้าง จึงควรมีแนวทางการในการป้องกันและลดปัญหาที่เกิดอย่างต่อเนื่อง

              เทรนด์แฟชั่นที่มาไวไปไวประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายส่งผลให้อุตสาหกรรมเสื้อผ้า มีการผลิตสินค้าตามกระแสที่คุณภาพต่ำ และราคาถูก โดยบางแบรนด์สามารถออกสินค้าใหม่กว่า 10,000 รายการ ในทุกสัปดาห์ เพื่อให้คนสามารถหาซื้อได้บ่อยครั้ง ส่งผลให้ธุรกิจ Fast Fashion เติบโตอย่างรวดเร็ว

            จากข้อมูล Research and Markets พบว่า ในปี 2567 มูลค่าตลาดของธุรกิจ Fast Fashion อยู่ที่ 142.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 15.5 และคาดว่าในปี 2571 จะมีมูลค่าสูงถึง 197.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกัน ธุรกิจดังกล่าวยังสร้างงานให้กับผู้คนทั่วโลกเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2566 มีการจ้างงานมากถึง 300 ล้านคน


           สำหรับประเทศไทย ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ Fast Fashion ไว้อย่างชัดเจน โดยถูกรวมอยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งในปี 2565 มูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่ามากถึง 1.6 แสนล้านบาท และจากข้อมูลปริมาณการผลิตและนำเข้าของอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่า
  • ในปี 2566 มีการผลิตเส้นใย 7.2 แสนตัน ผ้าผืน 287.1 ล้านเมตร และเสื้อผ้าสำเร็จรูปอยู่ที่ 110.8 ล้านชิ้น
  • นอกจากนี้ ยังมีการนำเข้าสินค้าในกลุ่มเส้นใยมูลค่ากว่า 5.2 หมื่นล้านบาท และเสื้อผ้าสำเร็จรูปอีกกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท
  • โดยแรงงานที่อยู่ในภาคส่วนดังกล่าวมีจำนวน ทั้งสิ้น 6.2 แสนคน และส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการผลิตเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายในสัดส่วนมากถึงร้อยละ 68.1   




      อย่างไรก็ตาม แม้ Fast Fashion จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่กระบวนการผลิตในหลายขั้นตอนกลับ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม กล่าวคือ

      ด้านสิ่งแวดล้อม


      1. การปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุตสาหกรรมแฟชั่นปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 1.7 พันล้านตันต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนมากถึงประมาณร้อยละ 10 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทั่วโลก โดยมีสัดส่วนสูงกว่าอุตสาหกรรมการบินและการขนส่งทางเรือรวมกัน  ซึ่งอยู่ที่ประมาณเพียงร้อยละ 448 และคาดว่า ภายในปี 2573 อาจเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 เนื่องจากในกระบวนการผลิตต้องใช้พลังงานและทรัพยากรสูงมาก ขณะที่กรณีของประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2567, น. 6) ได้คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมดังกล่าวจะปล่อยก๊าซ คาร์บอนฯ ประมาณร้อยละ 4 – 8 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทั้งประเทศ อีกทั้ง ขยะที่เกิดจากอุตสาหกรรม ดังกล่าวกว่าร้อยละ 85 ยังถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่มีการนำไปบริจาคหรือรีไซเคิล


      2. การใช้น้ำเป็นจำนวนมาก และมลภาวะทางน้ำและอากาศที่มาจากกระบวนการย้อมและตกแต่ง โดยในการผลิตเสื้อเชิ้ตฝ้ายหนึ่งตัวต้องใช้น้ำถึง 2,700 ลิตร ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณน้ำสำหรับดื่มของคนหนึ่งคน ในระยะเวลากว่า 2.5 ปี ซึ่ง UN (2561) ระบุว่า กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม Fast Fashion สร้างมลภาวะ ทางน้ำสูงมาก โดยเฉพาะในกระบวนการย้อมและตกแต่ง เนื่องจากมีการใช้สารเคมีที่เป็นพิษและอันตราย ในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นสารหนู เบนซิน ตะกั่ว และของเสียมีพิษอื่น ๆ ส่งผลให้อุตสาหกรรมดังกล่าวปล่อยน้ำเสีย ในสัดส่วนมากถึงร้อยละ 20 ของปริมาณน้ำเสียจากทั่วโลก สอดคล้องกับ ILO ปี 256550 ที่ระบุว่า กระบวนการย้อม และตกแต่งของ Fast Fashion เป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ มากที่สุดในสัดส่วนร้อยละ 24 


       3. การเพิ่มขึ้นของขยะที่ย่อยสลายยาก จากข้อมูลการวิจัยขององค์กร Earth.org ปี 2566 ระบุว่า เสื้อผ้าราว 1 แสนล้านตัวที่ผลิตขึ้นในแต่ละปี หรือมีจำนวนกว่า 92 ล้านตัน ต้องกลายเป็นขยะในหลุมฝังกลบ และ คาดว่าภายปี 2576 ขยะเสื้อผ้าจะเพิ่มจำนวนเป็น 134 ล้านตันต่อปี โดยมีเพียงร้อยละ 1 ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้

          นอกจากนี้เสื้อผ้ามีส่วนประกอบของขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยากที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ กล่าวคือ กระบวนการผลิต Fast Fashion ทำให้เกิดขยะสิ่งทอจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะไมโครพลาสติกขนาดเล็กที่มาจากสิ่งทอประเภทสังเคราะห์ เช่น โพลีเอสเตอร์ อะคริลิก และไนลอน โดยเมื่อถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติจะส่งผลอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต จากข้อมูลของ European Environment Agency พบว่า ในปี 2565 ไมโครพลาสติกในมหาสมุทรมีจำนวนกว่า 14 ล้านตัน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยร้อยละ 35 มาจากธุรกิจ Fast Fashion ซึ่งจะส่งผลต่อความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ของสัตว์ทะเล โดยกว่าร้อยละ 88 ของสัตว์ทะเลจำนวน 2,141 สายพันธุ์ในมหาสมุทรกำลังได้รับผลกระทบเชิงลบจากขยะพลาสติก


      4. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและธรรมชาติที่เสื่อมโทรม โดยเฉพาะในกระบวนการปลูก วัตถุดิบ การปลูกฝ้ายเพื่อการผลิตสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากถึงร้อยละ 2.5 ของโลก และต้องใช้ยาฆ่าแมลงมากถึงร้อยละ 16 ของยาฆ่าแมลงที่ใช้ทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีการใช้สารกำจัดวัชพืชมากถึงร้อยละ 7 ของที่ใช้ทั้งโลก มากกว่าพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นพิษต่อระบบประสาท ยังส่งผลทางตรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพและความเสื่อมโทรมของหน้าดิน โดย McKinsey and Company ปี 2564 ระบุว่า การแพร่หลายของระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะการปลูกฝ้าย ส่งผลให้คุณภาพดินเสื่อมโทรม อีกทั้ง พืชพื้นเมืองหรือประชากรสัตว์ตามธรรมชาติเดิมที่มีอยู่ลดลง ขณะเดียวกันการใช้ยาฆ่าแมลงอย่างเข้มข้น ในการปลูกฝ้ายยังทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพในดินและประชากรแมลงผสมเกสรลดลงอีกด้วย  


       สำหรับด้านสังคม

       สามารถแบ่งผลกระทบได้ ดังนี้

         1. การสร้างวัฒนธรรมการบริโภคเกินพอดี (Overconsumption) Fast Fashion ไม่ได้ส่งผล แค่ปริมาณขยะที่เพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น ยังทำให้คนไม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าของการซื้อสินค้า โดยวัฒนธรรมดังกล่าว เกิดจากการโฆษณาส่งเสริมการขายที่กระตุ้นให้คนซื้อมากกว่าความจำเป็นในการใช้ และทำให้ค่านิยมเปลี่ยน อาทิ การไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำ การใส่เสื้อผ้าแบบทิ้งขว้าง (ใส่ครั้งเดียวแล้วทิ้ง)

        นอกจากนี้ การรีวิวโปรโมทสินค้า การขาย ไลฟ์สไตล์ของ Influencer ยิ่งกระตุ้นให้คนซื้อมากขึ้นไปอีก จากรายงาน 2019 Global Fashion Influencer Study พบว่า ร้อยละ 86 ของผู้บริโภค ตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าหลังเห็นอินฟลูเอนเซอร์ใส่ ในกรณีของประเทศไทย จากข้อมูลผลสำรวจของ YouGov พบว่า กว่าร้อยละ 40 ของคนไทย มีการทิ้งเสื้อผ้าหลังสวมใส่เพียงครั้งเดียว โดย 1 ใน 4 ทิ้งอย่างน้อย 3 ชิ้น ซึ่งสาเหตุการทิ้งส่วนใหญ่มาจากการคิดว่าเสื้อผ้าไม่เหมาะหรือมีตำหนิ ตลอดจนรู้สึกเบื่อ ซึ่งสะท้อนการเสพติดวัฒนธรรมการบริโภคเกินพอดี


          2. ปัญหาสุขภาพ สินค้า Fast Fashion มักมีการปนเปื้อนของสารเคมี ที่สามารถสะสมในร่างกายและ เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้ โดยเฉพาะไมโครพลาสติกหรืออนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ทำให้ยากต่อการกำจัด โดยเมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจเข้าไปขัดขวางและรบกวนการทำงานของ ระบบฮอร์โมนและเส้นเลือด ตลอดจนส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กเล็กได้

         WWF ระบุว่า ปัจจุบันมนุษย์อาจบริโภคไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายในปริมาณกว่า 2,000 ชิ้น หรือ 5 กรัมต่อสัปดาห์ เทียบเท่ากับบัตรเครดิต 1 ใบ คิดเป็น 20 กรัมต่อเดือน หรือ 240 กรัมต่อปี

        นอกจากนี้ จากข้อมูลของ Greenpeace ปี 2565 ที่ได้ทำการทดสอบ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ Fast Fashion บางแบรนด์ที่มีการส่งขายไปหลายประเทศทั่วโลก พบการปนเปื้อนของ สารเคมีอันตรายประเภทสารพาทาเลท และสารฟอมาลดีไฮน์ ในสินค้ากลุ่มรองเท้าและชุดแต่งกายของเด็กผู้หญิง ในปริมาณสูง ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สวมใส่ ยังส่งผลกระทบในระดับที่รุนแรงกว่าในกลุ่ม แรงงานที่ทำงานในภาคการผลิตดังกล่าว


        3. การละเมิดลิขสิทธิ์ ในยุคที่เทรนด์แฟชั่นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และการเข้าถึงข้อมูลและ แรงบันดาลใจในการออกแบบทำได้ง่ายขึ้นประกอบกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง AI ทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ ในอุตสาหกรรม Fast Fashion เกิดขึ้นได้ง่ายและบ่อยครั้ง โดยเฉพาะการคัดลอกดีไซน์ ของแบรนด์หรูหรือดีไซเนอร์ชื่อดังมาผลิตสินค้าในราคาที่ถูกกว่า แม้การกระทำดังกล่าว จะผิดกฎหมายก็ตาม อาทิ

         ในปี 2564 บริษัท H&M ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกด้านแฟชั่น ของสวีเดน ได้ยื่นฟ้องบริษัท SHEIN ของจีน ฐานละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในสินค้าหลายสิบรายการ อาทิ ชุดว่ายน้ำ สเวตเตอร์

          นอกจากนี้ ในปี 2565 บริษัท UNIQLO ของญี่ปุ่น ได้มีการยื่นฟ้อง บริษัท SHEIN เช่นกัน ในฐานลอกเลียนแบบกระเป๋าสะพายไหล่รุ่นยอดนิยม ที่เรียกว่า Mary Poppins โดย UNIQLO ขายในราคาประมาณ 590 บาท ขณะที่ SHEIN ขายในราคาเพียง 80 บาท เป็นต้น



        4. การละเมิดสิทธิแรงงาน ด้วยอุตสาหกรรม Fast Fashion เน้นการผลิตสินค้าราคาถูกในจำนวนมาก จึงต้องมีการควบคุมต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งนอกจากต้องลดต้นทุนด้านวัตถุดิบและคุณภาพการผลิตแล้ว มักจะมีการลดต้นทุนด้านแรงงานที่ผิดกฎหมายอย่างการละเมิดสิทธิแรงงานขึ้น โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นฐานการผลิตที่อยู่ในเอเชีย อาทิ จากข้อมูลของ Amnesty International Thailand ปี 256558 พบว่า ร้อยละ 94 ของโรงงานผลิตเสื้อผ้า Fast Fashion ในกัมพูชามีการใช้แรงงานมากกว่าชั่วโมงการทำงาน ที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ได้รับค่าชดเชยที่เหมาะสม ซึ่งมีแรงงานผู้หญิงกว่าร้อยละ 14 ที่เคยถูกลวนลามและข่มขืน และผู้หญิงร้อยละ 40 - 50 ถูกล่วงละเมิดด้วยค าพูด นอกจากนี้ ยังพบแรงงานที่เป็นเด็กอายุตั้งแต่ 5 – 17 ปี จ านวนกว่า 16.7 ล้านคน ต้องอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย

         นอกจากนี้ จากข้อมูลการสำรวจของ UNICEF ปี 256359 ยังพบอีกว่า โรงงานผลิตเสื้อผ้าในเวียดนามทั้งหมดไม่มีมาตรการป้องกันสุขภาพและความปลอดภัย เป็นพิเศษสำหรับคนงานที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

        จากผลกระทบของ Fast Fashion ที่ได้กล่าวมานี้ ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกเริ่มตระหนักมากขึ้น อาทิ ฝรั่งเศส ที่ในเดือนมีนาคม 2567 มีมติผ่านร่างกฎหมายควบคุมอุตสาหกรรม Fast Fashion โดยระบุว่า Fast Fashion เป็นภัยร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศ และอาจน าไปสู่การแบนถาวรในอนาคต


        สำหรับประเทศไทย อาจต้องดำเนินการเพื่อป้องกันและลดปัญหาที่เกิดจาก Fast Fashion คือ

        1. สนับสนุนให้อุตสาหกรรมสิ่งทอมีการปรับตัวให้สอดรับกับกระแส Sustainable Fashion และ Textile Recycling ที่ต้องลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การผลิตสิ่งทอจากเส้นใย รีไซเคิลจะช่วยเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการนำขยะสิ่งทอที่เปล่าประโยชน์จำนวนมหาศาลมาสร้าง มูลค่าเพิ่ม โดยการผลิตสิ่งทอจากเส้นใยรีไซเคิลร้อยละ 100 จะช่วยลดปริมาณของการใช้น้ำมากถึงร้อยละ 95 และ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้กว่าร้อยละ 45 ต่อปี และยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้บริโภคหันมาสนใจสินค้าที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

         ดังนั้น หากภาครัฐมีการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจปรับตัวจะเป็นโอกาสสำหรับไทยในระยะถัดไป อาทิ การมีมาตรการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและยกระดับสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล อาทิ ญี่ปุ่น มีการออกหลักเกณฑ์การผลิตและการรีไซเคิลสินค้าสิ่งทอ เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจ มีการปรับตัวให้สอดรับกับข้อกำหนดของ EU เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าไปสู่ตลาดโลก


       2. ส่งเสริมให้มีการคัดแยกและจัดเก็บข้อมูลขยะประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ในขยะมูลฝอย โดยเฉพาะขยะ สิ่งทอ ปัจจุบันไทยมีข้อมูลสถิติขยะมูลฝอยในภาพรวม โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ แบ่งตามวิธีการกำจัด และ แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถแยกปริมาณขยะออกเป็นรายชนิดได้ ทั้งที่ปัญหาขยะสิ่งทอเป็นหนึ่งในปัญหาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในอนาคต ดังนั้น หากมีการคัดแยกและจัดเก็บข้อมูลอย่างชัดเจน และต่อเนื่อง จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายหรือมาตรการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยในหลายประเทศ อาทิ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ได้มีการให้ความสำคัญอย่างชัดเจนทั้งในระดับแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ โดย ในปี 2566 ได้มีการเตรียมออกกฎหมายให้ประเทศสมาชิกต้องแยกขยะสิ่งทอออกจากขยะประเภทอื่น ซึ่งจะมีผลบังคับใช้จริงจังในเดือนมกราคม ปี 2568


        3. การกำกับดูแลการโฆษณา/การตลาดที่ส่งเสริมการขายสินค้า Fast Fashion ที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งการที่สินค้า Fast Fashion สามารถโฆษณาได้อย่างเสรี โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ที่มีการจูงใจในลักษณะต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ โดยที่ไม่คำนึงถึงความจำเป็นหรือผลกระทบที่ตามมา

        ดังนั้น อาจจำเป็นต้องมีการกำหนดเงื่อนไขการโฆษณาอย่างเหมาะสม อาทิ การให้ข้อมูลรายละเอียดการผลิต/กระบวนการผลิต ข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนมีการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภค ควบคู่ไปด้วย โดยในต่างประเทศอย่างเช่น ฝรั่งเศส มีการเตรียมออกมาตรการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า Fast Fashion ตลอดจนจะมีการปรับเงินผู้ผลิตสินค้าสิ่งทอที่ทำลายสิ่งแวดล้อมในประเทศอย่างจริงจังมากขึ้น 


ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด