ความหมายของการระบุวันหมดอายุของยา มีนัยบางประการ แต่อาจไม่ตรงกับที่คุณเข้าใจ ในอเมริกา มีกฎหมาย บัญญัติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 ว่า บริษัทผลิตยาต้องพิมพ์ วันที่ยาหมดอายุ ลงในผลิตภัณฑ์ยาทุกชนิด ซึ่งเป็นช่วงเวลา (ก่อนวันหมดอายุ บริษัทยาจะให้หลักประกันว่า ยามีคุณภาพครบถ้วน และมีความปลอดภัยทุกประการจากตัวยานั้น ๆ ) ความรู้เรื่อง ยาหมดอายุ ที่เราทราบกันเกือบทั้งหมดได้มาจากการศึกษาวิจัยขององค์การอาหาร และยาของอเมริกา โดยทำการศึกษาตามคำร้องขอของหน่วยงานทหาร ซึ่งมีคลังยาจำนวนมหาศาลทั้งปริมาณและมูลค่า ทหารต้องขจัดยาหมดอายุจำนวนมาก ทุก ๆ 2-3 ปี ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเรื่องนี้ ทำให้ทราบว่า 90% ของตัวอย่างยา 100 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาตามแพทย์สั่ง หรือยาที่หาซื้อได้ทั่วไป สามารถใช้ได้อย่างดีสมบูรณ์ แม้ว่ายานั้นจะหมดอายุไปแล้ว ถึง 15% ดังนั้นหาก ยาตัวไหน มีอายุเกินกว่าวันที่ยาหมดอายุก็ไม่ได้หมายความว่ายานั้นจะต้องด้อยประสิทธิภาพ หรือไม่ปลอดภัยต่อการใช้ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ยังกล่าวต่อว่า “ยาหมดอายุสามารถใช้ได้” แม้ว่าจะหมดอายุไปแล้วเป็นปี ๆ ยกเว้น ยา Tetracycline (แต่ยังมีข้อโต้แย้งในกลุ่มนักวิจัย) เป็นความจริงที่ว่าประสิทธิภาพของยาจะลดลงเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไป แต่ฤทธิ์ของยายังเกือบครบอยู่แม้ว่ายาจะหมดอายุเป็นเวลากว่า 10 ปี ยกเว้น ยาฉีดอินซูลิน , Nitroglycerine (ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ) ยาปฏิชีวนะชนิดน้ำ ยาส่วนมากยังใช้ได้และคงสภาพเหมือนเดิม ดังเช่น ยาที่ทดสอบโดยองค์การอาหารและยาของอเมริกาดังกล่าวข้างต้น และถ้าเก็บรักษาไว้ที่เย็น เช่น ตู้เย็นจะช่วยให้ยาคงฤทธิ์ได้เป็นเวลาหลาย ๆ ปี การระบุวันหมดอายุยาเป็นเทคนิคทางการตลาดของบริษัทยาหรือไม่ ทำให้ต้องทิ้งยาหมดอายุหรือซื้อยาใหม่ บริษัทยาก็ได้เงินมากขึ้น คุณจะมองเช่นนั้นก็ได้ หรือคุณจะมองอีกแง่หนึ่ง คือ วันหมดอายุยาเป็นวิธีการที่จะบอกคุณว่าจะได้รับประสิทธิภาพจากยาเต็มที่ 100% ในช่วงเวลาที่ระบุไว้ อย่างอนุรักษ์นิยม ถ้าบริษัทยาต้องการศึกษา เพื่อทดสอบหาระยะเวลาที่ยาหมดอายุจริง ๆ (นานขึ้น) อาจทำให้เขาลดความสามารถที่จะปรับปรุงสูตรยาใหม่ให้ดีขึ้นได้ คราวหน้าหากคุณพบสถานการณ์ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรในกรณียาหมดอายุ คุณอาจได้ประโยชน์จากบทความนี้ ถ้ายาหมดอายุปลายปีแล้ว และคุณจำเป็นต้องใช้ยานั้น โดยหวังประสิทธิภาพ100% คุณก็คงต้องซื้อยาขวดใหม่ แต่ถ้าคุณยังมีคำถามเรื่องความปลอดภัยของยาหรือประสิทธิภาพของยา ให้ปรึกษาเภสัชกร คุณคงได้รับคำปรึกษาที่ให้ความมั่นใจมากขึ้น ศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพทย์ Harward น.พ.กิตติ ตระกูลรัตนาวงศ์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ผู้แปล