ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ความรู้เรื่องไขมันในเส้นเลือด

ไขมันในเลือดประกอบด้วย
โคเลสเตอรอล (CHOLESTEROL)
ไตรกลีเซอไรด์(TRIGLYCERIDE)
เอส ดี แอล (HIGH DENSITY LIPOPROTEIN)
แอล ดี แอล (LOW DENSITY LIPOPROTEIN)
แต่ละตัวมีความหมายอย่างไร อ่านได้ที่นี่คะ

ความรู้เรื่องไขมันในเส้นเลือด

ไขมันในเลือดประกอบด้วย
โคเลสเตอรอล (CHOLESTEROL)
เป็นไขมันชนิดหนึ่ง ร่างกายได้รับจากสารอาหารที่เรารับประทานและจากการสังเคราะห์ขึ้นของตับและลำไส้ อาหารที่มีโคเลสโตรอลสูง ได้แก่ ไข่แดง หอยนางรม สมอง ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์ ถ้าโคเลสเตอรอลในเลือดสูง จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัว และตีบตัน

ไตรกลีเซอไรด์(TRIGLYCERIDE)
เป็นไขมันชนิดหนึ่ง เกิดจากอาหารที่เรารับประทาน และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกาย อาหารที่มีไตรกลีเซอไรด์ได้แก่ น้ำมันจากสัตว์ชนิดต่างๆ ไขมันไตรกลีเซอไรด์มีประโยชน์ให้พลังงาน ช่วยดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี เค ทำให้อาหารนุ่ม รสชาติดี ผู้มีไตรกลีเซอไรด์สูงมากๆ จะทำให้ตับอ่อนอักเสบและมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้มาก

เอส ดี แอล (HIGH DENSITY LIPOPROTEIN)
เป็นไขมันความหนาแน่นสูง มีหน้าที่ จับไขมันโคเรสเตอรอลออกไปทำลายที่ตับ ดังนั้นการมีไขมัน HDL สูง จะทำให้โอกาสเป็นโรคหลอดเลือดลดลง ซึ่งการทำให้ HDL สูงนั้น ต้องออกกำลังกาย และจากการทานยาลดไขมันบางชนิด

แอล ดี แอล (LOW DENSITY LIPOPROTEIN)
เป็นไขมันตัวร้าย ที่มาจากไขมันสัตว์ เป็นตัวการให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด LDL ควรต่ำ ยิ่งต่ำยิ่งดี

อันตรายที่เกิดขึ้นจากภาวะไขมันในเลือดสูง
1.ไขมันส่วนเกินจะไปตกตะกอนตามผนังของเส้นเลือด ทำให้ผนังเส้นเลือดหนา และแข็ง จะทำให้ตีบตันได้ง่าย ถ้าเป็นที่เส้นเลือดหัวใจทำให้เกิดหัวใจขาดเลือด
2. ถ้าเป็นที่เส้นเลือดที่เลี้ยงสมอง ทำให้เส้นเลือดตีบตันเกิดอัมพาต
3.เส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณขาไม่พอ ทำให้เวลาเดินแล้วปวดน่อง
4. ตับอ่อนอักเสบ

ระดับไขมันที่พึงประสงค์
CHOLESTEROLควรต่ำกว่า 200 มก./ดล.
TRIGLYCERIDEควรต่ำกว่า 200 มก./ดล.
HDLควรมากกว่า 35 มก./ดล.
LDLควรต่ำกว่า 100 มก./ดล.

การปฏิบัติตน เพื่อควบคุมไขมันในเลือด
1.ควบคุมอาหาร อาหารที่ควรลดลง ได้แก่ อาหารที่มีไขมันสูง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทอด อาหารทะเล หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง เป็นต้น
2.เครื่องดื่ม จำพวกเบียร์ แอลกอฮอล์ ขนมหวาน แป้ง น้ำตาล จะสะสมเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้
3.ควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วนเกินไป
4.ออกกำลังกายสม่ำเสมอพอควร จะช่วยเผาผลาญไขมันได้
5.ควรตรวจเลือด วัดระดับไขมัน อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้งในคนปกติ แต่ถ้าสูงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด