ภาวะหัวใจล้มเหลวคืออะไร
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ โดยอาจเกิดจากมีความผิดปกติของโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายหรือรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ ภาวะหัวใจล้มเหลว แบ่งตามระยะเวลาที่มีอาการสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม 1) ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute heart failure) 2) ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ( chronic heart failure) -
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Heart failure หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลว คือ กลุ่มอาการ ที่มีเกิดจาก ความผิดปกติในการทำงานของหัวใจซึ่งอาจผิดปกติที่โครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย และรับเลือดกลับเข้าหัวใจได้ตามปกติ อาการหลักๆของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ 1. เหนื่อย 2. อ่อนเพลีย 3. บวม
ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
บางครั้งอาจมาตรวจด้วยอาการที่ไม่จำเพาะ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติม เพื่อช่วย ในการวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือด และตรวจการทำงานของหัวใจ การรักษานอกจากจะมุ่งเน้นการชะลอการ ดำเนินโรค ยังต้องมองหาสาเหตุที่ทำให้เกิด CHF เพื่อช่วยให้ควบคุมโรคได้ดีขึ้น และ เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง อาการไม่หนัก รักษาเป็น OPD เป็นมาสักระยะ
ภาวะหัวใจล้มเหลว เฉียบพลัน
ผู้ป่วยในภาวะนี้ เป็นเฉียบพลัน อาการหนัก ต้องนอน ICU/CCU เป็นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจำเป็นต้องให้การรักษาทันที มักพบในผู้ป่วยที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัตรากลับมานอนโรงพยาบาลซ้าในช่วง 6 เดือนแรก สูงถึง 50% การรักษามุ่งเน้นการรักษาภาวะฉุกเฉิน เพื่อช่วยการไหลเวียนเลือดและการหายใจ แก้ไขภาวะฉุกเฉิน เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ความดันโลหิตสูงรุนแรง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโรคลิ้นหัวใจรั่วที่เกิดเฉียบพลัน ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด -
โรงพยาบาลราชวิถี
ภาวะหัวใจล้มเหลวมีกี่ระยะ
ทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามระยะเวลาที่มีอาการ ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure) จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและอาการจะค่อย ๆ แย่ลงเรื่อย ๆ ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง (Chronic Heart Failure) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน เมื่อแพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาอาการผิดปกติก็ยังคงมีให้เห็นอยู่
สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หลัก ๆ ที่พบมากคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้บ่อยที่สุด นอกจากนี้โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจล้วนมีส่วนทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวได้ทั้งสิ้น -
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง (Chronic heart failure: CHF) เป็นกลุ่ม อาการทางคลินิก ที่เป็นการดำเนินโรคในระยะท้ายของโรคหัวใจเกือบทุกชนิด ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังเป็นภาวะที่พบบ่อย (ความชุกเฉลี่ย 1% ของ ประชากร) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันประมาณว่ามีผู้ป่วย CHF มากถึง 170 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 200 ล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในภูมิภาพเอเชียแปซิฟิกจะเป็นกลุ่มประเทศที่มีอุบัติการณ์เพิ่มสูง เป็นพิเศษ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างประชากร นอกจากนี้ CHF ยังเป็นภาวะที่มีอัตราตายสูง (เฉลี่ยราว 10% ต่อปี) ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลง และใช้ทรัพยากรของชาติในการดูแล รักษาสูงมาก ผู้ป่วยที่ต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล มีระยะเวลานอนเฉลี่ย นานราว 10-20 วัน
สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของหัวใจหลายชนิด ตั้งแต่
- ความผิดปกติแต่กำเนิด (congenital heart disease) เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว (atrial septal defect หรือ ventricular septal defect)
- ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) เช่น ลิ้นหัวใจตีบ หรือ ลิ้นหัวใจรั่ว
- ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial disease) เช่น หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลง (left ventricular systolic dysfunction) หรือกล้ามเนื้อหัวใจหนา (hypertrophic cardiomyopathy)
- ความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ เช่น เยื่อหุ้มหัวใจหนาบีบรัดหัวใจ (constrictive pericarditis)
- ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) เช่น myocardial ischemia induced heart failure เนื่องจากการรักษาในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวจากสาเหตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกันเช่น การผ่าตัด แก้ไขในกรณีที่เกิดจากลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว ดังนั้นการวินิจฉัยถึงสาเหตุของหัวใจล้มเหลวจึงมีความจำเป็น
ภาวะหัวใจล้มเหลวกับการรักษาด้วยวิธีแพทย์แผนจีน Heart Failure
หัวเฉียวแพทย์แผนจีน กรุงเทพ กล่าวว่า ในทางแพทย์แผนจีน มองว่าเกิดจากภาวะร่างกายที่ไม่แข็งแรงแต่กำเนิด เจ็บป่วยนานเรื้อรัง นอนดึก ความเครียด พักผ่อนน้อย เลือกรับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ ร่างกายทรุดโทรม หรือมีการติดเชื้อ สาเหตุเหล่านี้ทำให้ชี่เลือดอินหยางในร่างกายขาดสมดุล หัวใจทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ หลอดเลือดเกิดการอุดตัน เกิดความชื้นเลือดคั่งอุดกั้นภายใน จนส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสดงต่างๆ
การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการ
1. ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
1.1 ภาวะ / กลุ่มอาการเลือดคั่งจากชี่พร่อง
1.2 ภาวะ / กลุ่มอาการชี่และอินพร่องมีเลือดคั่ง
1.3 ภาวะ / กลุ่มอาการหยางชี่พร่องมีเลือดคั่ง
2. ภาวะหัวใจล้มเหลวอาการกำเริบเฉียบพลัน
2.1 ภาวะ / กลุ่มอาการบวมน้ำจากหยางพร่อง
2.2 ภาวะ / กลุ่มอาการหยางพร่องจนหลุดออกภายนอก
2.3 ภาวะ / กลุ่มอาการเสลดอุดกั้นปอด
4 อาการสังเกตภาวะหัวใจล้มเหลว
สงสัยว่าอาจมีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือมีอาการต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที
– มีอาการบวม โดยเฉพาะบริเวณเท้า หรือข้อเท้า
– เหนื่อยง่ายผิดปกติ หรือเหนื่อยเวลานอนราบ
– แน่นหน้าอก หรือเจ็บหน้าอก
– อาการใจสั่น หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
อาการใจสั่น เป็นภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและการเสียชีวิต มักเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึง การที่หัวใจมีจังหวะการเต้นที่ต่างไปจากเดิม อาทิเช่น เร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือไม่สม่ำเสมอ และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หน้ามืด เป็นลมหมดสติ อัมพฤกษ์ หรืออัมพาต หัวใจวาย จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้หากหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างร้ายแรง -
โรงพยาบาลกรุงเทพอุดร
ด้านการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
โดยทั่วไปมี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ
1. การรักษาจำเพาะของแต่ละสาเหตุ เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรือการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนหรือซ่อมลิ้นหัวใจ เป็นต้น
2. การรักษาด้วยยา รวมถึงยาขับปัสสาวะ เพื่อทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางราย แพทย์จะทำการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร และในผู้ป่วยที่มีอาการมาก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายหัวใจ หรือการผ่าตัดใส่เครื่องพยุงหัวใจ
นอกจากการรับประทานยา และมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากจะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้ ผู้ป่วยควรงดอาหารที่มีรสเค็ม หรือมีส่วนประกอบของโซเดียม และควรทำการสำรวจภาวะน้ำและเกลือคั่งเป็นประจำทุกวัน โดยหากมีอาการบวมกดบุ๋ม หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุควรรีบพบแพทย์ รวมทั้งงดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยเริ่มทีละน้อย เช่น การเดินบนทางราบ และหากมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบาย ควรงดออกกำลังกาย -
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล