ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เชื้อราและโรคภูมิแพ้ ที่คนไทยควรระวัง

เชื้อราและโรคภูมิแพ้ ที่คนไทยควรระวัง Thumb HealthServ.net
เชื้อราและโรคภูมิแพ้ ที่คนไทยควรระวัง ThumbMobile HealthServ.net

เชื้อราอาจเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชากรโลกในอนาคต ตามที่องค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อมูลไว้ เชื้อราเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ตามมาได้ คนไทยและคนทั่วไป ควรได้รู้จักและเรียนรู้เพื่ออย่างน้อยจะได้ป้องกันและดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย


 
 

เชื้อราคืออะไร
 

เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะหลากหลาย ตั้งแต่เซลล์เดียวจนถึงหลายเซลล์ จัดเป็นผู้ย่อยสลาย (saprophyte) อยู่อาศัยได้ในสภาพแวดล้อมหลากหลาย โดยต้องการแหล่ง คาร์โบไฮเดรต ความชื้น และอุณหภูมิที่เหมาะสม ส่วนสำคัญที่ใช้ในการเพิ่มจำนวนของเชื้อรา คือ สปอร์ (Airborne spores) 
 
ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นโรคภูมิแพ้ จำนวนสปอร์ของเชื้อราใน 1 วัน อาจมีปริมาณสูงได้ตั้งแต่ 50 – 50,000 สปอร์/ลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้านจะมีปริมาณสูงสุด


 

เชื้อราและโรคภูมิแพ้
 

การสัมผัสกับเชื้อราในอากาศ สัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหืด เชื้อราบางชนิดที่สามารถเติบโตได้บนผิวหนังมนุษย์ เช่น เชื้อเกลื้อน (Malassezia) สัมพันธ์กับการทำให้โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้กำเริบได้ และเนื่องด้วยเชื้อราสามารถเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย จึงทำให้
 
เราสามารถพบเชื้อราได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป ที่อยู่อาศัยมนุษย์ และนำมาสู่ปัญหาทางด้านสุขภาพได้ โดยเฉพาะในรายที่เป็นภูมิแพ้ต่อเชื้อรา โรคบางประเภทเกี่ยวข้องกับการเติบโตของเชื้อราภายในร่างกายมนุษย์ นำมาสู่การตอบสนองแบบภูมิแพ้ และการอักเสบเรื้อรังของอวัยวะแต่ละแห่ง  เช่น โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังชนิดที่เกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อเชื้อรา (Allergic fungal rhinosinusitis), โรคหืดรุนแรงที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อเชื้อรา Aspergillus (Allergic bronchopulmonary aspergillosis) ในผู้ป่วยบางรายที่มีโรคปอดเรื้อรังอยู่เดิม อาจมีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของเชื้อรา ทำให้เชื้อราเข้าไปเติบโตภายในปอดได้ เช่น Fungal ball disease

 
 

 

การป้องกันเพื่อลดการสัมผัสเชื้อราภายในบ้าน



 
1. ลดความชื้นบริเวณที่อยู่อาศัย (Decrease dampness)
การลดความชื้นในที่อยู่อาศัย ให้เหลือความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 50% จะช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ เนื่องจากเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตที่เติบโตได้ดีในสภาะที่มีความชื้น
 
2. การแก้ไขสาเหตุที่ทำให้มีความชื้นภายในบ้าน
โดยทั่วไปน้ำหรือความชื้นสามารถเข้ามาภายในบ้านได้ผ่าน เช่น เล็ดลอดเข้ามาโดยตรง (Intrusion) เช่น รู หรือรอยแตกร้าว ของกำแพง ผนัง เพดาน รวมถึงช่องหน้าต่าง เมื่ออุณหภูมิเย็นลงไอน้ำอาจเกิดการควบแน่น (Condensation) เป็นหยดน้ำเกาะตามพื้นผิวต่างๆ หรือการรั่วไหลจากแหล่งจ่ายน้ำ (Leakage) เช่น ท่อประปา ภาชนะบรรจุน้ำ
 
3. กำจัดแหล่งที่มีเชื้อราเจริญอยู่
เช่น การนำพรม วอลล์เปเปอร์ เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่มีเชื้อราเจริญอยู่บนพื้นผิว ออกจากบริเวณที่พักอาศัย รวมถึงการหมั่นทำความสะอาดห้องโดยการใช้เครื่องดูดฝุ่น เพื่อหวังลดปริมาณสปอร์ของเชื้อราที่อาจอยู่ในฝุ่น การใช้เครื่องกรองอากาศช่วยลดปริมาณสปอร์เชื้อราที่ฟุ้งกระจายในอากาศ (Airborne spore) ได้
 
4. ทำความสะอาดพื้นผิววัสดุอุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์ด้วยน้ำผสมน้ำยาที่กำจัดเชื้อรา
 
 

การปฏิบัติตัวเมื่อสงสัยอาการโรคภูมิแพ้จากเชื้อรา

 
1. ควรไปพบแพทย์เพื่อประเมินและให้การรักษาเฉพาะโรค
2. ควรใช้ยารักษาโรคตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด และรีบกำจัดแหล่งเชื้อราตามคำแนะนำ






อ.นพ.มงคล สมพรรัตนพันธ์
สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ชมรมเชื้อราทางการแพทย์ประเทศไทย
 
 เอกสารอ้างอิง
1. Portnoy JM, Jara D. Mold allergy revisited. Ann Allergy Asthma Immunol. 2015;114(2):83-9.
2. WHO Guidelines for Indoor Air Quality: Dampness and Mould. WHO Guidelines Approved by the Guidelines Review Committee. Geneva2009.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด