ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Panic Disorder โรคแพนิค อาการตื่นตระหนก หรือภาวะตระหนกเกินเหตุ

Panic Disorder โรคแพนิค อาการตื่นตระหนก หรือภาวะตระหนกเกินเหตุ Thumb HealthServ.net
Panic Disorder โรคแพนิค อาการตื่นตระหนก หรือภาวะตระหนกเกินเหตุ ThumbMobile HealthServ.net

โรคแพนิก (Panic disorder) คือ การที่คนไข้มีอาการแพนิก หรือที่เรียกว่า Panic attack เป็นๆ หายๆ ติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 1 เดือนขึ้นไป ส่งผลต่อชีวิตประจำวันทำให้ไม่สามารถที่จะไปทำงานได้ อาจจะหลีกเลี่ยงอันตรายต่างๆ โดยที่เกิดขึ้นติดๆ กันโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนมากระตุ้น

Panic Disorder โรคแพนิค อาการตื่นตระหนก หรือภาวะตระหนกเกินเหตุ HealthServ
อาการตื่นตระหนกหรือกลัวสุดขีดจนใจสั่น อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน อาการทั่วไปดูธรรมดาแต่หากเป็นบ่อย ๆ จนมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยไม่หายสักที จะมีโอกาสเป็นโรคแพนิกได้หรือไม่ มาหาคำตอบกัน
 
โรคแพนิก (Panic disorder) คือ การที่คนไข้มีอาการแพนิก หรือที่เรียกว่า “Panic attack” เป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 1 เดือนขึ้นไป ส่งผลต่อชีวิตประจำวันทำให้ไม่สามารถที่จะไปทำงานได้ อาจจะหลีกเลี่ยงอันตรายต่าง ๆ โดยที่เกิดขึ้นติด ๆ กันโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนมากระตุ้น
 
สาเหตุที่พบได้ในคนที่เป็นโรคแพนิก คือ มีปัจจัยด้านพันธุกรรม ถ้าหากมีญาติสายตรงเป็นโรคแพนิกก็มีโอกาสจะเป็นมากกว่าคนอื่น 5 เท่า นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยในเรื่องของระบบชีวภาพในร่างกาย คือ ระบบประสาทอัตโนมัติอาจจะทำงานไวเกินไปทำให้มีอาการใจสั่น เหงื่อแตกขึ้นมาได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องพบเหตุการณ์อะไรที่น่ากลัว โดยเกือบทั้งหมดของผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิกจะเริ่มมีอาการหลังจากเกิดเหตุการณ์ในชีวิตครั้งสำคัญ เช่น เกิดความสูญเสียร้ายแรงขึ้นมา
 
 
 โรคนี้มักพบในคนอายุน้อย อายุประมาณ 20 - 30 ปี ซึ่งหลายรายจะมาพบแพทย์ช้า กว่าจะมาพบแพทย์อายุประมาณ 40 - 50 ปีก็มี เพราะว่าอาการของโรคนี้ใกล้เคียงกับโรคอื่นหลายอย่าง เช่น ใจสั่น เหงื่อแตกง่าย หายใจไม่อิ่ม รู้สึกเจ็บหน้าอก บางรายมีอาการชาที่มือ ที่เท้า ที่ปาก หรือรู้สึกวิงเวียน กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ กลัวว่าจะบ้า กลัวว่าจะเสียชีวิต ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเป็นเหมือนกัน อาการเด่นชัดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
 
การวินิจฉัยโรคแพนิก อันดับแรก แพทย์จะต้องดูให้แน่ชัดว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียงกับแพนิก เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ โรคปอด หรือบางคนอาจเป็นภาวะวัยทอง หรือมีผลมาจากการใช้ยาเสพติดกระตุ้นรวมทั้งเครื่องดื่มและอาหารที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โคล่า ชาเขียว และเครื่องดื่มชูกำลัง ทั้งหมดนี้ต้องดูให้แน่ชัดว่าไม่ได้มีมาจากสาเหตุอื่นถึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิก
 
การรักษาโรคแพนิก มีวิธีการรักษา2 หลักใหญ่ ๆ คือ การใช้ยาและการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ในเบื้องต้นผู้ป่วยสามารถที่จะบอกตัวเองได้ โดยให้กำลังใจตัวเอง คือ บอกตัวเองว่าโรคนี้เป็นขึ้นมาแล้วรักษาได้แล้วไม่ทำให้ถึงแก่ชีวิต ส่วนมากคนที่มาแล้วรักษายากเป็นเพราะพยายามช่วยเหลือตัวเองในทางอื่น ๆ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งดูเหมือนอาการจะสงบแต่จริง ๆ แล้วรุนแรงและรักษายากมากยิ่งขึ้น หากท่านสงสัยว่าตนเองมีอาการที่คล้ายโรคแพนิกควรจะมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ
 
สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิกแล้ว และเกิดอาการแพนิกขึ้น วิธีการปฎิบัติตัว อันดับแรกต้องตั้งสติ หายใจเข้า - ออกลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการ โดยหายใจเข้าให้ท้องป่องและหายใจออกให้ท้องยุบในจังหวะที่ช้า ซึ่งจะทำให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัว ในระหว่างที่ทำให้บอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นชั่วคราว สามารถหายได้และไม่ถึงแก่ชีวิต หลังจากนั้นร่างกายจะค่อย ๆ ผ่อนคลายและอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง

รศ.พญ.พรจิรา ปริวัชรากุล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด