ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

จากการศึกษาเชื่อว่า น่าเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ที่สำคัญ คือ จากพันธุกรรมที่ผิดปรกติ ทั้งชนิดถ่ายทอดได้ และชนิดไม่ถ่ายทอด และมีปัจจัยเสี่ยงอื่นเสริม

 โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์เกิดได้อย่างไร?
 
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่จากการศึกษาเชื่อว่า น่าเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ที่สำคัญ คือ จากพันธุกรรมที่ผิดปรกติ ทั้งชนิดถ่ายทอดได้ และชนิดไม่ถ่ายทอด และมีปัจจัยเสี่ยงอื่นเสริม เช่น การได้รับรังสีบางชนิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น จากโรงงานพลังปรมาณู  และ/หรือจากระเบิดปรมาณู   และอาจ เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศ เพราะพบโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์เกิดในผู้หญิง สูงกว่าในผู้ชายมาก   อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์เป็นโรคมะเร็งที่พบได้ในทุกวัย ทั้งในเด็ก วัยรุ่น ในผู้ใหญ่ และ ในผู้สูงอายุ
 
การรักษา
 
การรักษาหลัก ของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ การผ่าตัด    และหลังการผ่าตัด จะมีการตรวจก้อนมะเร็งจากการผ่าตัดเพื่อตรวจพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา และแพทย์จะประเมินว่า สมควรต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องด้วยการรับประทาน แร่รังสี ( แร่รังสีไอโอดีน) หรือไม่   ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของเซลล์มะเร็งว่า เป็นเซลล์ชนิดจับกินแร่รังสีไอโอดีนหรือไม่       แร่รังสีไอโอดีนอาจอยู่ในรูปแคปซูล หรือ เป็นน้ำ ซึ่งจะให้การรักษาโดยแพทย์ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์  และ/หรือ แพทย์ทางรังสีรักษา      แต่บางครั้งเมื่อโรคลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง อาจมีการฉายรังสีรักษาร่วมด้วย    และถ้าเป็นโรคมะเร็งชนิดเซลล์รุนแรง /เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีฯ อาจมีการรักษาร่วม หลังการผ่าตัด ด้วยรังสีรักษา และยาเคมีบำบัด
 
โดยทั่วไป โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ เป็นชนิดจับกินแร่รังสีไอโอดีน ซึ่งมีความรุนแรงโรคต่ำมาก  รักษาแล้วมีโอกาสหายสูง  อย่างไรก็ตาม  ความรุนแรงโรค นอกจากขึ้นกับชนิดของเซลล์มะเร็งแล้ว ยังขึ้นกับอายุ ถ้าอายุตั้งแต่ ๔๕ ปี ความรุนแรงโรคสูงกว่า  และถ้าเป็นเพศชายความรุนแรงโรคสูงกว่าเพศหญิง
 
 
ที่มา สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด