ท้องผูกเป็นปัญหาที่พบบ่อยในประชากรทั่วไป โดยทั่วไปการขับถ่ายของคนส่วนใหญ่ จะมีการขับถ่ายตั้งแต่ 3 ครั้ง/วัน จนถึง 3 ครั้ง/สัปดาห์ การถ่ายที่น้อยลงกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ ก็จะถือว่ามีภาวะท้องผูกเกิดขึ้น ดังนั้นการถ่ายแข็ง ถ่ายลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมาก ใช้เวลาถ่ายนาน อาจไม่เรียกว่าท้องผูกก็ได้ หากยังถ่ายได้ทุกวันหรือมากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์
ข้อมูลจากชมรมการเคลื่อนไหวลำไส้ (Thai Motility Club) ของสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย พบภาวะนี้มีความชุกสูงถึงร้อยละ 2.5
สาเหตุของอาการท้องผูก
อาการที่ทราบสาเหตุ
- การอุดกั้นของทางเดินอาหาร ได้แก่
มะเร็งลำไส้ใหญ่
ทวารหนังโป่งเข้าในอวัยวะข้างเคียง (Rectocele)
รูทวารหนักตีบ (Anal stenosis)
ไส้ใหญ่ถูกกดเบียดจากอวัยวะข้างเคียง
- โรคทางระบบต่อมไร้ท่อหรือความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย ได้แก่
โรคเบาหวาน
โรคไทรอยด์ทำงานต่ำ
ภาวะโปแทสเซียมในเลือดต่ำ
เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต (Pheochromocytoma)
ต่อมใต้สมองทำงานต่ำ (Panhypopituitarism)
โรคพอร์ฟัยเรีย (Porphyia)
พิษจากโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู
- ยาได้แก่
ยาแก้ท้องเสียบางชนิด เช่น loperamide
ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น morphine, fentanyl
ยากลุ่ม anticholinergic เช่น ยาลดบีบเกร็งลำไส้
ยาจิตเวชบางชนิด
ยากันชักบางชนิด
ยาเคลือบกระเพาะ
ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม calcium channel blockers
ยาบำรุงถ้ามีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ
ยาขับปัสสาวะ
ยารักษามะเร็งบางชนิด
- โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
โรคพาร์กินสัน
การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง
โรคทางระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic neuropathy)
อาการท้องผูกที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
- การทำงานของลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ
- ปัญหาของกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน
การหาสาเหตุของอาการท้องผูก
พิจารณาการเพิ่มเติมตามสมมติฐานของแต่ละโรค อาจจะเป็นการตรวจเลือด อุจจาระ การตรวจทางรังสี การส่องกล้อง ตรวจลำไส้ใหญ่ การตรวจการทำงานของลำไส้ใหญ่(colonic function test) ซึ่งประกอบด้วยการตรวจเพื่อดูการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ (colonic transit study) และการตาจดูการขับถ่าย (assessment for defecatory disorder) โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี มีอาการเตือน (alarm symptom) เช่น ถ่ายเป็นเลือก ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือลำไส้อักเสบ ชนิด Inflammatory bowel disease ซีด ตรวจพบเลือดแฝงในอุจจาระ น้ำหนักลดชัดเจน อาการเพิ่งเป็น โดยไม่สามารถอธิบายจากสาเหตุอื่นได้ ควรส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เพื่อแยกสาเหตุจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ออกไป
การรักษา
1. ไม่ใช้ยา โดยการปรับอาหาร พฤติกรรมและการฝึกสุขนิสัยการขับถ่าย ได้แก่
- ทานอาหารที่กากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้
- แนะนำดื่มน้ำอย่างน้อย 1.5 ลิตรต่อวัน
- ออกกำลังกายทุกวัน
- เมื่อรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ ควรไปถ่ายทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายต่อเนื่องยาวนาน
- ควรให้เวลากับการถ่ายอุจจาระให้เพียงพอ ไม่ควรเร่งรีบ
2. การใช้ยา ซึ่งอาจเป็นยากิน ยาเหน็บหรือยาสวนแล้วแต่สาเหตุหรือกลไกลของอาการท้องผูก
3. การฉีด Botulinum toxin พบว่าอาจได้ประโยชน์ในผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอกตึงตัวเกิน
4. การผ่าตัด อาจพิจารณาในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
ที่เป็นจาการทำงานของลำไส้ที่ช้ากว่าปกติ กล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอกตึงตัวเกิน กายวิภาคของลำไส้ตรงและทวารผิดปกติ