9 เมษายน 2565 เขตสุขภาพที่ 10 “มุกศรีโสธรเจริญราชธานี” ได้จัดงานประชุมวิชาการกัญชาทางการแพทย์ ภายใต้แนวคิด “หายเจ็บ หายจน รวมพล คนรักกัญ” เน้นนโยบายพัฒนาด้านเศรษฐกิจสุขภาพ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานเปิดงาน โดยมีผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ เอกชน อสม.และประชาชนเข้าร่วมงานจำนวนมาก เน้นนโยบายพัฒนาด้านเศรษฐกิจสุขภาพ เชื่อมต่อสถานที่ปลูก ผลิตกัญชา กัญชง กับสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของแต่ละจังหวัด สร้างรายได้ให้คนในพื้นที่
เขตสุขภาพที่ 10 ได้เร่งพัฒนาศักยภาพพืชกัญชาในพื้นที่ และนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ และพัฒนาเศรษฐกิจได้ควบคู่กัน
โดยในทางการแพทย์ จะส่งเสริมให้เป็นทางเลือกในการรักษาให้กับประชาชน
ส่วนในด้านเศรษฐกิจ มุ่งหวังให้พืชกัญชา ก้าวขึ้นมาเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ให้เกษตรกรปลูกเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน รวมถึงการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
จากการประชุมวิชาการกัญชาทางการแพทย์ในหลายเขตสุขภาพที่ผ่านมาพบว่ามีการพัฒนาในทิศทางที่ดีเป็นอย่างมาก นอกจากเป็นยารักษายังต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำหรับเขตสุขภาพที่ 10 “มุกศรีโสธรเจริญราชธานี” มี
นอกจากนั้น ยังมีอีกจุดเด่น จะโดดเด่นขึ้นมา คือ แนวคิด กัญชากับการท่องเที่ยว ในลักษณะของการ จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านกัญชา เชื่อมต่อ สถานที่ แหล่งเรียนรู้ ที่น่าสนใจ รวมไปถึง สถานที่ปลูก ผลิตกัญชา กัญชง กับสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของแต่ละจังหวัด เข้าด้วยกัน เป็นการเพิ่มคุณค่าและกระตุ้นความสนุกและน่าสนใจของการเดินทางท่องเที่ยวในยุคใหม่ได้อย่างดี
ตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวกัญชา ในเขตสุขภาพที่ 10 ทั้ง 5 จังหวัด
จ.อบุลราชธานี มีจุดเด่นและมีชื่อเสียงระดับประเทศ คือ วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว กับ ด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร เยี่ยมชมสถานที่ผลิตตำรับยากัญชามาตรฐานของภาคเอกชน
จ.ศรีสะเกษ ไร่กัญชามาทวีฟาร์ม กับผามออีแดง อ.กันทรลักษ์
จ.ยโสธร ออร์แกนิค คาเฟ่ กาแฟสายสุขภาพ อ.เลิงนกทา
จ.อำนาจเจริญ ศูนย์แพทย์แผนไทยและแหล่งปลูกกัญชา กับพระเหลาเทพนิมิต อ.พนา และ สถานที่ผลิตตำรับยากัญชามาตรฐาน โรงพยาบาลพนา
จ.มุกดาหาร โรงงานสมุนไพร กับ ทุ่งกังหันลม อ.นิคมคำสร้อย
ข้อมูลเกี่ยวกับเขตสุขภาพที่ 10
- เขตสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จ.มุกดาหาร จ.ศรีสะเกษ จ.ยโสธร จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี
- มีโรงพยาบาลภาครัฐและคลินิกกัญชาทางการแพทย์ภาคเอกชน เปิดให้บริการรวม 68 แห่ง ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาด้วยยากัญชาได้อย่างปลอดภัย โดยตั้งแต่ตุลาคม ถึงธันวาคม
- โรงพยาบาลภาครัฐในเขตสุขภาพฯ ให้การรักษาผู้ป่วยด้วยยากัญชารวม 4,537 ราย เป็นแผนไทย 4,202 ราย และแผนปัจจุบัน 335 ราย
- ปัจจุบันได้ส่งเสริมให้มีการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจมากขึ้นโดยมีวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับอนุญาตปลูกกัญชาแล้ว 11 แห่ง อยู่ระหว่างการขออนุญาต 19 แห่ง และแสดงเจตจำนงขอปลูกอีก 17 แห่ง